ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

New Normal Same Cancer #มะเร็งไม่รอ รู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็ง

New Normal Same Cancer #มะเร็งไม่รอ รู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็ง HealthServ.net
New Normal Same Cancer #มะเร็งไม่รอ รู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็ง ThumbMobile HealthServ.net

โรคมะเร็ง สาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในคนไทย กว่า 80,000 คนต่อปี กรมการแพทย์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ร่วมกับ แอสตร้าเซนเนก้า จัดทำคลิปวิดีโอให้ความรู้และเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็ง ภายใต้แคมเปญ New Normal Same Cancer เพื่อสร้างความตระหนักรู้และวางแนวทางป้องกันและการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

 
กรุงเทพฯ – โรคมะเร็ง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ในประเทศไทย โดยมีอัตราการเสียชีวิตกว่า 80,000 คน[1]ต่อปี โดยโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศชาย คือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี กับมะเร็งปอด ส่วนโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้หญิง คือ มะเร็งเต้านม[2] ซึ่งข้อมูลจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เผยว่ามีคนไทยจำนวนเพียง 2% จากทั้งประเทศที่เข้ารับการตรวจสุขภาพในแต่ละปี โดยจำนวนที่เหลือกว่า 59%[3] ไม่คิดที่จะเข้ารับการตรวจสุขภาพ เนื่องจากเชื่อว่าตนเองมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ซึ่งความคิดเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับการรักษาได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดอาการบ่งชี้โรคร้ายแรง
 
 
เพื่อสร้างความตระหนักรู้และวางแนวทางป้องกันและการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์  และ แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ได้จัดทำคลิปวิดีโอสั้นให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง ภายใต้แคมเปญ “New Normal Same Cancer” เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันและเฝ้าระวัง รวมถึงรณรงค์ให้เห็นถึงความสำคัญของการเข้าคัดกรองและรับการรักษาโรคมะเร็ง
 
 
 
นพ.สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เผย “โรคมะเร็งมีกระบวนการเกิดโรคที่ซับซ้อนและมีหลายปัจจัยเป็นตัวกระตุ้นเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค ไม่ได้จำกัดแค่พฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงอย่างการสูบบุหรี่ หรือดื่มสุราเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น การถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ การได้รับมลภาวะในอากาศ การรับประทานเนื้อสัตว์ปิ้งย่างไหม้เกรียมและเนื้อสัตว์แปรรูปเป็นประจำ รวมถึงการมีภาวะโรคอ้วนก็เพิ่มความเสี่ยงของโรคได้เช่นกัน นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีการส่งต่อข้อมูลที่สร้างความสับสนทำให้เกิดความเชื่อที่ผิดจำนวนมาก โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ “อาหารป้องกันโรคมะเร็ง” และ “สมุนไพรรักษามะเร็ง” ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่มักเป็นข้อมูลบิดเบือนหรือข้อมูลเท็จ เช่น การดื่มน้ำมะนาวผสมโซดาเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง ในความเป็นจริงแล้วหากเราสามารถปรับพฤติกรรมจากการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักสัดส่วนโภชนาการที่ถูกต้อง ตลอดจนเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตามระยะเวลาที่เหมาะสม ก็จะสามารถลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งลงได้ เพราะมะเร็งรู้เร็วรักษาได้” นพ.สกานต์ กล่าวเพิ่มเติม
 
 
 
นายเจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “แอสตร้าเซนเนก้าได้ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรเกี่ยวกับโรคมะเร็งชนิดต่างๆทั่วโลก จัดทำแคมเปญ New Normal Same Cancer เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง และส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเข้ารับการตรวจรักษาโรคมะเร็งอย่างต่อเนื่องในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 เนื่องจากประชาชนจำนวนมากเลื่อนหรือยกเลิกการไปตรวจสุขภาพประจำปีหรือการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ซึ่งส่งผลต่อการวินิจัยฉัยและเข้ารับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นซึ่งมีความสำคัญมากเพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดจากโรคได้ และแม้ว่าเราจะเข้าสู่ช่วงที่โควิด-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่นแล้วและมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ แอสตร้าเซนเนก้ายังคงเดินหน้าสานต่อแคมเปญนี้ เพื่อให้ประชาชนตระหนักรู้ และไม่รอช้าที่จะไปพบแพทย์ เพราะโรคมะเร็งนั้นไม่รอ”
 
 
 
ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรับชมคลิปวิดีโอสั้นให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง  “New Normal Same Cancer” ได้ทาง Facebook สถาบันมะเร็งแห่งชาติ และ แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย และหากต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความรู้ด้านโรคมะเร็งอื่นๆหรือตรวจสอบข่าวปลอมเกี่ยวกับมะเร็งสามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่ website สถาบันมะเร็งแห่งชาติ www.nci.go.th ที่หน้าหลักในส่วนของ ความรอบรู้สู้ภัยมะเร็ง (All About Cancer) และ รู้จริงหยุดมะเร็ง (Anti-Fake Cancer News)



+++


[1] สถิติสาธารณสุข กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/2563_0.pdf)
 
[2] https://www.nci.go.th/e_book/hosbased_2563/index.html
 
[3] https://www.bangkokbiznews.com/social/940071,
https://hss.moph.go.th/show_topic.php?id=686 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด