ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

คลินิกศัลยกรรมโรคอ้วน โรงพยาบาลกลาง

คลินิกศัลยกรรมโรคอ้วน โรงพยาบาลกลาง Thumb HealthServ.net
คลินิกศัลยกรรมโรคอ้วน โรงพยาบาลกลาง ThumbMobile HealthServ.net

คลินิกศัลยกรรมโรคอ้วนโรงพยาบาลกลาง ตึกอนุสรณ์ 100 ปี ชั้น 2 เปิดบริการทุกวันศุกร์แรกของเดือน เวลา​ 13.00​ -​ 16.00​ น.เป็นคลินิกที่รักษาผู้ป่วยโรคอ้วนโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ออกตรวจรักษา และให้คำปรึกษากับคนไข้โรคอ้วน ทั้งที่ผ่าตัดและไม่ผ่าตัด ในคลินิกเดียวกัน นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้ผู้ป่วยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันเอง เพื่อให้การรักษาประสบผลสำเร็จมากที่สุด

คลินิกศัลยกรรมโรคอ้วน โรงพยาบาลกลาง HealthServ
คลินิก​ศัลยกรรม​โรคอ้วน​ ตึกอนุสรณ์ 100 ปี ชั้น 2
เปิดบริการทุกวันศุกร์แรกของเดือน เวลา​ 13.00​ -​ 16.00​ น. 

คลินิกศัลยกรรมโรคอ้วนโรงพยาบาลกลาง เป็นคลินิกที่รักษาผู้ป่วยโรคอ้วนโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ออกตรวจรักษา และให้คำปรึกษากับคนไข้โรคอ้วน ทั้งที่ผ่าตัดและไม่ผ่าตัด ในคลินิกเดียวกัน นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมกลุ่ม เพื่อให้ผู้ป่วยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันเอง เพื่อให้การรักษาประสบผลสำเร็จมากที่สุด

การรักษาโรคอ้วนด้วยการผ่าตัด จุดประสงค์ไม่เพียงแต่เพื่อลดน้ำหนักผู้ป่วยอย่างเดียว แต่เพื่อให้โรคร่วมต่างๆ หายไปด้วย ซึ่งทางคลีนิคไม่ใช่คลีนิคศัลยกรรมความงาม การผ่าตัดจะใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วนจริงๆ (อ้วนทุพลภาพ) 

ช่องทางติดต่อสอบถาม


 
 
 

รูปแบบการให้บริการคลินิกโรคอ้วนโรงพยาบาลกลาง


ให้การบริการผู้ป่วยที่มี BMI > 32.5  ที่มีโรคร่วมเช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน  โรคหัวใจ หยุดหายใจขณะนอนหลับ หรือโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนทุพลภาพ รวมทั้งผู้ป่วยที่มี BMI > 37.5 ไม่มีโรคร่วมแต่มีความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน
คลินิกศัลยกรรมโรคอ้วน โรงพยาบาลกลาง HealthServ

การให้บริการ


1.1  ผู้เข้ารับบริการรายใหม่
ต้องผ่านเข้ารับการประเมินจากแพทย์และพยาบาลในศุกร์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
 
  1. ต้องลงทะเบียนข้อมูลของเวชระเบียนโรงพยาบาลทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
  2. ต้องมาลงระบบนัดหมายเข้าคลินิกโรคอ้วน ณ ห้องตรวจศัลยกรรม ชั้น 2  อาคารอนุสรณ์ 100 ปี ในวันทำการ (จันทร์-ศุกร์)ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 11.00 – 15.00 น. ซึ่งรับนัดหมายผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 40 รายของการเข้ารับบริการศุกร์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน
  3. ผู้เข้ารับบริการคลินิกอ้วนทุกรายต้องมายื่นบัตรกับเวชระเบียนชั้น 2 ได้ตั้งแต่ ช่วงเวลา  10. 30 น. 
  4. ผู้เข้ารับบริการต้องชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง วัดรอบ รอบเอว รวมทั้งซักประวัติ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 11.30 - 13.00 น.
  5. ผู้เข้ารับบริการต้องผ่านการประเมินจากศัลยแพทย์และฟังคำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเพื่อคุมน้ำหนักจากนักโภชนาการทุกราย 
  6. ผู้เข้ารับบริการจะต้องมาติดตามน้ำหนักหลังพบศัลยแพทย์และนักโภชนาการ ในอีก 3 เดือน  รวมทั้งเพื่อประเมินความพร้อมในการเข้ารับการผ่าตัด (ซึ่งประเมินจากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ,น้ำหนักตัวที่สามารถควบคุมได้และผลการตรวจทางรังสี ผลการตรวจร่างกายต่างๆ

     *** หากผู้เข้ารับบริการมีความผิดปกติต้องเข้ารับการตรวจรักษาจากอายุรแพทย์ต่อเนื่องจนร่างกายพร้อมเข้ารับการผ่าตัด)
     *** กรณีที่ผู้เข้ารับบริการมีโรคร่วมจะต้องเข้ารับการประเมินจากอายุรแพทย์ของคลินิกโรคอ้วนประจำวันศุกร์สัปดาห์ที่ 1 ของเดือน (ปฏิบัติขั้นตอนการเข้ารับบริการเหมือนกับศุกร์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน)
  7. ผู้เข้ารับบริการที่มีสภาพร่างกายที่พร้อมจะสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้หลังเข้ารับการประเมินสภาพร่างกาย ณ คลินิกโรคอ้วน ศุกร์ที่ 3 ของเดือนครั้งที่ 2 หลังครบ 3 เดือน 


1.2   ผู้เข้ารับบริการเข้ารับการผ่าตัดแล้ว
ต้องเข้ารับการตรวจติดตามอาการหลังผ่าตัดตามระยะเวลาดังนี้  
  • หลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ , หลังผ่าตัด 1 เดือน , หลังผ่าตัด 3 เดือน
  • หลังผ่าตัด 6 เดือน , หลังผ่าตัด 1 ปี และ หลังผ่าตัด 2 ปี 
เพื่อติดตามเกี่ยวกับระดับค่าวิตามินและเกลือแร่ในร่างกายรวมทั้งโรคร่วมและการรับประทานอาหาร เพื่อให้ผู้เข้ารับบริการคลินิกอ้วน มีสุขภาพที่ดี
 

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด


นอกจากจะพบหมอศัลยกรรม และหมออายุรกรรมต่อมไร้ท่อและ นักโภชนาการแล้ว ยังมีการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ อีกดังเช่น
  • การตรวจ อัลตราซาวด์ ช่องท้องเพื่อดูว่ามีนิ่วในถุงน้ำดี และไขมันพอกตับร่วมด้วยหรือไม่
  • การตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น เพื่อประเมิณภาวะ กรดไหลย้อน หูรูดหลอดอาหารสาวนปลาย ตรวจดูว่ามีก้อนเนื้องอก หรือมีติดเชื้อในกระเพาะอาหารหรือไม่
  • การตรวจการนอนหลับ เพื่อตรวจหาภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ 



การวินิจฉัยโรคอ้วน
สามารถอาศัยการวัดดัชนีมวลกาย(BMI) ซึ่งคิดได้จากน้ำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง ในคนปกติ จะมีค่าระหว่าง 18.5-25 ถ้ามากกว่า 25 ถือว่ามีภาวะน้ำหนักเกิน ถ้ามากกว่า 30 ถือว่ามีภาวะอ้วน แต่ถ้ามากกว่า 40 ถือว่ามีภาวะอ้วนทุพลภาพแต่อย่าเพิ่งดีใจ จากการศึกษาพบว่าในคนที่น้ำหนักเท่ากัน คนเอเชียจะมีปริมาณสัดส่วนไขมันที่มากกว่า เมื่อเทียบกับคนยุโรปหรืออเมริกา ซึ่งไขมันที่เกินมานี่เอง เราเชื่อว่าเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ที่พบได้ในคนอ้วน ดั้งนั้นค่าดัชนีมวลกายที่กล่าวไป จึงต้องลบด้วย 2.5 เมื่อคิดในคนเอเชีย ที่มา: นายแพทย์ณรงค์ บุญญกาศ กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลกลาง
คลินิกศัลยกรรมโรคอ้วน โรงพยาบาลกลาง HealthServ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด