ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อย.จับมือ 3 หน่วยงาน กำหนดมาตรการตรวจสอบอาหารทะเลนำเข้าจากญี่ปุ่น

อย.จับมือ 3 หน่วยงาน กำหนดมาตรการตรวจสอบอาหารทะเลนำเข้าจากญี่ปุ่น HealthServ.net
อย.จับมือ 3 หน่วยงาน กำหนดมาตรการตรวจสอบอาหารทะเลนำเข้าจากญี่ปุ่น ThumbMobile HealthServ.net

อย. จับมือ 3 หน่วยงาน กรมประมง สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กำหนดมาตรการตรวจสอบอาหารทะเลนำเข้าจากญี่ปุ่น

 
25 สิงหาคม 2566 เภสัชกรเลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พร้อมด้วย ดร.ถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประมง ร่วมประชุมกับผู้แทนจากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ  และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.)  เพื่อกำหนดมาตรการเฝ้าระวังและตรวจสอบอาหารทะเลนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น กรณีการปล่อยน้ำปนเปื้อนจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในจังหวัดฟุกุชิมะ ลงสู่ทะเล เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2566 ถึงแม้ว่าน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจะมีปริมาณสารกัมมันตรังสีต่ำกว่าเกณฑ์กำกับดูแล (Regulatory Standards) สำหรับการปล่อยทิ้งของญี่ปุ่น และเกณฑ์แนะนำ (Guideline Level) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) สำหรับน้ำดื่ม รวมถึงได้รับความเห็นชอบจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศให้สามารถปล่อยน้ำปนเปื้อนที่ผ่านการบำบัดลงสู่ทะเลได้
 
 
            เภสัชกรเลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอผู้บริโภคอย่าวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัย เพราะการนำเข้าอาหารทะแล เจ้าหน้าที่ด่านประมง ของกรมประมง และด่านอาหารและยา ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดร่วมกับสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อมิให้มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีในอาหารเกินมาตรฐานที่กำหนด หากพบจะสั่งเรียกคืน และระงับการนำเข้าทันที

 
อย.จับมือ 3 หน่วยงาน กำหนดมาตรการตรวจสอบอาหารทะเลนำเข้าจากญี่ปุ่น HealthServ
 

 
 
ด้าน ดร.ถาวร ทันใจ รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขกำหนดมาตรการในการเฝ้าระวังและตรวจสอบ ขอให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นในระบบตรวจสอบสินค้าเกษตรและอาหารทะเลที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ มุ่งเน้นที่จะยกระดับความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหาร



 
ทั้งนี้ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด ในจังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2554 กองด่านอาหารและยา อย. สุ่มตัวอย่างอาหารทะเลจากประเทศญี่ปุ่น กว่า 1,000 ตัวอย่าง ส่งตรวจวิเคราะห์ที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อตรวจวัดปริมาณกัมมันตรังสี ไม่พบตัวอย่างอาหารที่มีปริมาณกัมมันตรังสีเกินเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข และจากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ประเทศญี่ปุ่น ได้เก็บตัวอย่างอาหารทะเลและผลิตภัณฑ์ประมงจากเมืองฟูกุชิมะ ส่งตรวจวิเคราะห์ในปี 2565 จนถึงเดือนเมษายน 2566 จํานวน 4,375 ตัวอย่าง พบค่าการปนเปื้อนกัมมันตรังสีไม่เกินมาตรฐานตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยเช่นกัน
 

รองเลขาธิการ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า อย. ร่วมกับกรมประมง สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ  และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.) ดำเนินการเฝ้าระวังอาหารที่นำเข้าอย่างเข้มงวดซึ่งหากพบการปนเปื้อน อย. จะใช้มาตรการส่งคืนหรือทำลาย ขอให้ประชาชนวางใจในการดำเนินงานของ อย. และกรมประมง ขอให้รับฟังข้อมูลข่าวสารให้รอบด้าน  ภาครัฐมีการเฝ้าระวังและติดตามข้อมูลจากทั้งในและต่างประเทศ หากพบผลิตภัณฑ์อาหารใดที่เป็นอันตราย และประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ประชาชนทราบทันที หากผู้บริโภคพบผลิตภัณฑ์อาหารใดสงสัยว่าจะเป็นอันตราย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด
 
อย.จับมือ 3 หน่วยงาน กำหนดมาตรการตรวจสอบอาหารทะเลนำเข้าจากญี่ปุ่น HealthServ

ทำไมญี่ปุ่นต้องปล่อยน้ำปนเปื้อนลงทะเล

ก่อนจะมาถึงวันที่ปล่อยน้ำ ทางการญี่ปุ่นได้เปิดเผยถึงผลการทดสอบความปลอดภัย ตามรายงานว่า เมื่อนำโมเดลทางคณิตศาสตร์ มาทำการประเมินระดับรังสีและผลกระทบทางรังสีในตัวแทนของสิ่งมีชีวิตทางทะเล 3 ชนิด ได้แก่ ปลาตาเดียว, ปู, และสาหร่ายสีน้ำตาล ซึ่งมีการแพร่กระจายอยู่ในทะเลรอบโรงไฟฟ้า และมีโอกาสได้รับสารกัมมันตรังสีจากการปล่อยน้ำลงสู่ทะเล พบว่า ระดับรังสีที่สิ่งมีชีวิตทางทะเลทั้ง 3 ชนิดนี้ได้รับ อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปลอดภัยทางรังสีที่ในระดับนานาชาติให้การยอมรับ 

 
อะไรคือ “ความจำเป็น” ที่ญี่ปุ่นต้องปล่อยน้ำปนเปื้อนลงทะเล และจะมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไร
 
ดร.ยุทธนา ตุ้มน้อย ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานปรมาณู และรองโฆษกสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นนี้กับทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ไว้ดังนี้
 
 
1. แทงก์เก็บใกล้ที่จะเต็มความจุแล้ว 
แทงก์เก็บน้ำปนเปื้อนสารรังสีที่ปัจจุบัน จุน้ำเอาไว้มากถึง 1.4 ล้านตัน หรือเท่ากับปริมาณความจุน้ำเท่ากับสระว่ายน้ำมาตรฐานสำหรับการจัดการแข่งขันโอลิมปิกถึง 500 สระรวมกันนั้นใกล้ที่จะเต็มความจุแล้ว 
 
2. สร้างแทงก์เพิ่มไม่ได้
ด้วยข้อจำกัดที่ไม่สามารถสร้างแทงก์น้ำเพิ่มได้อีก เนื่องจากจะเป็นการกีดขวางการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่เข้ารื้อถอนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิที่ได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อ 12 ปีก่อน รวมถึงจะไม่สามารถสร้างสถานที่เก็บกาก หรือ แท่งเชื้อเพลิงหลอมละลายที่อยู่ในเตาปฏิกรณ์ได้ 
 
3. ลดความเสี่ยงในการรั่วไหลจากแทงก์
เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดการรั่วไหลของน้ำปนเปื้อนรังสีในแทงก์ในกรณีของการเกิดแผ่นดินไหวที่สร้างความเสียหายให้กับแทงก์เก็บน้ำเหล่านั้น 
 
ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้อง “หาทางในการจัดการน้ำปนเปื้อนเหล่านี้”
 
อ่านต่อที่ไทยรัฐ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด