ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รพ.โรงเรียนแพทย์ ประกาศผู้ป่วยมะเร็งสิทธิบัตรทอง ต้องมีใบส่งตัว เริ่ม 1 มค 68

รพ.โรงเรียนแพทย์ ประกาศผู้ป่วยมะเร็งสิทธิบัตรทอง ต้องมีใบส่งตัว เริ่ม 1 มค 68 Thumb HealthServ.net
รพ.โรงเรียนแพทย์ ประกาศผู้ป่วยมะเร็งสิทธิบัตรทอง ต้องมีใบส่งตัว เริ่ม 1 มค 68 ThumbMobile HealthServ.net

โรงพยาบาลสังกัดโรงเรียนแพทย์ ได้แก่ รพ.รามาธิบดี รพ.จุฬาฯ รพ.ศิริราช และ รพ.ภูมิพลฯ ออกประกาศว่า ตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง) ตามโครงการ Cancer Anywhere ต้องมีหนังสือส่งตัวรับรองค่ารักษาพยาบาล จากหน่วยบริการต้นสังกัดเท่านั้น

       4 โรงพยาบาลสังกัดโรงเรียนแพทย์ ได้แก่ โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ  ได้ออกประกาศ ถึงผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ตามโครงการ Cancer Anywhere  จะต้อง มีหนังสือส่งตัวรับรองค่ารักษาพยาบาล จากหน่วยบริการต้นสังกัด เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป 

ประกาศ โรงพยาบาลรามาธิบดี

13 ธันวาคม 2568 โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยแพร่ประกาศ ดังนี้

ประกาศ 
เรียนผู้รับบริการโรงพยาบาลรามาธิบดี
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ปรับเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล จากกองทุน Cancer Anywhere (มะเร็งรักษาได้ทุกที่) เพื่อให้การรักษาพยาบาลเป็นไปอย่างต่อเนื่องและครอบคลุม ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ต้องมีหนังสือส่งตัวรับรองค่ารักษาพยาบาล จากหน่วยบริการต้นสังกัดตามสิทธิของท่านทุกครั้ง ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้น

ประกาศ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

 14 ธันวาคม 2568 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เผยแพร่ประกาศ ดังนี้


     เรียนผู้ใช้บริการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 สปสช. ได้ปรับเกณฑ์การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากกองทุน Cancer Anywhere (มะเร็งรักษาได้ทุกที่)

เพื่อให้การรักษาพยาบาลเป็นไปอย่างต่อเนื่องและครอบคลุม ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ต้องมีหนังสือส่งตัวรับรองค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยบริการต้นสังกัดตามสิทธิของท่านทุกครั้ง

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งานลงทะเบียนและตรวจสอบสิทธิ อาคาร ภปร ชั้น 1 โทร. 02-256-5478

ประกาศโรงพยาบาลศิริราช

14 ธันวาคม 2567 โรงพยาบาลศิริราชา เผยแพร่ประกาศ เกี่ยวกับผู้ป่วยสิทธิ์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อการรักษาโรคมะเร็ง มีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2568 

ประกาศ โรงพยาบาลภูมิพล

 13 ธันวาคม 2567 โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ  เผยแพร่ประกาศ ดังนี้

     ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.68 ผู้ป่วยมะเร็งต้องมีหนังสือส่งตัวจากหน่วยบริการปฐมภูมิ(โมเดล5) จากหน่วยบริการประจำ(โมเดลอื่นๆ)
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณี ทำไมโรงพยาบาลสังกัดคณะแพทย์จึงต้องการให้มีการส่งต่อผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ ว่า
  • จำนวนผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ Cancer Anywhere เข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้นอย่างมาก จนส่งผลเสียต่อระบบการบริการผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกคน ทุกสิทธิการรักษา และผู้ป่วยโรคอื่น ๆ ด้วย
  • สปสช. จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่ รพ. เรียกเก็บต่ํามาก ๆ และมีจํานวนหนึ่งที่ไม่จ่ายเลย ทําให้โรงพยาบาลต้องแบกรับภาระด้านการเงินไม่ไหว เป็นแบบนี้มา 3 ปี ไม่มีการแก้ไข เคยสัญญาว่าจะจ่ายเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ทําตามสัญญา 
  • จํานวนผู้ป่วยที่มารับการรักษาจํานวนมาก ส่งผลกระทบต่อการฝึกอบรมแพทย์ประจําบ้าน แพทย์ต่อยอด และ นศ.พ. 
  • ไม่สามารถให้การรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานการรักษาที่ควรจะเป็นได้ เนื่องจากเกินกําลังในการให้บริการ
  • จํานวนผู้ป่วย Cancer Anywhere ของ รพ. ศรีนครินทร์ปี 2564 ที่เริ่มโครงการมีเพียง 3,617 ครั้ง, ปี 2565 เพิ่มเป็น 16,514 ปี 25,666 เพิ่มเป็น 25,896 และปีล่าสุด 2567 เพิ่มสูงขึ้นเป็น 30,241 ครั้ง หรือเทียบเท่า เป็น 830% เมื่อเทียบกับปีแรกที่เริ่มโครงการ

      สปสช. และกระทรวงสาธารณสุขควรเลิกนโยบายนี้ กลับไปเป็นระบบเดิม เพราะส่วนใหญ่ของผู้ป่วยนั้น โรงพยาบาลจังหวัด ศูนย์มะเร็งก็รักษาได้ ถ้าเกินศักยภาพของโรงพยาบาลจังหวัด หรือศูนย์มะเร็ง จึงส่งต่อมารักษาที่โรงเรียนแพทย์ และ สปสช. ควรจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ครบด้วยครับ 
 
      "ประชาชนโปรดเข้าใจ และเห็นใจโรงพยาบาล สังกัดโรงเรียนแพทย์ เราพยายามทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว แต่ในขณะนี้เกินความสามารถในการแบกรับภาวะจำนวนผู้ป่วยที่มีมากเกินกำลังของแพทย์ พยาบาล เภสัช เจ้าหน้าที่เอกซเรย์แล้วครับ ร่วมกับ สปสช.จ่ายค่ารักษาพยาบาลแบบไม่เป็นธรรม"
 

Hfocus 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด