โรคหอบหืด เกิดจากการที่หลอดลมตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้นมากกว่าปกติ ทำให้หลอดลมเกร็ง และบวม คนที่มีอาการรุนแรงมากอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
โรคหอบหืดเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่สามารถควบคุมไม่ให้อาการกำเริบได้
สาเหตุหลัก ๆ ของการเกิดโรคหอบหืดมาจาก
-
โรคภูมิแพ้ เช่น การสัมผัสกับละอองเกสรดอกไม้ เกสรหญ้า ไรฝุ่น ขนสัตว์ มลพิษในอากาศ
- กรรมพันธุ์
- โรคติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ ไซนัสอักเสบ
- ความเครียด
- สูบบุหรี่ ควันบุหรี่
อาการสำคัญของโรคหอบหืด
- มีอาการไอ มีเสมหะ
- แน่นหน้าอก
- หายใจมีเสียงหวีด และเหนื่อยหอบ
-
โดยถ้าโรคหอบหืดที่มีสาเหตุมาจากโรคภูมิแพ้ จะมีอาการ จาม คัดจมูก น้ำมูกใส คันจมูก/คันตา ร่วมด้วย จะเห็นว่า ภูมิแพ้เป็นสาเหตุหลักของการเกิดหอบหืด ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เพื่อลดอาการกำเริบของโรคได้
การป้องกันเพื่อไม่ให้อาการหอบหืดกำเริบ
- หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ เช่น การสัมผัสกับละอองเกสรดอกไม้ เกสรหญ้า ไรฝุ่น ขนสัตว์ มลพิษในอากาศ สัตว์เลี้ยงมีขน
- หลีกเลี่ยง ควันบุหรี่ ควันรถยนต์
- ออกกำลังกายให้เหมาะสม
- เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
โดยยาที่ใช้รักษาโรคหอบหืดจะมี 2 กลุ่มหลัก ๆ
- กลุ่มยาพ่นควบคุมอาการ (Controller) ต้องใช้เป็นประจำทุกวัน เพื่อควบคุมอาการ จะหยุดใช้
ก็ต่อเมื่อแพทย์สั่ง เช่น ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่น (inhaled corticosteroids)
- กลุ่มยาบรรเทาอาการ (Reliever) ใช้เฉพาะเมื่อมีอาการเท่านั้น เช่น ยาขยายหลอดลม
การรักษาโรคหอบหืดจะแตกต่างกันในคนไข้แต่ละคน ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ห้ามซื้อยามากินเอง และควรไปพบแพทย์ตามที่สั่งเพื่อประเมินผลการรักษา ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโรคหอบหืดสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สำนักสารนิเทศ
9 ธันวาคม 2563