ความเป็นมาเขตสุขภาพ
ปีงบประมาณ 2556 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแนวทางการพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพ ให้มีทิศทางที่ชัดเจนและเป็นระบบขึ้นโดยการจัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) มีระยะเวลา 5 ปี (ปีงบประมาณ2556 - 2560) โดยมุ่งพัฒนาระบบบริการทุกระดับตั้งแต่ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ และศูนย์ความเชี่ยวชาญระดับสูง สร้างระบบที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายโดยใช้หลักการ “เขตสุขภาพที่ไร้รอยต่อ (Seamless Health Service Network)” ตามสภาพข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์และ การคมนาคมโดยไม่มีเส้นแบ่งของการปกครองหรือการแบ่งเขตตรวจราชการ และมีการพัฒนาระบบบริหาร จัดการเครือข่ายบริการสุขภาพ (พบส.) โดยใช้กลไกความร่วมมือและช่วยเหลือกัน ในการบริหารจัดการระบบ บริการสุขภาพระหว่างสถานบริการสุขภาพทุกระดับตั้งแต่ รพศ. รพท. รพช. รพ.สต. แบบพี่-น้องช่วยกัน โดยใช้ทรัพยากรร่วมกัน ใช้หลักการ pool & share คน เครื่องมือ ความรู้ ให้สามารถเชื่อมโยงระบบบริการ สุขภาพทุกระดับ ในการดำเนินการตาม Service Plan เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพจิตและจิตเวชที่มีมาตรฐานโดยการจัดระบบบริการ สุขภาพจิตและจิตเวชบูรณาการในโรงพยาบาลฝ่ายกายตามเขตสุขภาพในพื้นที่
เขตสุขภาพ 13 เขต
- ส่วนกลาง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เขตสุขภาพที่ 13
- เขตสุขภาพที่ 1 ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน พะเยา ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน
- เขตสุขภาพที่ 2 ได้แก่ ตาก เพชรบูรณ์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ สุโขทัย
- เขตสุขภาพที่ 3 ได้แก่ กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี
- เขตสุขภาพที่ 4 ได้แก่ สระบุรี นนทบุรี ลพบุรี อ่างทอง นครนายก สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี
- เขตสุขภาพที่ 5 ได้แก่ เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี
- เขตสุขภาพที่ 6 ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ ชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด
- เขตสุขภาพที่ 7 ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด
- เขตสุขภาพที่ 8 ได้แก่ อุดรธานี สกลนคร นครพนม เลย หนองคาย หนองบัวลำภู บึงกาฬ
- เขตสุขภาพที่ 9 ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์
- เขตสุขภาพที่ 10 ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ มุกดาหาร อำนาจเจริญ
- เขตสุขภาพที่ 11 ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต กระบี่ พังงา ระนอง ชุมพร
- เขตสุขภาพที่ 12 ได้แก่ สงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
เขตสุขภาพที่ 2 ประกอบด้วยจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ ตาก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ ซึ่งมีจุดภูมิศาสตร์ทางการเมืองและเศรษฐกิจเชื่อมโยงร่วมกัน รวมทั้งมีลักษณะกายภาพร่วมกัน
สปสช.เขต 13 เขต
บทบาทหน้าที่ของเขตสุขภาพ
สำนักงานเขตบริการสุขภาพเป็นหน่วยงานราชการส่วนกลาง ที่มีที่ตั้งในส่วนภูมิภาคกลุ่มจังหวัด มีฐานะเทียบเท่ากอง [R8]
- เป็นสำนักงานเลขานุการการบริหารงานของคณะกรรมการเขตบริการสุขภาพ (Service Provider Board)
- ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนายุทธศาสตร์เขตบริการสุขภาพ บนฐานข้อมูลและฐานความรู้ แผนปฏิบัติการและเป้าหมายการดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพของประเทศตามนโยบายรัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุข
- วิเคราะห์การจัดตั้งคำของบประมาณ บริหารจัดการงบประมาณขาลง ติดตาม กำกับ เร่งรัดและรายงานผลการใช้งบประมาณในภาพรวมเขตบริการสุขภาพ วางระบบและแจ้งการจัดสรรงบประมาณที่ได้รับให้หน่วยงานในเขตบริการสุขภาพรับทราบ กำกับการเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยงานในเขตบริการสุขภาพให้เป็นไปตามกฎหมาย และหลักเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเขตบริการสุขภาพ
- ประสานงานการบริหารอัตรากำลัง ปรับเกลี่ยจัดสรรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์กลาง ประสานการบริหารงานบุคคล เป็นแกนกลางในการบริหารบุคลากรจากกรมต่างๆ ที่ปฏิบัติงานในเขตบริการสุขภาพ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเขตบริการสุขภาพ
- บริหารจัดการระบบบริการในระดับเขตบริการสุขภาพให้เกิดประสิทธิภาพ มีคุณภาพได้มาตรฐานและสร้างความเป็นธรรม
- บริหารจัดการระบบบริการในระดับเขตบริการสุขภาพ กำหนดหลักเกณฑ์ และแนวทางการจัดสรรทรัพยากรด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาระบบบริการในเขตบริการสุขภาพให้แก่หน่วยงานในเขตบริการสุขภาพที่สอดคล้องตามบริบทของพื้นที่ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเขตบริการสุขภาพ
- กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบการจัดสรร และการปรับเกลี่ยทรัพยากรด้านสุขภาพระหว่างหน่วยงานในเขตบริการสุขภาพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ประหยัด คุ้มค่าและสมประโยชน์ต่อราชการ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเขตบริการสุขภาพ
- กำกับ ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ และรายงานผลการดำเนินการของหน่วยงานในเขตบริการสุขภาพ ต่อคณะกรรมการเขตบริการสุขภาพ โดยกลไกการตรวจราชการและนิเทศงาน ร่วมกับกลไกการตรวจประเมินโดยหน่วยงานภายในและภายนอก (Internal & External Audit)
- กำกับดูแลหน่ายงานในเขต ให้เป็นตามกฎระเบียบ และเป็นผู้แทนในการบังคับใช้กฎ ระเบียบต่างๆ
- ส่งเสริมหรือสนับสนุนให้เกิดการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย รวบรวมข้อมูลข่าวสาร จัดทำระบบข้อมูลและฐานความรู้ด้านการสาธารณสุขในเขตบริการสุขภาพ ให้เป็นระบบเดียว มีคุณภาพ ใช้งานได้
- ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การวิจัยและพัฒนารูปแบบพัฒนากลไกการเฝ้าระวังและป้องกันโรค ภัยสุขภาพ และตอบโต้ภาวะฉุกเฉินในเขตบริการสุขภาพ
- ดำเนินการและประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การวิจัยและพัฒนารูปแบบ พัฒนาระบบการกำกับติดตาม และประเมินผลของหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น และเอกชนที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการสุขภาพในเขตบริการสุขภาพ
- จัดระบบการประเมินผลและรับรองมาตรฐานบริการต่างๆ ของหน่วยงานในเขตบริการสุขภาพ
- เป็นศูนย์ประสานงานความร่วมมือกับภาคีต่างๆ ระหว่างเขตบริการสุขภาพ เขตบริการสุขภาพกับส่วนกลาง ทั้งภายใน/นอกกระทรวงสาธารณสุข
- เป็นศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับการร้องเรียนร้องทุกข์ ทั้งด้านการคุ้มครองผู้บริโภค การบริการ การบริหาร และการปฏิบัติราชการ
- ประสานงาน ส่งเสริมการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานของคณะกรรมการเขตบริการสุขภาพ
- ประสานการปฏิบัติราชการทั่วไปกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะสำนักงานผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขใน เขตบริการสุขภาพ
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการภายในเขตบริการสุขภาพ ที่มิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดโดยเฉพาะ
- อำนาจหน้าที่อื่นๆที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ครม.เห็นชอบตั้ง 13 เขตสุขภาพ
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน มุ่งขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพแบบมีส่วนร่วม โดยเตรียมตั้ง 13 เขตทั่วประเทศ
26 เม.ย.2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อประชาชน มุ่งขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพแบบมีส่วนร่วม เน้นตอบสนองความจำเป็นด้านสุขภาพของประชาชนในแต่ละเขตพื้นที่ เตรียมตั้ง 13 เขตทั่วประเทศ สอดคล้องกับการแบ่งพื้นที่การทำงานของภาคีหลัก ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เน้นการหนุนเสริมกันไม่ทำงานซ้ำซ้อนกัน โดยเขตสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขจะมุ่งเน้นด้านบริการสุขภาพ และกระทรวงสาธารณสุขเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีว่า ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้งเขตสุขภาพเพื่อให้สอดคล้องกับเขตสุขภาพเพื่อประชาชนด้วย ขณะที่เขตสุขภาพของ สปสช.เน้นการจัดการด้านการเงินการคลังเป็นหลัก ส่วนเขตสุขภาพเพื่อประชาชนจะเป็นกลไกหนุนเสริมให้เกิดกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมให้ทุกภาคส่วนที่มีบทบาทในระบบสุขภาพมีความรับผิดชอบร่วมกัน
ด้าน นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า เขตสุขภาพเพื่อประชาชนเป็นแนวทางการการทำงานรูปแบบใหม่ที่เป็นไปตามทิศทางพัฒนาการของระบบสุขภาพในยุคปัจจุบันที่มีหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ หรือที่เรียกว่าพหุลักษณ์ จึงต้องอาศัยการอภิบาลแบบเครือข่ายที่เอื้อให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน และวิชาการเข้ามาทำงานร่วมกันแบบหุ้นส่วน โดยใช้พื้นที่เป็นฐานและเน้นความต้องการของประชาชนในแต่ละเขตสุขภาพเป็นสำคัญ มั่นใจว่าจะเป็นมิติใหม่ที่ช่วยหนุนเสริมการทำงานทุกภาคส่วนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น [
ThaiPBS 26 เมษายน 59]