ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ผู้แทนด้านเอดส์ทั่วโลกคณะใหญ่ ศึกษาดูงานด้านเอชไอวี/เอดส์ ในเชียงใหม่

ผู้แทนด้านเอดส์ทั่วโลกคณะใหญ่ ศึกษาดูงานด้านเอชไอวี/เอดส์ ในเชียงใหม่ Thumb HealthServ.net
ผู้แทนด้านเอดส์ทั่วโลกคณะใหญ่ ศึกษาดูงานด้านเอชไอวี/เอดส์ ในเชียงใหม่ ThumbMobile HealthServ.net

ในการลงพื้นที่ศึกษาดูงานของตัวแทนองค์กร ในครั้งนี้ หวังว่ากระบวนการที่เกิดขึ้นในประเทศไทย จะเป็นตัวอย่างและเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้แทนประเทศสมาชิกในการนำบทเรียนไปประยุกต์ว่า เพราะแม้ว่าไทยจะเป็นประเทศที่มีทรัพยากรจำกัด แต่สามารถพัฒนาแผนงานโครงการเอดส์ที่มีประสิทธิภาพและมีความก้าวหน้า ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการยุติปัญหาเอดส์ภายในปี 2573 โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ผู้แทนด้านเอดส์ทั่วโลกคณะใหญ่ ศึกษาดูงานด้านเอชไอวี/เอดส์ ในเชียงใหม่ HealthServ
วันที่ 12 ธันวาคม 2565 นายแพทย์ปรีชา เปรมปรี รองอธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมด้วย Mr.Eamonn Murphy รองผู้อำนวยการโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ และ Mr. Taoufik Bakkali รักษาการผู้อำนวยการโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก นำทีมผู้แทนด้านเอดส์จากทั่วโลก ร่วมลงพื้นที่ศึกษาดูงานหน่วยบริการด้านเอชไอวี/เอดส์ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 12-13 ธันวาคม 2565 ภายใต้แนวคิด “ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางเสริมสร้างพลังภาคีเครือข่ายและบูรณาการแก้ไขปัญหาเอชไอวี เข้าสู่หลักประกันสุขภาพ เพื่อยุติปัญหาเอดส์ในปี พ.ศ. 2573: บทเรียนจากการแก้ไขปัญหาเอดส์”
 
        เนื่องในวันที่ 12 ธันวาคม ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็นวันหลักประกันสุขภาพสากล กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมควบคุมโรค กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พร้อมด้วยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) และภาคประชาสังคม จัดกิจกรรมลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ควบคู่กับการประชุมคณะกรรมการบริหารของโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 51 (The 51st UNAIDS Programme Coordinating Board Meeting : PCB) ​
 
 
ผู้แทนด้านเอดส์ทั่วโลกคณะใหญ่ ศึกษาดูงานด้านเอชไอวี/เอดส์ ในเชียงใหม่ HealthServ
        นายแพทย์ปรีชา กล่าวว่า สำหรับการลงพื้นที่ศึกษาดูงานแบ่งออกเป็น 2 วัน วันละ 4 แห่ง รวมเป็น 8 แห่ง ประกอบด้วย มูลนิธิเอ็มพลัส เชียงใหม่, มูลนิธิแคร์แมท เชียงใหม่, ศูนย์ลดอันตรายจากยาเสพติด เชียงใหม่, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวริน, โรงพยาบาลสันป่าตอง, โรงพยาบาลสารภี, โรงพยาบาลธัญญารักษ์ และทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ เพื่อแลกเปลี่ยนบทเรียนและนำเสนอการดำเนินงานแก้ไขปัญหาเอดส์ในพื้นที่ จากการบูรณาการอย่างครอบคลุมทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 95 - 95 – 95 ในการเข้าถึงบริการ และเป้าหมาย 10-10-10 เพื่อลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี ของหน่วยบริการสุขภาพที่มีองค์กรภาคประชาสังคมเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยบริการสุขภาพในการเข้าถึงและจัดบริการตรวจหาเอชไอวี  ซึ่งปัจจุบันได้ยกระดับเป็นหน่วยบริการสุขภาพที่ผ่านการรับรองมาตรฐานโดยกระทรวงสาธารณสุข และจดทะเบียนเป็นองค์กรที่สามารถเบิกจ่ายจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้บริการกับกลุ่มประชากรหลัก เช่น กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย พนักงานบริการทางเพศ คนข้ามเพศ แรงงานข้ามชาติ ผู้ต้องคุมขัง และผู้ใช้สารเสพติด  
 
 
ผู้แทนด้านเอดส์ทั่วโลกคณะใหญ่ ศึกษาดูงานด้านเอชไอวี/เอดส์ ในเชียงใหม่ HealthServ
       นอกจากนี้หน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ยังได้เชื่อมโยงบริการเอชไอวีระหว่างชุมชนและสถานบริการสุขภาพ ผ่านโครงการสานพลังเพื่อขจัดการตีตราและเลือกปฏิบัติ และการติดตามการจัดบริการที่นำโดยชุมชน เพื่อลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเอชไอวียังคงเป็นอุปสรรคสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการยุติปัญหาเอดส์ รัฐบาลไทยจึงมีความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะความท้าทายนี้ และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของโครงการทั่วโลกสานพลังเพื่อยุติการตีตราและการเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากเอชไอวีทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นใน 6 ภาคส่วน ประกอบด้วย 1) ภาคส่วนชุมชน หมู่บ้าน และครอบครัว รวมถึงชุมชนเฉพาะกลุ่ม 2) ภาคส่วนการทำงาน 3) ภาคส่วนการดูแลสุขภาพ 4) ภาคส่วนการศึกษา 5) ภาคส่วนการยุติธรรมและกฎหมาย และ 6) ภาคการช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินและเพื่อมนุษยธรรม 
 
       นายแพทย์ปรีชา กล่าวต่ออีกว่า การลงพื้นที่ศึกษาดูงานในครั้งนี้ มีผู้แทนจากประเทศสมาชิก 22 ประเทศ หน่วยงาน UN Cosponsors 11 องค์กร และ องค์กรเอกชนต่างประเทศ 5 องค์กร นับเป็นการลงพื้นที่ศึกษาดูงานด้านเอชไอวี/เอดส์ ครั้งสำคัญเพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนบทเรียนการดำเนินงานของไทยที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง ภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน และการบูรณาการเข้าสู่ระบบหลักประกันสุข เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งจะเป็นตัวอย่างและเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้แทนประเทศสมาชิกในการนำบทเรียนไปประยุกต์ว่า แม้ว่าไทยจะเป็นประเทศที่มีทรัพยากรจำกัด แต่สามารถพัฒนาแผนงานโครงการเอดส์ที่มีประสิทธิภาพและมีความก้าวหน้า ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการยุติปัญหาเอดส์ภายในปี 2573 โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

กระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพประชุมคณะกรรมการบริหารของโครงการโรคเอดส์ แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 51

ประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการบริหารของโครงการโรคเอดส์ แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 51 เพื่อหารือภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนทิศทางและการบริหารจัดการแผนงานเอดส์ ของโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ เร่งขจัดการตีตราและการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ พร้อมมุ่งยุติปัญหาเอดส์ทั่วโลกภายในปี 2573
 
        13 ธันวาคม 2565 ที่โรงแรมแชงกรี-ลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารของโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 51 (The 51st UNAIDS Programme Coordinating Board Meeting : PCB) โดยมี นายแพทย์โอกาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ณรงค์ สายวงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนจากประเทศสมาชิก 22 ประเทศ หน่วยงาน UN Cosponsors 11 องค์กร และ องค์กรเอกชนต่างประเทศ 5 องค์กร รวมประมาณ 220 คน เข้าร่วมการประชุม
         นายอนุทิน กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานการประชุม และได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในครั้งนี้นับเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยในการเป็นเจ้าภาพอีกครั้งในรอบ 14 ปี หลังจากที่เคยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เมื่อปี 2551 นายอนุทิน กล่าวต่อว่า การหารือร่วมกับภาคีเครือข่ายในครั้งนี้ มีประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1.การดำเนินงานขององค์กรโดยชุมชนเป็นแกนนำ 2.ความคืบหน้าของการดำเนินงาน Global Partnership เพื่อขจัดการตีตราและการเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวีทุกรูปแบบ 3.ผลการประเมินการดำเนินงาน UNAIDS และ 4.เอชไอวีกับชายที่มีความหลากหลายทางเพศในทุกรูปแบบ นอกจากนี้ภายในงานได้จัดนิทรรศการแสดงผล การดำเนินงานแก้ไขปัญหาเอดส์ของประเทศไทย ในเรื่องการลดการตีตราและการเลือกปฏิบัติ ที่ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการสานพลังเพื่อขจัดการตีตราและเลือกปฏิบัติ (Partnership for Zero Discrimination) และเรื่องการจัดบริการด้านเอดส์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
 

 
          นอกจากนี้ นายอนุทิน ยังได้กล่าวถึง สิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ประเทศไทยสนับสนุนให้กับประชาชนได้เข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม ซึ่งเป็นจุดเด่นของประเทศไทย ที่เราไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เราดูแลประชาชนทุกคนให้มีสุขภาพที่ดี ห่างไกลจากโรค และเข้าสู่ระบบบริการรักษาได้โดยเร็ว มี 4 ประเด็นสำคัญ คือ

1) การให้บริการถุงยางอนามัยฟรีแก่คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปทุกเพศ ทุกสิทธิ์ สามารถรับได้ที่หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

2) ส่งเสริมการจัดบริการเอชไอวีโดยชุมชน โดยเพิ่มองค์กรประชาสังคมที่ผ่านการประเมินตามมาตรฐานการจัดบริการเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นสถานบริการสาธารณสุขอื่น ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 

3) การให้บริการยาป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวี แก่กลุ่มเป้าหมายหลัก (ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย หญิงข้ามเพศ ผู้ให้บริการทางเพศ ผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีด คู่ผลเลือดต่าง) และยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังการสัมผัสเชื้อ ครอบคลุมประชาชนไทยทุกคน ไม่จำกัดอายุ ไม่จำกัดจำนวนครั้งการให้บริการ โดยทั้งหมดไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

4) การปรับเกณฑ์การเข้าถึงยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี (ยา Sofosbuvir/Velpatasvir) ให้ผู้ติดเชื้อได้รับการรักษาด้วยยาได้ทันที เมื่อถูกวินิจฉัยแล้ว และกำหนดให้มีการใช้ยาต้านไวรัสป้องกันการถ่ายทอดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี จากแม่สู่ลูก (ยาทีโนโฟเวียร์) รวมอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ และปรับให้มีการใช้ยาต้านไวรัส(ยา Tenofovir alafenamide) ที่มีประสิทธิผลดี เป็นยาสูตรแรกในการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังแทนยาสูตรเดิมที่ดื้อยาสูง ซึ่งจะสามารถลดการป่วย การตายจากโรคไวรัสตับอักเสบ และภาวะแทรกซ้อนจากตับแข็ง และมะเร็งตับได้ และขณะนี้กรมควบคุมโรคร่วมกับภาคีเครือข่ายกำลังดำเนินการขับเคลื่อนให้มีการตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี ในผู้ที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2535 รวมอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ และกำลังขับเคลื่อนให้การใช้ชุดตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีด้วยตนเอง รวมอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลที่ประชาชนสามารถเข้าถึงชุดตรวจโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือซี ได้เข้าสู่การรักษาโดยเร็ว และเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น
 
         “ในฐานะประธานการประชุม ขอเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกขจัดการตีตราและการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ ในชุมชน โรงเรียน สถานที่ทำงานและสถานพยาบาลอย่างเร่งด่วน และผลักดันนโยบายการไม่เลือกปฏิบัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดบริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้มีความครอบคลุมสำหรับทุกคน เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ สอดคล้องกับแนวคิดวันเอดส์โลกปีนี้ที่ว่า “Equalize : ทำให้เท่าเทียม” เพื่อมุ่งไปสู่การยุติเอดส์ในปี 2573 นี้ พร้อมกัน” นายอนุทินกล่าว 
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด