ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ควบคุมโรคผนึก สงขลาและรัฐเคดาห์ มาเลเซีย รับมือโรคพิษสุนัขบ้าด่านพรมแดน

ควบคุมโรคผนึก สงขลาและรัฐเคดาห์ มาเลเซีย รับมือโรคพิษสุนัขบ้าด่านพรมแดน HealthServ.net
ควบคุมโรคผนึก สงขลาและรัฐเคดาห์ มาเลเซีย รับมือโรคพิษสุนัขบ้าด่านพรมแดน ThumbMobile HealthServ.net

ไทยและมาเลเซียเห็นพ้องกันว่าการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า ต้องทำงานร่วมกันระหว่างประเทศ การสร้างความมั่นคงในการตอบโต้กับการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในอนาคต ระหว่างสองพรมแดน มีความจำเป็น การแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าเป็นสิ่งสำคัญ โดยพื้นที่เสี่ยงสูงมักพบในบริเวณชายแดนเนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายของประชากรคนและสัตว์เลี้ยง จึงมีความจำเป็นต้องเสริมสร้างความสามารถของบุคลากรที่ทำงานในพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซียเตรียมความพร้อมหากการระบาดขยายเป็นวงกว้าง

 
 
              30 มกราคม 2567 ที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา นายแพทย์อภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดี กรมควบคุมโรค พร้อมด้วย นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา  สัตวแพทย์หญิง ดร.เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ  นายแพทย์โรม บัวทอง ผู้อำนวยการกองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค  เจ้าหน้าที่ส่วนกลางจากกองโรคติดต่อทั่วไป  กองระบาดวิทยา  และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่จากจังหวัดสงขลาและรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย กว่า 100 คน ร่วมประชุมหารือตามสถานการณ์สมมติเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ด่านพรมแดนสะเดา และด่านพรมแดนรัฐเคดาห์ ระหว่างวันที่  30-31 มกราคม 2567
 
 
ควบคุมโรคผนึก สงขลาและรัฐเคดาห์ มาเลเซีย รับมือโรคพิษสุนัขบ้าด่านพรมแดน HealthServ
           นายแพทย์อภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมควบคุมโรค เป็นเจ้าภาพจัดหารือร่วมกันระหว่างจังหวัดสงขลาและรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย เพื่อวิเคราะห์และประเมินภัยคุกคามระหว่างพรมแดน เห็นพ้องกำหนดให้การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า ต้องทำงานร่วมกันระหว่างประเทศ ซึ่งการประชุมระหว่างสองพรมแดนในวันนี้จะเป็นการสร้างความมั่นคงในการตอบโต้กับการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในอนาคต เนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่มีความรุนแรงต่อการเสียชีวิตสูงที่สุด
 
          นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวว่า การแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้าเป็นสิ่งสำคัญ โดยพื้นที่เสี่ยงสูงมักพบในบริเวณชายแดนเนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายของประชากรคนและสัตว์เลี้ยง จึงมีความจำเป็นต้องเสริมสร้างความสามารถของบุคลากรที่ทำงานในพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซียเตรียมความพร้อมหากการระบาดขยายเป็นวงกว้าง
 
 
ควบคุมโรคผนึก สงขลาและรัฐเคดาห์ มาเลเซีย รับมือโรคพิษสุนัขบ้าด่านพรมแดน HealthServ
           สัตวแพทย์หญิง ดร.เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กล่าวว่า การประชุมระหว่างประเทศของสองพรมแดนนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาการเตรียมพร้อมและการป้องกันควบคุมโรคระหว่างประเทศ สามารถเสริมสร้างกลไกการปฏิบัติร่วมกันระหว่างสองประเทศผ่านการจำลองสถานการณ์ โดยเน้นเเนวทางการเเลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนมาตรการและกลไกการปฏิบัติร่วมกันในการจัดการโรคพิษสุนัขบ้า
 
          การประชุมนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน อาทิ สำนักงานสาธารณสุขและสำนักงานปศุสัตว์ของรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย หน่วยงานท้องถิ่น ด่านศุลกากร ด่านตรวจคนเข้าเมือง ด่านตรวจสัตว์ป่า สาธารณสุข และปศุสัตว์ในพื้นที่ หน่วยงานระดับเขตจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา สำนักงานปศุสัตว์เขต และหน่วยงานส่วนกลาง จากสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค กองระบาดวิทยา กองโรคติดต่อทั่วไป และศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้านสาธารณสุข  ในการร่วมประชุมกลุ่มย่อยเน้นแลกเปลี่ยนข้อมูลในแต่ละด้านของการป้องกันควบคุมโรค การส่งต่อและการจัดการด้านการแพทย์ การป้องกันควบคุมโรคในสัตว์ และการจัดการที่ด่านชายแดน ผลการประชุมในครั้งนี้ จะนำไปพัฒนาแนวทางการเเลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างด่านสะเดาและด่าน Bukit Kayu Hitam เพื่อตอบโต้โรคพิษสุนัขบ้า รวมถึงพัฒนาแนวทาง การดำเนินงานจัดการโรคและภัยสุขภาพอื่นๆ ที่ยังเป็นความท้าทายระหว่างการทำงานของสองพรมแดน
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด