ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โอทอป เทรดเดอร์ (OTOP TRADER) ตัวกลางพัฒนาคุณภาพและตลาดสินค้าโอท็อป

โอทอป เทรดเดอร์ (OTOP TRADER) ตัวกลางพัฒนาคุณภาพและตลาดสินค้าโอท็อป Thumb HealthServ.net
โอทอป เทรดเดอร์ (OTOP TRADER) ตัวกลางพัฒนาคุณภาพและตลาดสินค้าโอท็อป ThumbMobile HealthServ.net

กระทรวงไทยมอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชน พัฒนาสินค้า OTOP ระดับ 1-3 ดาว ให้มีคุณภาพและมีตลาดจำหน่าย กรมการพัฒนาชุมชนจึงได้กำหนดมาตรการส่งเสริมยกระดับของมาตรฐานสินค้า และการเพิ่มยอดจำหน่ายสินค้า OTOP โดยให้มีการคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถด้านการตลาด เรียกชื่อว่า “โอทอปเทรดเดอร์” เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการพัฒนาและจำหน่ายสินค้า OTOP ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศ


 
วัตถุประสงค์
 
  1. เป็นตัวกลางในการจำหน่ายสินค้า OTOP ที่มีคุณภาพ มาตรฐานและศักยภาพทางการตลาดแต่ขาดโอกาสและช่องทางในการจำหน่าย
  2. ดำเนินการกระจายสินค้า OTOP จากผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ไปยังผู้ซื้อทั้งที่อยู่ภายในจังหวัด  ระหว่างจังหวัด รวมถึงต่างประเทศ
  3. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้า OTOP ให้ตรงกับความต้องการของลูกคา
  4. จัดหาแหล่งจำหน่ายสินค้า OTOP ในทุกรูปแบบ
 
 
 
จรรยาบรรณ OTOP Trader
 
  1. ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมช่องทางการตลาดให้กับสินค้า OTOP ตั้งแต่ระดับ ๓ ดาว  ลงมาเป็นลำดับแรก
  2. ไม่ผลิตสินค้าแข่งขันกับผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP
  3. ปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ทำไว้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP หรือ OTOP Trader ระดับจังหวัด
  4. ดำเนินกิจการด้วยความเอื้ออาทรและเป็นธรรมต่อลูกค้าที่เป็นผู้ซื้อสินค้า  และผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่เป็นผู้ส่งสินค้า
  5. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริม  สนับสนุนการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
 
 
 
 
การดำเนินงานของ Trader  OTOP
 
กรมการพัฒนาชุมชน ประกาศระเบียบกรมการพัฒนาชุมชน ว่าด้วยการส่งเสริมการดำเนินงานโอทอปเทรดเดอร์  พ.ศ. 2561   เมื่อวันที่ 18  กรกฎาคม 2561 โดยเทรดเดอร์  แบ่งออกเป็น 2 ระดับ  คือ
 
 

1. โอทอปเทรดเดอร์ระดับจังหวัด 


โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจประกาศการเป็นโอทอปเทรดเดอร์ระดับจังหวัด
 
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของเทรดเดอร์ระดับจังหวัด
  1.  เป็นนิติบุคคลที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดที่ตนประสงค์จะเป็นเทรดเดอร์ของจังหวัดนั้น  ไม่น้อยกว่าสองปีนับถึงวันที่ได้รับการคัดเลือกเป็นเทรดเดอร์ระดับจังหวัด
  2. ดำเนินกิจกรรมภายในจังหวัดนั้น  และต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานมาแสดง
  3. มีประสบการณ์ในการจำหน่ายหรือเป็นตัวกลางในการจำหน่ายสินค้า
  4. ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
 
การดำเนินกิจกรรมของ OTOP Trader ระดับจังหวัด
  • แสวงหา  รวบรวม  และคัดเลือกสินค้า OTOP ที่มีคุณภาพ  มาตรฐานแต่ขาดโอกาสและช่องทางในการจำหน่าย
  • พัฒนาสินค้า OTOP ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและพร้อมจำหน่าย  อาทิ  การจัดทำระบบคลังสินค้า  รหัสสินค้า  การพัฒนาบรรจุภัณฑ์  เป็นต้น
  • สั่งซื้อสินค้าในรูปแบบเงินสด  หรือประสานให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP นำสินค้ามาฝากขายกับตนเอง
  • นำสินค้า OTOP  วางจำหน่ายในทุกช่องทาง  อาทิ  การจำหน่ายในร้านของโอทอปเทรดเดอร์ระดับจังหวัด  ส่งไปจำหน่ายในหน้าร้านของโอทอปเทรดเดอร์ระดับจังหวัดอื่นๆ  การจำหน่ายในงานแสดงและจำหน่ายสินค้า  การจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า  การจำหน่ายออนไลน์  การจำหน่ายในร้านค้าของโอทอปเทรดเดอร์ระดับประเทศ  เป็นต้น
  • ให้คำแนะนำผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ในการผลิตและพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด
  • ดำเนินกิจกรรมอื่นๆ  ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมพัฒนา  และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้กับสินค้า OTOP  โดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด
 
 
 

2.  โอทอปเทรดเดอร์ระดับประเทศ 


โดยอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการโอทอปเทรดเดอร์ระดับประเทศ วาระดำรงตำแหน่ง  4  ปี โอทอปเทรดเดอร์ระดับประเทศมาจากโอทอปเทรดเดอร์ระดับจังหวัดคัดเลือกกันเองเป็นประธานหนึ่งคน  และกรรมการอื่นจำนวนไม่เกิน  20  คน
 
การดำเนินกิจกรรมของ OTOP Trader ระดับประเทศ
  1.  แสวงหา  รวบรวม  และคัดเลือกสินค้า OTOP จากโอทอปเทรดเดอร์ระดับจังหวัด เพื่อเป็นตัวกลางในการจำหน่าย
  2. พัฒนาสินค้าโอทอป ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและพร้อมจำหน่าย  อาทิ  การจัดทำระบบคลังสินค้า  รหัสสินค้า  การพัฒนาบรรจุภัณฑ์  เป็นต้น
  3. สั่งซื้อสินค้าจากโอทอปเทรดเดอร์ระดับจังหวัดในรูปแบบเงินสด  หรือประสานให้โอทอปเทรดเดอร์ระดับจังหวัดนำสินค้ามาฝากขายกับตนเอง
  4. นำสินค้า OTOP  วางจำหน่ายในทุกช่องทาง  อาทิ  การจำหน่ายในร้านของโอทอปเทรดเดอร์ระดับประเทศ  ส่งไปจำหน่ายในหน้าร้านของโอทอปเทรดเดอร์ระดับจังหวัด การจำหน่ายในงานแสดงและจำหน่ายสินค้า  การจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า  การจำหน่ายออนไลน์  เป็นต้น
  5. จัดทำร้านโอทอปเทรดเดอร์ระดับประเทศ  และขยายสาขาไปยังจังหวัดต่างๆ
  6. ให้คำแนะนำโอทอปเทรดเดอร์ระดับจังหวัด ในการผลิตและพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด
  7. ดำเนินกิจกรรมอื่นๆ  ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมพัฒนา  และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้กับสินค้า OTOP  โดยได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด
 
 


 

การส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของโอทอปเดอร์

  • ประชาสัมพันธ์แนวคิดและแนวทางในการดำเนินงานโอทอปเทรดเดอร์แก่สาธารณชน  หน่วยงาน  และภาคีที่เกี่ยวข้อง
  • พัฒนาศักยภาพของโอทอปเทรดเดอร์ให้สามารถดำเนินกิจกรรม
  • ประสานให้มีการประชุมระหว่างผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP เครือข่ายผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และโอทอปเทรดเดอร์ระดับจังหวัด  เพื่อให้มีการทำงานในลักษณะเชื่อมโยงและหนุนเสริมซึ่งกันและกัน
  • สนับสนุนข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและจำหน่ายสินค้า OTOP
  • ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดหาช่องทางการจำหน่ายสินค้า OTOP ทั้งในรูปแบบของการจัดหาที่จำหน่ายถาวรที่เป็นร้านค้า  และการจัดงานจำหน่ายสินค้าเป็นครั้งคราว


ข้อมูลเพิ่มเติม

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด