ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ทำอย่างไรเมื่อรู้สึกว่าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง? พร้อมวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น

ทำอย่างไรเมื่อรู้สึกว่าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง? พร้อมวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น Thumb HealthServ.net
ทำอย่างไรเมื่อรู้สึกว่าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง? พร้อมวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น ThumbMobile HealthServ.net

ทำอย่างไรเมื่อรู้สึกว่าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง? พร้อมวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น

ทำอย่างไรเมื่อรู้สึกว่าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง? พร้อมวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น HealthServ
       หลายคนที่กำลังเผชิญกับปัญหาหนังตาตก ลืมตาไม่ค่อยขึ้น บางครั้งเห็นภาพซ้อน หรือเพ่งมองแต่โฟกัสภาพไม่ได้ หนักเข้าอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง ทำงานได้ไม่เต็มที่  ใบหน้าดูอิดโรย เหมือนคนง่วงนอนตลอดเวลาและยังดูแก่กว่าวัย  อาการเหล่านี้ส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพอย่างมาก ปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ไม่ควรชะล่าใจเด็ดขาด โดยเฉพาะกับผู้ใหญ่หรือคนวัยทำงานที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์และมือถือเป็นเวลานาน เพราะปัญหาที่คิดว่าเป็นเรื่องของวัย อาจเป็นสัญญาณเตือนสุขภาพที่ร้ายแรงกว่าที่คิด และมักเกิดจากอาการ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ซึ่งต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมทันที!


สังเกตอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเบื้องต้น


      อาการของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถสังเกตได้จากปัญหาในชีวิตประจำวัน เช่น ลืมตาได้ยาก นั่นหมายถึงเรายกเปลือกตาได้ยากขึ้น เปลือกตารู้สึกหนัก เปลือกตาบนหย่อนลงมาปิดตาดำมากกว่าปกติ หรือมีอาการตาปรือจนต้องออกแรงเลิกคิ้วช่วย และในบางคนที่อาการแย่ อาจทำให้ต้องขยี้ตาบ่อยๆ จนส่งผลกระทบต่อการมองเห็น และส่งผลเสียต่อสุขภาพดวงตาโดยรวม โดยเฉพาะพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเราในยุคปัจจุบัน ที่ชอบดูโทรศัพท์มือถือ และอยู่แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ก็ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ซึ่งคนทุกวัยมีโอกาสเป็นได้เหมือนกันหมด ทั้งนี้ ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุหลักๆ คือ

  • ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่กำเนิดสาเหตุแรก
    เนื่องจากกล้ามเนื้อตาไม่มีการพัฒนา หรือได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรืออาจเกิดจากเส้นประสาทสมองมีอาการผิดปกติ ทำให้ตาปรือ ลืมตาได้ไม่เต็มที่ จนหนังตาตกบังตาดำ โดยปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในวัยเด็ก อาจทำให้มีการมองเห็นแต่ละข้างไม่เท่ากัน และส่งผลให้เกิดภาวะตาขี้เกียจหรือตาเอียงได้นั่นเอง
  • ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เมื่ออายุมากขึ้น 
    สำหรับสาเหตุนี้ เกิดจากการที่ผิวหนังกล้ามเนื้อหย่อนคล้อยตามวัย ทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หนังตาตกมาบังส่วนที่เป็นตาดำ ประสิทธิภาพด้านการมองเห็นลดลง จนทำให้หลายคนติดเลิกคิ้วเพื่อช่วยให้มองเห็นชัดขึ้น ผลที่ตามมาคือเกิดรอยยับย่นบนหน้าผาก นอกจากนั้น เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งการดูมือถือ นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการผิดพลาดที่เกิดจากการไปผ่าตัดตาสองชั้น รวมถึงเกิดจากโรค MG : Myasthenia Gravis หรือเกิดจากอุบัติเหตุ ดังนั้น เมื่อรู้ว่ามีอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ควรจะต้องรีบดูแลตัวเองทันที ไม่ควรปล่อยปละละเลย
 

การปรับพฤติกรรมการใช้สายตาในชีวิตประจำวัน


      1. พักสายตาสม่ำเสมอด้วยเทคนิค 20-20-20 คือ
  • 20 นาที: หลังทำงานหรือจ้องหน้าจอครบ 20 นาที ให้หยุดพัก
  • 20 วินาที: พักสายตา 20 วินาที ด้วยการลุกจากโต๊ะทำงานแล้วมองสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น ต้นไม้ วิว ฯลฯ
  • 20 ฟุต: พักสายตาด้วยการมองไกลออกไปประมาณ 20 ฟุต หรือ 6 เมตร เพื่อปรับการทำงานของกล้ามเนื้อตา

      2. จัดแสงและลดเวลาทำงานหน้าจอ
ลดระยะเวลาทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้น้อยลง หรือปรับแสงให้เหมาะสม ไม่จ้าเกินไปขณะทำงาน และหากต้องเดินทางออกนอกบ้าน หรือออกแดดจ้า อากาศร้อนจัด ควรใส่แว่นกันแดดเพื่อปกป้องดวงตาจากรังสี UV

      3. บริหารกล้ามเนื้อตา เสริมสุขภาพดวงตาให้แข็งแรง
  • กลอกตา: กลอกตาขึ้นลง ซ้ายขวา และหมุนเป็นวงกลมตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกา ทำต่อเนื่อง 10 ครั้ง วันละ 2 รอบ โดยไม่ต้องเกร็งลูกตาขณะทำ
  • ปรับโฟกัสตา: ใช้นิ้วมือหรือปากกาถือไว้ตรงกลางตา เลื่อนเข้าใกล้-ไกลช้าๆ หากเห็นเป็นภาพซ้อนให้ทำใหม่ ให้ทำซ้ำ 20 รอบ วันละ 3 ครั้ง
  • สลับโฟกัส: ถือวัตถุหรือชี้นิ้วให้ห่างจากสายตาประมาณ 8 นิ้ว โดยมองไปที่วัตถุนั้น 3 วินาที จากนั้นมองไปไกลอีก 3 วินาที ทำต่อเนื่อง 10 ครั้ง

      4. นวดรอบดวงตา 
ใช้นิ้วคลึงเบ ๆ บริเวณรอบคิ้ว ไล่จากหัวคิ้วไปถึงหัวตา เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อตาโดยรอบ และควรหลีกเลี่ยงการกดที่เปลือกตาโดยตรง

      5. พักผ่อนให้เพียงพอ
การพักผ่อนอย่างเพียงพอ มีส่วนช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อตาและระบบประสาท ส่งผลให้สุขภาพดวงตาและการมองเห็นโดยรวมดีขึ้น จึงอาจทำให้อาการภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงดีขึ้นได้

      6. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตา
รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพดวงตาโดยตรง เช่น โอเมก้า 3 วิตามินเอ วิตามินซี รวมถึงผักใบเขียวและแครอท เป็นต้น สารอาหารและวิตามินเหล่านี้จะช่วยเสริมประสิทธิภาพดวงตา ให้ระบบการมองเห็นทำได้อย่างเต็มที่
 
 
      นอกจากการดูแลทะนุถนอมการใช้สายตาในชีวิตประจำวันแล้ว ใครที่เริ่มมีอาการหรือกังวลว่าตัวเองอาจจะมีภาวะของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หลังจากที่ลองปรับพฤติกรรมการใช้สายตาในชีวิตประจำวันดูแล้ว แต่อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงไม่ดีขึ้น หรือมีอาการที่รุนแรงเพิ่มขึ้น เช่น ตาปิดไม่สนิท มองเห็นภาพซ้อน หรือเปลือกตาตกจนส่งผลต่อการมองเห็น แนะนำว่าให้ปรึกษาแพทย์โดยด่วน แต่เนื่องจากปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเป็นภาวะที่ต้องดูแลอย่างละเอียด จึงควรเลือกคลินิกที่มีมาตรฐานและเชื่อถือได้ เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับการรักษาที่ถูกวิธีและได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ที่ Lovely Eye & Skin Clinic คลินิกศัลยกรรมเสริมความงามทำตาสองชั้น ที่ดูแลโดยจุกษุแพทย์มากความรู้และประสบการณ์ พร้อมให้ปรึกษาสำหรับผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงพร้อมเทคนิคพิเศษในการดูแลเฉพาะโรค เพื่อผลลัพธ์ที่ดีและการแก้ไขปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอย่างตรงจุด ติดต่อและสอบถามเพิ่มเติม Tel. 02 382 0045, 06 1405 0044 | Line: @lovelyeye | Website: www.lovelyeyeclinic.com
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด