โอกาสวันเด็กปี พศ. 2568 เครือข่ายต้านโรคไม่ติดต่อ หรือ NCDS ออกโรงกระตุ้นเตือนภัย โรคอ้วนในเด็กถึงจุดวิกฤติ และเมื่อโตขึ้นจะยังคงอ้วนและมีโอกาสเป็นโรคไม่ติดต่อสูงมาก หากไม่แก้ไขอีก 5 ปี คนไทยอายุ 20 ปีขึ้นไป 1 ใน 2 คน จะทั้งอ้วนทั้งป่วย เสนอกระทรวงสาธารณสุขผลักดันกฎหมายคุมการตลาดอาหารที่จูงใจเด็กกินหวานมันเค็ม เพื่อลดปัญหาโรคอ้วนในเด็กไทย
รศ.นพ.เพชร รอดอารีย์ นายกสมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย (Association of Thai NCDs Alliance) เปิดเผยว่า ปัจจุบันภาวะอ้วนในเด็กเพิ่มขึ้นสองเท่าเทียบกับเมื่อสิบปีก่อน ปัจจัยสำคัญคือการบริโภคอาหาร และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมันและโซเดียมสูง โดยส่วนหนึ่งเพราะเด็กถูกกระตุ้นพฤติกรรมบริโภคจากโฆษณาและการตลาดที่ใช้เทคนิคโน้มน้าวจงใจเด็ก ทำให้เด็กเกิดความต้องการซื้อและเกิดการบริโภคอาหารหวานมันเค็มมากเกินไปจนเกิดโทษแก่ร่างกาย และยังเป็นการสร้างนิสัยการกินที่ผิด ๆ ซึ่งแก้ไขได้ยากในระยะยาว
ประกอบกับผู้ใหญ่บางส่วนเข้าใจผิดว่าเด็กอ้วนไม่เป็นไรเมื่อโตขึ้นก็จะผอมเอง จึงยินยอมซื้ออาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูงเกินมาตรฐานให้เด็กบริโภค ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด
จากการศึกษาพบว่าผู้ใหญ่ที่อ้วนร้อยละ 55 เคยอ้วนตอนเป็นเด็ก ดังนั้นเด็กอ้วนจึงมีความเสี่ยงที่จะโดขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วนและเจ็บป่วยด้วยโรค NCDs ตั้งแต่อายุยังน้อย หากไม่แก้ไขอีก 5 ปี คนไทยอายุ 20 ปีขึ้น ไป 1 ใน 2 จะเป็นโรคอ้วน
นายกสมาคมเครือข่ายโรคไม่ติดต่อไทย กล่าวอีกว่า การตลาดเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมซื้อ และบริโภคอาหารที่มีไขมัน น้ำตาลและโชเดียมมากขึ้น ปัจจบันผู้ผลิตและจำหน่ายใช้เทคนิคการตลาดอาหารฯ เช่น การโฆษณาการใช้เนื้อหาที่ดึงดูดใจ การจำหน่ายในสถานศึกษา การจำหน่ายแบบตรงและออนไลน์ การจูงใจด้วยราคา การแลก แจก แถม ชิงโชค การสนับสนุนกิจกรรมของเด็ก การบริจาคอาหารสินค้าตัวอย่างให้เข้าถึงเด็กในโอกาสต่าง ๆ โดยหวังผลด้านสร้างภาพลักษณ์และเพิ่มยอดขายแก่ผลิตภัณฑ์
จากการวิจัยของ สถาบันวิจัยวิจัยประซากรและสังคมพบว่า เด็กไทยประมาณ 70-80% พบเห็นสื่อและเทคนิคการตลาดอาหาร เหล่านี้ในชีวิตประจำวันจนชินตา และเลือกซื้อโดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งในปัจจุบันประเทศ ไทยยังไม่มีมาตรการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กตามแนวทางเพื่อการยุติโรคอ้วนในเด็กในระดับสากล (Ending Children Obesity : ECHO) ขององค์การอนามัยโลก
ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาโรคอ้วนในเด็กและป้องกันโรคไม่ติดต่ออย่างยั่งยืน เครือข่ายโรคไม่ติดต่อ ไทยร่วมกับกรมอนามัยและภาคีสุขภาพ ได้ยกร่างกฎหมายควบคุมการโฆษณาและการตลาดอาหารและ เครื่องดื่มที่มีผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก เพราะมีหลักฐานทางวิชาการชัดเจนว่าการใช้กฎหมายที่เข้มแข็ง ควบคุมการโฆษณาการตลาดอาหารที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทางโภชนาการที่เหมาะสมนั้น จะส่งผลดีต่อการแก้ปัญหาโรคอ้วนในเด็กอย่างชัดเจน โดยร่างกฎหมายนี้จะมีเนื้อหาสำคัญ เช่น
- ห้ามทำการโฆษณาที่มีลักษณะโน้มน้าวจูงใจเด็ก
- ห้ามทำการแลก แจก แถม ชิงรางวัล
- ห้ามบริจาคอาหารหรือขนมเหล่านี้ใน กิจกรรมของโรงเรียนเพราะเป็นการสนับสนุนที่เชื่อมโยงกับสินค้าโดยตรง
- ห้ามทำกิจกรรมการตลาด ออนไลน์ เป็นต้น
ซึ่งร่างกฎหมายนี้ยกร่างมากว่า 3 ปี และผ่านการประชาพิจารณอย่างกว้างขวางแล้ว เมื่อประกาศใช้ จะเป็นเครื่องมือปกป้องเด็กจากการบริโภคที่ไม่เหมาะสมที่ไม่อาจรู้เท่าทันเทคนิคทางการตลาด เพื่อให้สังคมไทยมีความเข้มแข็งทางสังคมและเศรษฐกิจด้วยการมีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นพื้นฐาน
ทั้งนี้ สาเหตุของโรคอ้วนและโรคไม่ติดต่อเกิดจากการบริโภคอาหารที่มีความหวานมันเค็มสูงเป็นปัจจัยหลัก ถึงร้อยละ
80 ร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น การไม่ออกกำลังกาย และภาวะเครียด เป็นต้น ปัจจุบันพบผู้ป่วยที่อ้วนและป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 40 ปี มากขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งสมาพันธ์โรคอ้วนนานาชาติคาดการณ์ในอีก 6-7 ปี ข้างหน้า จะเกิดภาระทางด้านค่ารักษาพยาบาลและเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่า 7 แสน ล้านบาท รศ.นพ.เพชร รอดอารีย์ กล่าวตอนท้าย