ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ครม.สัญจรอนุมัติหลักการ งบ 359 ลบ.โครงการบริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน ภาคอีสาน

ครม.สัญจรอนุมัติหลักการ งบ 359 ลบ.โครงการบริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน ภาคอีสาน Thumb HealthServ.net
ครม.สัญจรอนุมัติหลักการ งบ 359 ลบ.โครงการบริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน ภาคอีสาน ThumbMobile HealthServ.net

ในการประชุมครม.สัญจร พื้นที่จ.หนองบัวลำภู นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2566 ณ ห้องประชุมโรงแรมณัฐพงษ์ แกรนด์ หนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู

วันที่ 4 ธันวาคม 2566 การประชุม ครม. อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2566 โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ ห้องประชุมโรงแรมณัฐพงษ์ แกรนด์ หนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู  คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 359,352,000 บาท เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน ให้ได้รับการดูแลครอบคลุมในทุกมิติ อย่างเหมาะสมและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ



 
 
ทั้งนี้ ในขั้นตอนการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำนักงบประมาณได้เสนอตั้งงบประมาณโครงการดังกล่าวไว้แล้ว จำนวน 8,850,000 บาท ในลักษณะโครงการนำร่อง จึงเห็นควรให้มีการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงาน หากมีความจำเป็นต้องดำเนินการในระยะต่อไป ก็เห็นควรให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ภายใต้แผนงานบูรณาการดังกล่าวตามภารกิจ ความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
 
 
                   ทั้งนี้ พม. พิจารณาแล้วเห็นควรเสนอเรื่อง โครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เพื่อให้รองรับสังคมสูงวัยที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยในระดับสมบูรณ์ คือ   มีผู้สูงอายุร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ อีกทั้งเพื่อสร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุให้ผู้สูงอายุได้อยู่ในชุมชน (Ageing in Place) อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี


                  จากสถิติจำนวนประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2566  ณ มิถุนายน 2566 พบว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้สูงอายุทั้งหมด 4,053,610 คน คิดเป็นร้อยละ 18.64 และจากข้อมูลการคัดกรองสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 3,188,077 คน แบ่งออกเป็น กลุ่มติดสังคม จำนวน 3,089,474 คน (ร้อยละ 96.9) กลุ่มติดบ้าน จำนวน 84,945 คน (ร้อยละ 2.66) และกลุ่มติดเตียง จำนวน 13,658 คน  (ร้อยละ 0.42) และมีแนวโน้มอยู่ลำพังคนเดียวและถูกทอดทิ้งเพิ่มขึ้น สมาชิกในครอบครัวมีการย้ายถิ่นฐานเพื่อการประกอบอาชีพ

                 จึงเป็นประเด็นท้าทายที่ประเทศไทยต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยตระหนักถึงการสร้างกลไกในระดับพื้นที่ของการมีส่วนร่วมในชุมชนเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ จึงขอนำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2566 ระหว่างวันที่ 3 - 4 ธันวาคม 2566 ณ จังหวัดหนองบัวลำภู


 
 
                   สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                    1. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีอำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 10 (4) สร้างระบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน (5) ร่วมมือและประสานงานกับราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนองค์กรอื่นในการจัดให้ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริมและการสนับสนุน ตามพระราชบัญญัตินี้ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

 
                    2. ในปี 2566 ประเทศไทยมีประชากรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรของกระทรวงมหาดไทย จำนวน 66,054,830 คน อายุ 60 ปีขึ้นไป จํานวน 12,814,778 คน คิดเป็น ร้อยละ 19.40 (ข้อมูลกรมการปกครอง เดือนมิถุนายน 2566) สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีผู้สูงอายุทั้งหมด 4,053,610 คน จากข้อมูลการคัดกรองสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 3,188,077 คน แบ่งเป็น กลุ่มติดสังคม จำนวน 3,089,474 คน (ร้อยละ 96.9) กลุ่มติดบ้าน จำนวน 84,945 คน (ร้อยละ 2.66) และกลุ่มติดเตียง จำนวน 13,658 คน (ร้อยละ 0.42) และพบว่ามีผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังคนเดียวสูงขึ้นจากสถานการณ์ดังกล่าว กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการจัดทำแผนกลุ่มจังหวัด (ข้อมูลจากแผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (พ.ศ. 2566 - 2570) และมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ดังนี้
 
                              (1) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (พ.ศ. 2566 - 2570) ยุทธศาสตร์ 3 ยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป้าประสงค์ 1) ยกระดับคุณภาพชีวิตทุกช่วงวัย แนวทางการพัฒนาตามกลยุทธ์เชิงรุก สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น คลังสมองของผู้สูงวัย
                              (2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (พ.ศ. 2566 - 2570) ประเด็น การพัฒนา 5 พัฒนาทุนมนุษย์และยกระดับคุณภาพชีวิต
                              (3) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 (พ.ศ. 2566 - 2570) ยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม แผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตและจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส

 
                    3. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย มุ่งเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมอย่างยั่งยืน และการสร้างโอกาสความเสมอภาคเท่าเทียมบนศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุให้ครอบคลุมในทุกมิติ โดยส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อรองรับสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุ เป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิตและการสร้างระบบการดูแลและเฝ้าระวังทางสังคมผู้สูงอายุในระดับพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
                             3.1 โครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)           มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชนและเป็นการพัฒนาศักยภาพผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ รวมถึงเพื่อสร้างกลไกการดูแลผู้สูงอายุให้ครอบคลุมในทุกมิติ ทั้ง 5 มิติ ได้แก่             มิติทางด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนและลดภาระค่าใช้จ่ายการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวของประเทศ
                              3.2 กลุ่มเป้าหมายรวมทั้งสิ้น 4,053,610 คน ประกอบด้วย
                                       (1) ผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ พื้นที่ละ 2 คน จำนวน 322 พื้นที่ รวม 644 คน
                                       (2) ผู้สูงอายุที่ได้รับคัดกรองสุขภาพ จำนวน 3,188,077 คน ได้แก่ กลุ่มติดสังคม กลุ่มติดบ้าน กลุ่มติดเตียง
                             3.3 พื้นที่ดำเนินการ คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 20 จังหวัด ในพื้นที่ 322 อำเภอ ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี และอุบลราชธานี
                             3.4 ขั้นตอนการดำเนินงาน
                                       (1) เตรียมการ วางแผนการดำเนินงานในพื้นที่ ร่วมกับหน่วยงานองค์กรและผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เป็นต้น
                                       (2) การอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นสูง จำนวน 420 ชั่วโมง
                                       (3) ผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุปฏิบัติงาน โดยการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน และจัดกิจกรรม พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน
                                       (4) การติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
                              3.5 งบประมาณรวมทั้งสิ้น 359,352,000 บาท แบ่งเป็น
                                       (1) งบดำเนินงาน 198,352,000 บาท ได้แก่ ค่าจัดอบรม ค่าตอบแทนผู้บริบาล     ค่าจัดกิจกรรม และค่าติดตามงาน
                                       (2) งบลงทุน 161,000,000 บาท ได้แก่ ค่าครุภัณฑ์หรืออุปกรณ์ในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
                    4. ประโยชน์และผลกระทบ
                             4.1 ผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับการดูแลครอบคลุมในทุกมิติอย่างเหมาะสม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ เป้าหมายแผนพัฒนาภาคกลุ่มจังหวัด ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน
                             4.2 ช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาการเข้าสู่ภาวะพึ่งพิงในผู้สูงอายุ
                             4.3 ลดภาระการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว
                             4.4 ส่งเสริมการมีรายได้ด้านเศรษฐกิจภายในชุมชน

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด