ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สบส.ลุยสอบ รพ.เอกชน ขายแพ็คเกจรักษาโควิด 19

สบส.ลุยสอบ รพ.เอกชน ขายแพ็คเกจรักษาโควิด 19 Thumb HealthServ.net
สบส.ลุยสอบ รพ.เอกชน ขายแพ็คเกจรักษาโควิด 19 ThumbMobile HealthServ.net

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ส่งเจ้าหน้าที่ลุยสอบโรงพยาบาลเอกชน โฆษณาจำหน่ายแพ็คเกจรักษาโรคโควิด 19 ย้ำผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่อาการรุนแรงยังคงสามารถใช้สิทธิ UCEP Plus รักษาพยาบาลได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

 
 
          
 
          11 กรกฎาคม 2565 นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า จากกรณี ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ว่ามีสถานพยาบาลเอกชนบางแห่ง มีการโฆษณาจำหน่ายแพ็คเกจประเมินอาการ และยารักษาโรคโควิด 19 อย่าง ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) หรือยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) สำหรับผู้ป่วยโรคโควิด 19 นั้น

          กรม สบส.ได้มอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมฯ ตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งจะมีการตรวจสอบ ทั้งในส่วนของการขออนุมัติโฆษณาก่อนที่จะเผยแพร่ มาตรฐานการรักษาทางการแพทย์ และที่มาของยารักษาโรคโควิด 19 ที่นำมาจัดจำหน่าย

          "ห้ามนำยาที่ภาครัฐเป็นผู้สนับสนุน มาจัดจำหน่ายโดยเด็ดขาด"

          หากตรวจพบว่าสถานพยาบาลเอกชนมีการลักลอบนำยาของภาครัฐมาจำหน่ายก็จะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายพระราชบัญญัติสถานพยาบาล และพระราชบัญญัติยา อีกทั้งตัวแพทย์ผู้ให้บริการก็อาจจะถูกดำเนินการในฐานการกระทำผิดจริยธรรมทางการแพทย์ด้วย

 
 
           ด้าน ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวต่อว่า แม้ปัจจุบันภาครัฐจะมีนโยบายให้ผู้ป่วยโรคโควิด 19 เข้ารักษาพยาบาลกับสถานพยาบาลตามสิทธิของตน อาทิ

          สิทธิบัตรทอง ให้เข้ารับการรักษากับหน่วยบริการปฐมภูมิ สถานพยาบาลที่ลงทะเบียนไว้ ร้านยาในโครงการ “เจอ แจก จบ”

          สิทธิประกันสังคม ให้เข้ารับการรักษากับสถานพยาบาลคู่สัญญาในระบบประกันสังคม

          สิทธิข้าราชการ ให้เข้ารับการรักษากับสถานพยาบาลภาครัฐ


          กรณีฉุกเฉิน ใช้ UCEP Plus  - หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง เข้าข่ายผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติสีเหลือง หรือสีแดง ก็สามารถเข้ารับการรักษาตามนโยบาย UCEP Plus กับสถานพยาบาลใดก็ได้ โดยสถานพยาบาลจะดำเนินการคัดกรองผู้ป่วย แยกระดับความฉุกเฉิน และแจ้งผลให้แก่ญาติผู้ป่วยทราบ ก่อนนำเข้าสู่การรักษากับสถานพยาบาล ของรัฐบาลหรือเอกชน

          โดยไม่มีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจนกว่าผู้ป่วยจะหายจากโรคโควิด19

          เว้นแต่ว่า ผู้ป่วยหรือญาติไม่ประสงค์ที่จะให้ไปรักษาในสถานพยาบาลที่กำหนด หรือประสงค์ไปรักษากับสถานพยาบาลอื่น ก็จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

          ทั้งนี้ หากประชาชนพบการกระทำผิดกฎหมาย หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการรับริการกับโรงพยาบาลเอกชน หรือคลินิก สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน 1426 กรม สบส.เพื่อตรวจสอบ และดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด