ดังนั้น การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสังคมสูงวัย ภาครัฐควรส่งเสริมให้มีการเพิ่มทั้งคุณภาพและผลิตภาพ หรือ Productivity ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสูงวัย โดยควรต้องพิจารณาปรับโครงสร้างแรงงาน การศึกษา การพัฒนาสมรรถนะของผู้สูงวัย และต้องเพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่จะสามารถทำให้ผู้สูงวัยยังคง
ใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างสะดวก
จากข้อมูล World Economic Forum คนไทยอยู่ติดอันดับอายุยืนเกินค่าเฉลี่ยโลกภายในปี พ.ศ. 2050 โดยมีค่าเฉลี่ยอายุยืนที่ 82 ปี ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของทั่วโลกอยู่ที่ 77 ปี และสูงกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชียซึ่งอยู่ที่ 79 ปี สำหรับภูมิภาคที่ประชากรอายุยืนยาวน้อยที่สุดคือแอฟริกาอยู่ที่68 ปี อายุเฉลี่ยของคนไทยอายุยืนขึ้นตามแนวโน้มของโลก ปัญหาที่อาจเกิดตามมาคือ ผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น และก็พบว่ามีอัตราการเจ็บป่วยและอัตราการนอนติดเตียงสูงมากเพิ่มขึ้น ซึ่งประเด็นหลักที่สำคัญสำหรับการมีชีวิตที่ยืนยาวคือต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี จากปัจจัยต่าง ๆ
ที่สนับสนุนทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับสุขภาพโดยตรงและปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำรงชีวิต
เป็นที่น่าภาคภูมิใจของคนไทยทั้งประเทศ ที่ปัจจุบันมีกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ไทยคิดค้นนวัตกรรมชื่อว่า “วัฒนชีวา” ที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ช่วยให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสดใส สร้างเทรนด์การดูแลตนเอง เป็นแนวทางของ Integrated Medicine ด้วยการเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชผักผลไม้ของไทยที่ส่งผลต่อความแข็งแรงของสุขภาพร่างกายลึกถึงในระดับโครโมโซม
การดูแลตนเองเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี นับว่าเป็นความรับผิดชอบส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อสังคมและประเทศชาติ ที่จะช่วยให้สังคมมีความแข็งแรงเติบโต ปัจจุบันวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้า ทำให้เรารู้ว่าควรดูแลสุขภาพอย่างไรเพื่อให้มีร่างกายที่แข็งแรง ไม่เสื่อมถอยไปตามอายุขัย ด้วยนวัตกรรม “วัฒนชีวา” สูตรที่ทำให้คนเรามีอายุยืนอย่างมีสุขภาพที่แข็งแรง คิดค้นโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์คนไทย โดยการไปเสริมสร้างความยาวของเทโลเมียร์ ซึ่งเป็นส่วนปลายของโครโมโซม ทำให้ความยาวของเทโลเมียร์ (Telomere) คงไว้ไม่ให้สั้นเร็วถ้าสั้นเร็วก็จะแก่เร็ว และมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคที่เกิดจากความเสื่อมถอยของเซลล์ในร่างกาย เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต อัลไซเมอร์ หลอดเลือดสมอง เกาต์ เบาหวาน ต่อมลูกหมากโต กระดูกพรุน ต้อกระจก ต้อหิน และไต เป็นต้น ภาวะเสื่อมถอยนี้เกิดจากเทโลเมียร์ (Telomere) ที่สั้นลง ปัจจุบัน “วัฒนชีวา” สามารถช่วยลดการเสื่อมถอยเหล่านี้ได้ด้วยการเพิ่มความยาวเทโลเมียร์ พร้อมกับลดอัตราเสี่ยงการเกิดเนื้อร้าย และเพิ่มภูมิคุ้มกันลดการติดเชื้อต่างๆ ไปพร้อมกัน โดยที่คุณสมบัตินี้ไม่มีในผลิตภัณฑ์อื่นที่ระบุว่าสามารถเพิ่มความยาวเทโลเมียร์ได้
ทั้งนี้ ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะนักวิจัย Operation BIM ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “นวัตกรรม “วัฒนชีวา” เป็นงานวิจัยที่คิดค้นพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบโดยคนไทยที่ลงลึกถึงระดับโครโมโซมมีจุดเด่นคือผลิตจากพืชธรรมชาติไทย 5 ชนิด ได้แก่ มังคุด งาดำ ถั่วเหลือง ฝรั่ง ใบบัวบก ที่ใช้รับประทานเป็นอาหารประจำวันอยู่แล้ว และมีข้อมูลด้านความปลอดภัยต่อร่างกายชัดเจน เพราะฉะนั้นสามารถรับประทานได้ในปริมาณมากต่อเนื่องตลอดไปโดยไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย พืชทั้ง 5 ชนิดจะเสริมฤทธิ์กันสร้างร่างกายให้มีสุขภาพดีขึ้นทำให้อ่อนเยาว์ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ย้อนวัย ชะลอวัย ส่งผลให้อายุยืน
โดยภายใน 1 ปีกว่าที่ผ่านมานี้มีผู้ใช้ผลิตภัณฑ์วัฒนชีวา มากกว่า 10,000 คน ย้อนวัยได้สูงสุด 23 ปี ใน 8 สัปดาห์ เพิ่มเม็ดเลือดขาว CD 4 (ที่มีหน้าที่ป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ) ได้ 5.8% และเพิ่มเม็ดเลือดขาว CD 8 (Killer T Cell หรือเซลล์ทีพิฆาต ที่มีหน้าที่กำจัดเซลล์มะเร็ง) ได้ 8.3% เป็นการสร้างให้ร่างกายเกิดภูมิคุ้มกันและมีความสมดุล พร้อมกับมีสุขภาพที่ดีขึ้น เช่น ความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด การนอนหลับ ระบบขับถ่าย สุขภาพผิว ผม เล็บ ดีขึ้น ทำให้ทุกเซลล์ในร่างกายแข็งแรงสามารถกำจัดเซลล์ร้าย เช่น เซลล์มะเร็งได้ ดร.พิเชษฐ์ กล่าวเสริม”
พร้อมเชิญชวนคนไทยร่วมสร้างสุขภาพร่างกายและจิตใจให้แข็งแรงด้วยวัฒนชีวา โดยผู้บริโภคทุกคนจะได้รับการดูแลปรึกษาปัญหาสุขภาพตลอดการใช้ผลิตภัณฑ์จากผู้เชี่ยวชาญ และตั้งเป้าหมายร่วมกันในการมีอายุยืน 100 ปี เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดูแลตนเองได้ พร้อมรับมือกับสังคมสูงวัยได้อย่างมีความสุข