ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

[บัตรทอง] บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P)

[บัตรทอง] บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P) Thumb HealthServ.net
[บัตรทอง] บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P) ThumbMobile HealthServ.net

[บัตรทอง] บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P)

บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P)

บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P) เป็นสิทธิประโยชน์เดียวในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่จัดให้กับประชาชนไทยทุกสิทธิ เป็นบริการสาธารณสุขที่ให้โดยตรงแก่บุคคลครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ อัตราป่วย/อัตราตายที่เป็นภาระโรคของประเทศและส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก บรรลุเป้าประสงค์ที่ต้องการให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือน
 
การสร้างเสริมสุขภาพ หมายความว่า บริการหรือกิจกรรมที่ให้โดยตรงแก่บุคคลครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล เพื่อสร้างเสริมความตระหนักและขีดความสามารถของบุคคลในการดูแลสุขภาพของตนเอง
 
การป้องกันโรค หมายความว่า บริการหรือกิจกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ให้โดยตรงแก่บุคคล ครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค

การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มีขอบเขตดังนี้

  • การตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงต่อการเสียสุขภาพและศักยภาพที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
  • การสร้างเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การให้คำปรึกษาแนะนำ การให้ความรู้และการสาธิตเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
  • การสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน การใช้ยา และการทำหัตถการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเฝ้าระวัง และการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ป่วยมีอาการแทรกซ้อนหรือการชะลอความรุนแรงของการป่วย โดยให้ถือว่าบริการดังกล่าวเป็นกิจกรรมด้านการรักษาพยาบาล

เป้าหมาย

ประชาชนไทยทุกสิทธิ ได้แก่ ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้มีสิทธิประกันสังคม ผู้มีสิทธิสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ/เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสิทธิอื่นๆ ย่อมมีสิทธิเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข ฉบับที่ 10 ของประชาชนแต่ละกลุ่มวัย
 
รายการหรือกิจกรรมบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (สิทธิประโยชน์) ที่ประชาชนทุกสิทธิจะได้รับ แยกตามกลุ่มวัยเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเด็กเล็กอายุ ๐ - ๕ ปี กลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นอายุ ๖ - ๒๔ ปี กลุ่มผู้ใหญ่อายุ ๒๕ - ๕๙ ปี และกลุ่มผู้สูงอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ทั้งนี้การจัดบริการตามรายการหรือกิจกรรมบริการ หน่วยบริการจะดำเนินการตามแนวทางหรือแนวเวชปฏิบัติ และมาตรฐานบริการที่กำหนดโดยกรมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุขหรือราชวิทยาลัยหรือสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์

1.บริการฝากครรภ์คุณภาพ
- บริการฝากครรภ์คุณภาพตาม แนวทางการดูแลหญิงตั้งครรภ์แนวใหม่ ขององค์การอนามัยโลกหรือตามที่ กรมอนามัยแนะนำ
- ประเมินความเสี่ยงตามเกณฑ์ประเมิน ความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ (classifying form
- การฝากครรภ์แต่ละครั้งจะได้รับบริการดังนี้
 
1. การทดสอบการตั้งครรภ์
2. การสอบถามข้อมูล
3. การตรวจร่างกาย
4. การประเมินสุขภาพจิต
5. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
6. การประเมินเพื่อการส่งต่อ
7. การให้การดูแลรักษา
8. การให้คำแนะนำ ตอบคำถามและการนัดครั้งต่อไป
9. การบันทึกข้อมูล หญิงตั้งครรภ์และสามี (กรณีสามีเฉพาะการ คัดกรองและตรวจ ยืนยันโรคโลหิต จางธาลัสซีเมียและการ มีส่วนร่วมในการดูแล ครรภ์) อย่างน้อย 5 ครั้ง
1) ครั้งที่ 1 อายุครรภ์ ก่อน 12 สัปดาห์
2) ครั้งที่ 2 อายุ ครรภ์ 13 -< 20 สัปดาห์
3) ครั้งที่ 3 อายุ ครรภ์ 20 -< 26 สัปดาห์
4) ครั้งที่ 4 อายุ ครรภ์ 26 -< 32 สัปดาห์
5) ครั้งที่ 5 อายุ ครรภ์ 32 - 40 สัปดาห์
 
1.1 การทดสอบการตั้งครรภ์
- ตรวจปัสสาวะทดสอบการตั้งครรภ์หญิงที่สงสัยหรือมี อาการคล้ายตั้งครรภ์
- อย่างน้อย 1 ครั้ง  

1.2 การสอบถามข้อมูล
- สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว การเจ็บป่วย ประวัติทางสูติกรรม การตั้งครรภ์ปัจจุบันหญิงตั้งครรภ์
- ทุกครั้งที่รับบริการ
 
1.3 การตรวจร่างกาย และตรวจครรภ์
- ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิตหญิงตั้งครรภ์ - ทุกครั้งที่เข้ารับบริการ  
- ตรวจร่างกายทั่วไป ดูภาวะซีด อาการ บวมและอาการเตือนของโรคอื่นๆ - ทุกครั้งที่เข้ารับบริการ  
- ตรวจครรภ์ วัดความสูงยอดมดลูก ประเมินอายุครรภ์ - ทุกครั้งที่เข้ารับบริการ  
- ตรวจสุขภาพช่องปาก ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 - อย่างน้อย 1 ครั้ง  
- พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายทั่วไป และตรวจฟังเสียงการหายใจ และเสียงหัวใจโดยแพทย์ ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 - อย่างน้อย 1 ครั้ง  
- ตรวจภายในเพื่อตรวจหาความผิดปกติ และการติดเชื้อในช่องคลอด เมื่อมีข้อบ่งชี้ ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 หรือ 2 - อย่างน้อย 1 ครั้ง  
- ตรวจอัลตราซาวด์ (ถ้ามี) เพื่อยืนยันอายุครรภ์ จำนวนทารก สัญญาณชีพ ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 หรือ 2 - อย่างน้อย 1 ครั้ง  

1.4 การประเมินสุขภาพจิต
- ประเมินความเครียด คัดกรองโรคซึมเศร้า และปัญหาการดื่มสุรา หญิงตั้งครรภ์ - ทุกครั้งที่เข้ารับบริการ  

1.5 การตรวจทางห้อง ปฏิบัติการที่จำเป็น
- การตรวจปัสสาวะด้วยแถบตรวจ (multiple urine dipstick) เพื่อตรวจหาการติดเชื้อแบคทีเรีย ในทางเดินปัสสาวะ ที่ไม่มีอาการไข่ขาว (โปรตีน) และน้ำตาล หญิงตั้งครรภ์ - อย่างน้อย 5 ครั้ง  
 - ตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิส (VDRL) ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 และ 4 (อายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์) - 2 ครั้ง  
- ตรวจการติดเชื้อเอชไอวี (Anti - HIV) ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 และ 4 - 2 ครั้ง ตามความสมัครใจ  
- ตรวจคัดกรองพาหะไวรัสตับอักเสบบี ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 - 1 ครั้ง  
 - ตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (CBC) หรือวัดระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือด (HB) หรือปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (HCT) ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 และ 4 - อย่างน้อย 2 ครั้ง  
- ตรวจคัดกรองโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย (MCV/OF+DCIP) ถ้าผลคัดกรองเป็นบวก ให้ตรวจคัดกรองสามีต่อ ถ้าผลเป็นบวกทั้งคู่ให้ส่งเลือดตรวจยืนยัน Hb typing/PCR เพื่อกำหนดคู่เสี่ยง การตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ และยุติการตั้งครรภ์ ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 อย่างช้าอายุครรภ์ไม่เกิน 24 สัปดาห์ ทั้งนี้ตามแนวทางหรือเวชปฏิบัติที่กำหนด หญิงตั้งครรภ์และสามี - 1 ครั้ง  
- ตรวจคัดกรองภาวะดาวน์ รายที่ผลเป็นบวกให้ตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ และยุติการตั้งครรภ์ตามแนวทาง เวชปฏิบัติ ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 อย่างช้าอายุครรภ์ไม่เกิน 24 สัปดาห์ ทั้งนี้ตามแนวทางหรือแนวทางเวชปฏิบัติที่กำหนด - หญิงตั้งครรภ์ อายุ 35 ปีขึ้นไป - 1 ครั้ง  
- ตรวจหมู่เลือด (ABO และ Rh) - หญิงตั้งครรภ์ - 1 ครั้ง  

1.6 การให้การดูแลรักษา
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก (dT) ในรายที่ไม่เคยได้รับวัคซีนนี้มาก่อน ฉีดทันทีที่ฝากครรภ์ครั้งแรก โดยฉีดที่ 0, 1 และ 6 เดือนตามลำดับ หญิงตั้งครรภ์ - 1-3 ครั้ง แล้วแต่กรณี  
  - ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ ่ตามฤดูกาล ช่วงอายุครรภ์มากกว่า 4 เดือนขึ้นไป - หญิงตั้งครรภ์ - 1 ครั้ง  
  - รับยาเสริมธาตุเหล็ก กรดโฟลิก ไอโอดีน กินทุกวันตลอดอายุการตั้งครรภ์ - หญิงตั้งครรภ์ - กินทุกวันตลอด อายุการตั้งครรภ์ - กินยาเม็ดที่มี ธาตุเหล็ก elemental iron 60 มิลลิกรัม กรดโฟลิก 400 ไมโครกรัม ไอโอดีน 150 ไมโครกรัม
  - ขัดและทำความสะอาดฟัน ช่วงฝากครรภ์ครั้งที่ 1 หรือ 2 (อายุครรภ์ไม่เกิน 6 เดือน) - หญิงตั้งครรภ์ - อย่างน้อย 1 ครั้ง  
  - การดูแลรักษาหากตรวจพบความผิดปกติ รวมถึงการแก้ไขภาวะทุพ โภชนาการ - หญิงตั้งครรภ์ - ตามความจำเป็น  

1.7 การประเมินเพื่อ การส่งต่อ
- ประเมินความเสี่ยงตามเกณฑ์ประเมิน ความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ทุกครั้ง โดยพิจารณาร่วมกับหลักฐานที่พบ จากการฝากครรภ์แต่ละครั้ง หากมีความเสี่ยง หรือมีอาการผิดปกติที่เกินขีด ความสามารถของหน่วยบริการจะได้รับ การส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่มีขีด ความสามารถสูงกว่า - หญิงตั้งครรภ์ - ทุกครั้ที่เข้ารับบริการ  

1.8 การให้คำแนะนำ ตอบคำถามและการนัด ครั้งต่อไป
- คำแนะนำที่จำเป็นสำหรับการดูแลครรภ์ และการคลอดการเลี้ยงลูก การวางแผนครอบครัว (เข้าโรงเรียนพ่อแม่)
- ให้คำแนะนำสำหรับการติดต่อ กรณีมีเลืออก ปวดท้อง หรือ ภาวะฉุกเฉิน หรือต้องการคำแนะนำ
- ซักถามและตอบคภพาม นัดตรวจครั้งต่อไป
- หญิงตั้งครรภ์และสามี - ทุกครั้งที่รับ บริการ  
 - ให้คำปรึกษาก่อน/หลังการตรวจเลือด HIV (ตามความสมัครใจ) โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ดาวน์ซินโดรม - หญิงตั้งครรภ์ และสามี - ทุกครั้งที่รับ บริการ  
- ให้คำแนะนำสำหรับการติดต่อกรณี มีเลือดออกปวดท้องหรือภาวะฉุกเฉิน - หญิงตั้งครรภ์ และสามี - ทุกครั้งที่รับ บริการ
 
1.9 การบันทึกข้อมูล
- รับสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก 1 เล่ม และนำสมุดบันทึกมาทุกครั้ง
- ผู้ให้บริการบันทึกข้อมูลในสมุดบันทึกสุขภาพ และเวชระเบียนให้ครบ
- หญิงตั้งครรภ์ - 1 เล่ม - ทุกครั้ง
 
 
2. บริการตรวจหลังคลอด
- บริการตรวจหลังคลอด
- หญิงหลังคลอด
- ตามแนวทางที่กรมอนามัยกำหนด อย่างน้อย 3 ครั้ง
- ครั้งที่ 1 ภายหลังคลอดไม่เกิน 7 วัน
- ครั้งที่ 2 หลังคลอด 8-15 วัน
- ครั้งที่ 3 หลังคลอด 16-42
 
- การสอบถาม ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต ตรวจร่างกายทั่วไปและตรวจ ภายในเฉพาะที่มีข้อบ่งชี้ทางคลินิก - ทุกครั้งที่เข้ารับบริการ  
- ตรวจคัดกรองโรคซึมเศร้าหลังคลอด - อย่างน้อย 1 ครั้ง  
- คำแนะนำและบริการวางแผน ครอบครัวตามความสมัครใจ (ยากิน/ ยาฉีดคุมกำเนิด ห่วงอนามัย ยาฝัง คุมกำเนิด การทำหมัน) - ตามความสมัครใจ  
- คำแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการเลี้ยงลูก - ทุกครั้งที่เข้ารับบริการ  
- ยาเสริมธาตุเหล็ก กรดโฟลิก ไอโอดีน กินทุกวันหลังคลอดเป็นเวลา 6 เดือน - กินทุกวันเป็น เวลา 6 เดือน จ่ายยาบำรุง ตามบัญชียา หลักแห่งชาติ ตามความจำเป็น เช่น กรดโฟลิก ธาตุเหล็ก เกลือไอโอดีน ยาเม็ดรวมเสริมธาตุ เหล็กโฟเลท และไอโอดีน (ตามวินิจฉัยของแพทย์)

3. บริการเยี่ยมบ้าน
- บริการเยี่ยมบ้านหญิงตั้งครรภ์และ หญิงหลังคลอด
- หญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด
- ตามแนวทางที่กรมอนามัยหรือ ที่เกี่ยวข้องกำหนด  

4. บริการส่งเสริมการให้ นมแม่ในสถานที่ทำงาน
- บริการส่งเสริมการให้นมแม่ของหญิงหลังคลอด บุตรเมื่อต้องกลับไปทำงานเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน โดยประสานกับสถานที่ประกอบการหรือ สถานที่ทำงานจัดให้มีช่วงเวลาพักระหว่างงาน สำหรับการให้นมหรือปั๊มเก็บน้ำนม รวมถึงการอำนวยความสะดวกด้าน สถานที่และอุปกรณ์ หญิงหลังคลอดบุตร และเจ้าของสถาน ประกอบการหรือ ที่ทำงาน ตามแนวทางที่ กรมอนามัยหรือที่ เกี่ยวข้องกำหนด  
 
 

2. กลุ่มเด็กเล็ก 0-5 ปี

1. บริการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคทั่วไป
บริการคลินิกสุขภาพเด็ก ประเมินสุขภาพและ ปัญหาทั่วไป ตรวจร่างกาย การวัดและประเมิน การเฝ้าระวังพัฒนาการและ การคัดกรองที่จำเป็น การแนะนำพ่อแม่ (การเลี้ยงดู ส่งเสริมทักษะ ส่งเสริมสุขนิสัยที่ดี การป้องกันอุบัติเหตุ และลดความเสี่ยง) ซักถามและตอบคำถาม/ชื่นชมให้กำลังใจ นัดครั้งต่อไป เด็กแรกเกิด - 5 ปี - ตามแนวทางปฏิบัติที่กรมวิชาการ กำหนดหรือตามกำหนดการ ดูแลสุขภาพเด็กไทย โดยราชวิทยาลัย กุมารแพทย์แห่งชาติ พ.ศ.2557  
 
2.บริการวิตามินเค
ฉีดหรือกินวิตามิน เค เด็กแรกเกิด
อย่างน้อย 1 ครั้ง  
 
3.บริการคัดกรองภาวะ พร่องไทรอยด์ฮอร์โมน
- เจาะเลือดทารกแรกเกิดหลังคลอด อย่างน้อย 48 ชั่วโมง และส่งตรวจวัดระดับ ทีเอสเอช (TSH)
- รายที่ผิดปกติได้รับการตรวจวินิจฉัยยืนยัน และได้รับยาป้องกัน ตรวจยืนยัน 1 ครั้ง
- ถ้าผิดปกติได้รับการดูแลติดตามต่อเนื่อง ตามแนวเวชปฏิบัติอย่างน้อย 3 ปี ตรวจติดตามเป็นระยะเด็กแรกเกิด อย่างน้อย 1 ครั้ง
 
4.บริการวัคซีนป้องกัน วัณโรค (BCG)
- ฉีดครั้งเดียวเมื่อแรกเกิด เด็กแรกเกิด - 1 ครั้ง  
 
5.บริการวัคซีนป้องกันไวรัส ตับอักเสบบี (HB)
-เข็มที่ 1 เมื่อแรกเกิด (ภายใน 24 ชม.)
-กรณีที่มารดาเป็นพาหะตับอักเสบบี ให้ฉีดวัคซีน HB แก่เด็กเพิ่มอีก 1 ครั้งเมื่ออายุ 1 เดือน
เด็กแรกเกิด – 1 เดือน -1 - 2 ครั้งแล้วแต่กรณี
 
6.บริการวัคซีนป้องกัน คอตีบ บาดทะยัก และไอกรน ชนิดทั้งเซลล์ และตับอักเสบบี (DTwP-HB)
-เข็มที่ 1 เมื่ออายุ 2 เดือน
-เข็มที่ 2 เมื่ออายุ 4 เดือน
-เข็มที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน เด็กอายุ 2 เดือน - 6 เดือน -3 ครั้ง  
  บริการวัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยักและไอกรน ชนิดทั้งเซลล์ (DTwP) -กระตุ้นครั้งที่ 1 เมื่ออายุ 18 เดือน
-กระตุ้นครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4 -6ปี เด็กอายุ 18 เดือน - 6 ปี -2 ครั้ง
 
7.บริการวัคซีนป้องกันโปลิโอ ชนิดกิน/ฉีด (OPV/IPV)
-ครั้งที่ 1 เมื่ออายุ 2 เดือน
-ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4 เดือน และฉีด ไอพีวี 1 เข็ม
-ครั้งที่ 3 เมื่ออายุ 6 เดือน
-กระตุ้นครั้งที่ 1 เมื่ออายุ 18 เดือน
-กระตุ้นครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 4 -6ปี เด็กอายุ 2 เดือน - 6 ปี -5 ครั้ง  
 
8.บริการวัคซีนป้องกันหัด หัดเยอรมัน และคางทูม (MMR)
-เข็มที่ 1 เมื่ออายุ 9 - 12 เดือน
-เข็มที่2เมื่ออายุ2ปี6เดือน เด็กอายุ 9 เดือน - 3 ปี -2 ครั้ง  
 
9.บริการวัคซีนป้องกัน ไข้สมองอักเสบเจอี (JE)
กรณีวัคซีน JE เชื้อตาย
-เข็มที่ 1 เมื่ออายุ 12 เดือน
-เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 4 สัปดาห์
-เข็มที่ 3 เมื่ออายุ 2 ปี 6 เดือน
กรณีวัคซีน JE เชื้อเป็น
-เข็มที่ 1 เมื่ออายุ 12 เดือน
-เข็มที่2เมื่ออายุ2ปี6เดือน เด็กอายุ 12 เดือน - 3 ปี -2 - 3 ครั้ง แล้วแต่กรณี
 
10.บริการวัคซีนป้องกัน ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
-ฉีด 2 ครั้งห่างกันอย่างน้อย 1 เดือนสำหรับเด็กที่ไม่เคยฉีดมาก่อน
-ฉีด1ครั้งกรณีเคยฉีดในปีที่ผ่านมา เด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี -1 - 2 ครั้งแล้วแต่กรณี
 
11.บริการคัดกรองโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก
-ตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (CBC) หรือวัดระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง (Hb) หรือปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hct)
-ตรวจครั้งที่ 1 เมื่ออายุ 6 - 12 เดือน
-ตรวจครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 3 - 5 ปี
-ดูแลรักษาต่อเนื่องในรายที่ผิดปกติ เด็กอายุ 6 - 12 เดือน และอายุ 3 - 5 ปี -อย่างน้อย 1 ครั้งในแต่ละช่วงอายุ  
 
12.บริการประเมินการเจริญ เติบโตของเด็กจากการ วัดเส้นรอบศีรษะเด็ก
-วัดเส้นรอบศีรษะที่อายุแรกเกิด, 1, 2, 4, 6, 9, 12, 18 เดือน และ 2 ปี เด็กแรกเกิด - 2 ปี -8 ครั้ง
 
13.บริการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็ก
-ตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กอายุ 9, 18, 30 และ 42 เดือน
-รายที่พบว่ามีพัฒนาการล่าช้า ได้รับการแก้ไข ส่งเสริมพัฒนาการ ตามแนวเวชปฏิบัติ เด็กอายุ 9, 18, 30 และ 42 เดือน -อย่างน้อย 1 ครั้งในแต่ละอายุ พ่อแม่จะได้รับคู่มือ เฝ้าระวังและส่งเสริม พัฒนาการเด็กปฐมวัย หรือ คู่มือประเมินและส่งเสริม พัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง แล้วแต่กรณี
 
14.บริการคัดกรองภาวะ สายตาผิดปกติ
-ตรวจคัดกรองการมองเห็น ด้วยแผ่นวัดรูปภาพในเด็กอนุบาล
-ส่งผลการตรวจคัดกรอง ไปที่สถานพยาบาลใกล้โรงเรียน
-เด็กที่พบความผิดปกติของการมองเห็น ได้รับการนัดตรวจและรักษา เด็กอายุ 3 – 5 ปี -1 ครั้งต่อปี
 
15.บริการตรวจสุขภาพ ช่องปากและการทา ฟลูออไรด์วาร์นิช
-ตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์วาร์นิช ในเด็กกลุ่มเสี่ยง อายุ 9, 18, 24, 36 เดือน ทุก 6 เดือน และติดตามเด็กจนถึงอายุ 60 เดือน เด็กอายุ 9 - 60 เดือน -1 - 2 ครั้งต่อปีแล้วแต่กรณี
 
16.บริการยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก เพื่อป้องกันโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก
-เด็กอายุตั้งแต่ 2 เดือนที่น้ำหนักตัวแรกคลอด < 2,500 กรัมได้รับธาตุเหล็ก 12.5 มิลลิกรัม/วัน
-เด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปีได้รับธาตุเหล็ก 12.5 มิลลิกรัม/สัปดาห์
-เด็กอายุ 2 - 5 ปีได้รับธาตุเหล็ก 25 มิลลิกรัม/สัปดาห์ เด็กอายุ 2 เดือน - 5 ปี -1 ครั้งต่อวันกรณี นน. < 2,500 กรัม
-1 ครั้งต่อสัปดาห์ กรณีอายุ 6 เดือนขึ้นไป
 
17.บริการยาต้านไวรัสเอดส์ และตรวจการติดเชื้อเอชไอวี
-รับยาต้านไวรัสเอดส์เพื่อป้องกัน และรักษาในเด็กที่ ติดเชื้อและกลุ่มเสี่ยงสูง ที่คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อ เอชไอวี
-ตรวจ พีซีอาร์ (PCR) ที่ 1 เดือนและ 2 เดือน
-ตรวจการติดเชื้อเอชไอวี เมื่อเด็กอายุ 18 เดือน เด็กแรกเกิด - 18 เดือน -รับยาจนครบกำหนด
-ตรวจอย่างน้อย 1 ครั้ง
-1 ครั้ง
 
หน่วยบริการขอรับการสนับสนุนยาและ ค่าใช้จ่ายได้จากกองทุนเอดส์ กรณีรักษา เบิกค่าใช้จ่ายจาก แต่ละสิทธิการรักษา
 
18.บริการนมผงทารกสำหรับ เด็กที่เกิดจากแม่ติดเชื้อ เอชไอวี
-รับนมผงกินแทนนมแม่ กรณีเด็กแรกเกิดที่แม่ติดเชื้อ เอชไอวี เด็กแรกเกิด - 18 เดือนที่แม่ติดเชื้อ เอชไอวี -ตามความต้องการจนถึงอายุ 18 เดือน หน่วยบริการขอรับ การสนับสนุนได้จาก กรมอนามัย
 
19.บริการสมุดบันทึกสุขภาพเด็ก
-รับสมุดบันทึกสุขภาพเด็ก (ใช้ร่วมกับสมุดบันทึกสุขภาพ แม่และเด็กสีชมพู) เด็กแรกเกิด - 5 ปี/ผู้ปกครองเด็ก -1 เล่ม ผู้ปกครองและผู้ให้บริการ ร่วมกันบันทึกสุขภาพและ บริการส่งเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรคที่เด็กได้รับ อย่างต่อเนื่อง
 
20.บริการเยี่ยมบ้าน/ชุมชน
-ให้บริการเยี่ยมบ้าน/ชุมชน เด็กแรกเกิด - 5 ปี ตามแนวทางที่กรมอนามัย หรือที่เกี่ยวข้องกำหนด  

3. กลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นอายุ 6 - 24 ปี

1.บริการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคทั่วไป
-บริการซักประวัติ/สอบถาม ตรวจร่างกาย ประเมินสุขภาพกาย/สุขภาพจิตและปัญหาทั่วไป ประเมินพฤติกรรมเสี่ยง การคัดกรองที่จำเป็น การแนะนำพ่อแม่ (การเลี้ยงดู ส่งเสริมทักษะ ส่งเสริมสุขนิสัยที่ดี การป้องกันอุบัติเหตุและลดความเสี่ยง) ซักถามและตอบคำถาม/ชื่นชมให้กำลังใจ ให้หมายเลขโทรศัพท์สำหรับติดต่อ แก่วัยรุ่นนัดครั้งต่อไป เด็กโตและวัยรุ่น ตามแนวทางปฏิบัติที่กรมวิชาการ กำหนดหรือตามกำหนดการดูแลสุขภาพ เด็กไทยโดยราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ แห่งประเทศไทย พ.ศ.2557
 
2.บริการวัคซีนป้องกัน วัณโรค (BCG)
-ฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรคในเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี เด็ก ป.1 หรืออายุ ต่ำกว่า 7 ปีที่ไม่เคย ได้รับวัคซีนนี้ -1 ครั้ง
 
3.บริการวัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยัก (dT)
-ฉีดวัคซีนป้องกันคอตีบ บาดทะยักในเด็กอายุ 12 – 16 ปี
-กรณีเด็ก ป.1 (อายุ 6 - 7 ปี) ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนหรือได้รับ DTwP ไม่ครบ 5 ครั้งให้ฉีดกระตุ้น เด็กอายุ 12 ปี (ป.6)
เด็ก ป.1 (6 – 7 ปี) ที่ไม่เคยได้รับหรือได้รับไม่ครบ
-1 ครั้ง
-แล้วแต่กรณี
 
4.บริการวัคซีนป้องกัน โปลิโอชนิดกิน (OPV)
-กรณีเด็ก ป.1 (อายุ 6 - 7 ปี) ที่ไม่เคยได้รับหรือได้รับ OPV ไม่ครบ 5 ครั้ง ให้กระตุ้น -เด็ก ป.1 (6 - 7 ปี) ที่ไม่เคยได้รับหรือได้รับไม่ครบ -แล้วแต่กรณี
 
5.บริการวัคซีนป้องกันหัด หัดเยอรมันและ คางทูม (MMR)
-กรณีเด็ก ป.1 (อายุ 6 - 7 ปี) ที่ไม่เคยได้รับ วัคซีน MMR หรือได้รับไม่ครบ 2 ครั้ง ให้ฉีดกระตุ้น -เด็ก ป.1 (6 - 7 ปี) ที่ไม่เคยได้รับหรือได้รับไม่ครบ -แล้วแต่กรณี  
 
6.บริการวัคซีนป้องกัน ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
-ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ให้เด็กโต และวัยรุ่นที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
-เด็กอายุต่ำกว่า 9 ปีที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ถ้าไม่เคยฉีดมาก่อน ฉีด 2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน ถ้าเคยฉีดปีที่ผ่านมาแล้ว ให้ฉีด 1 เข็ม
-เด็กอายุ9ปีชึ้นไปที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังฉีด1ครั้ง -เด็กโตและวัยรุ่นที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่ม ได้แก่ เบาหวาน ไตวาย หอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หัวใจ หลอดเลือดสมอง และมะเร็งที่ได้ รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด -1 - 2 ครั้งต่อปีแล้วแต่กรณี  
 
7.บริการคัดกรองโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก
-ตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (CBC) หรือตรวจวัดระดับความเข้มข้น ของเม็ดเลือดแดง (Hb) หรือปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (Hct)
-ดูแลรักษาต่อเนื่องในรายที่ผิดปกติ -เด็กอายุ 6 ปี (ถ้าไม่ได้ตรวจเมื่ออายุ 3 - 5 ปี)
-วัยรุ่นหญิงที่เริ่มมีประ จำเดือน (อายุ 13 - 24 ปี) -อย่างน้อย 1 ครั้ง
-อย่างน้อย 1 ครั้ง
 
8.บริการคัดกรองสุขภาพ ช่องปากในโรงเรียน
-ตรวจสุขภาพช่องปากและแนะนำ แก่เด็กในโรงเรียน
-ส่งต่อเพื่อดูแลรักษากรณีที่จำเป็น -เด็ก ป.1 - ป.6 (อายุ 6 - 12 ปี) -อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
 
9.บริการคัดกรองภาวะ สายตาผิดปกติ
-ตรวจคัดกรองการมองเห็นใน เด็กประถมศึกษา ด้วยแผ่นวัดสายตา E chart หรือแผนภูมิสเนลเลนหรือแผ่นวัดตัวเลข
-ส่งผลการตรวจคัดกรอง ไปที่สถานพยาบาลใกล้โรงเรียน
-เด็กที่พบความผิดปกติของการมองเห็น ได้รับการนัดตรวจและรักษา เด็ก ป.1 - ป.6 (อายุ 6 - 12 ปี) -1 ครั้งต่อปี  
 
10.บริการคัดกรอง ความผิดปกติทาง การได้ยิน
-ตรวจความผิดปกติทางการได้ยินโดย ใช้เสียงกระซิบ (whispered voice test) หรือใช้นิ้วถูกัน เด็ก ป.1 - ป.6 (อายุ 6 - 12 ปี) -1 ครั้งต่อปี  
 
11.บริการประเมิน การเจริญเติบโต และภาวะโภชนาการ
-เด็กอายุ 6 - 18 ปี ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและเปรียบเทียบกับเกณฑ์อ้างอิง การเจริญเติบโตเด็กของประเทศ
-อายุ 19 ปีขึ้นไป ประเมินค่าดัชนีมวลกาย และเส้นรอบวงเอวทุกครั้งที่เข้ารับบริการ
-ครูหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขแนะนำ การส่งเสริมและป้องกัน หากมีภาวะจำเป็นต้องพบแพทย์ให้ส่งต่อ เด็กโตและวัยรุ่นอายุ 6-24 ปี -อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง หรือทุกครั้งที่เข้ารับบริการ
 
12.บริการคัดกรองความเสี่ยง จากการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และ การเสพสารเสพติด
-คัดกรองความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการเสพสารเสพติด ด้วยแบบประเมิน ASSIST ( Alcohol, smoking and substance involvement screening test) พร้อมกับให้คำแนะนำอย่างสั้น (brief intervention)
-ในรายที่มีความเสี่ยงระดับปานกลางขึ้นไป ผู้ให้คำปรึกษาจะส่งต่อพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและพิจารณาการรักษาด้วยยาต่อไป ผู้มีอายุ 15 - 24 ปี -1 ครั้งต่อปี
 
13.บริการให้คำปรึกษา และคัดกรองการติดเชื้อ เอชไอวี
-หน่วยบริการแจ้งบริการให้คำปรึกษา และการตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวี แก่ผู้รับบริการทราบ และบริการตรวจการติดเชื้อ เอชไอวีตามความสมัครใจ ผู้มีอายุ 6 - 24 ปีที่สมัครใจ -ตามพฤติกรรมเสี่ยง และดุลยพินิจของแพทย์
 
14.บริการวัดความดันโลหิต
-ตรวจวัดความดันโลหิต ณ สถานพยาบาลหรือที่ชุมชน ผู้มีอายุ 15 - 24 ปี -อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปีหรือทุกครั้งที่เข้ารับบริการ
 
15.บริการยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก เพื่อป้องกันโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็ก
-เด็กอายุ 6 - 12 ปี ได้รับธาตุเหล็ก 60 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์
-วัยรุ่นหญิงที่เริ่มมีประจำเดือน (วัยเจริญพันธุ์) ได้รับธาตุเหล็ก 60 มิลลิกรัมและกรดโฟลิก 2.8 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์ เด็กอายุ 6 - 12 ปี
วัยรุ่นหญิง 13 - 24 ปี
-1 ครั้งต่อสัปดาห์
-1 ครั้งต่อสัปดาห์
 
 
16.บริการเคลือบฟลูออไรด์
-บริการเคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์โดยใช้ฟลูออไรด์ ความเข้มข้นสูงเฉพาะที่เด็กโตและวัยรุ่น (อายุ 6 - 24 ปี)
-ทุก 6 เดือน
 
17.บริการเคลือบหลุมร่องฟัน
-บริการเคลือบหลุมร่องฟันสำหรับฟันกรามถาวรซี่ที่ 6, 7 4 และ 5 โดยวัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน (sealant) เด็กโตและวัยรุ่น อายุ 6 - 20 ปี
-อย่างน้อยซี่ละ 1 ครั้ง  
 
18.บริการอนามัยเจริญพันธุ์ และการป้องกันและควบคุม การตั้งครรภ์วัยรุ่นและ การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
-บริการคลินิกอนามัยเจริญพันธุ์ คลินิกวัยรุ่นและเยาวชน
-คำปรึกษา/แนะนำอนามัยเจริญพันธุ์และบริการวางแผนครอบครัว
-บริการส่งเสริมสุขภาพทั่วไปและป้องกันโรค คัดกรองความเสี่ยง
-บริการถุงยางอนามัย/ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน และคำแนะนำการใช้เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศ สัมพันธ์และตั้งครรภ์
-บริการป้องกันการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย
-บริการวางแผนครอบครัวกึ่งถาวรเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ วัยรุ่น/เยาวชนหญิง และชายวัยเจริญพันธุ์ ที่มีเพศสัมพันธ์
-ตามความสมัครใจ
 
19.บริการสมุดบันทึกสุขภาพนักเรียน
-นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 และมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้รับสมุดบันทึกสุขภาพ เพื่อบันทึกด้วยตนเอง เด็กนักเรียน ป.5 และ ม.1 -1 เล่มต่อคน (ใช้ ป.5 - 6 และ ม.1 - 6)
 
20.บริการเยี่ยมบ้าน/ชุมชน
-ให้บริการเยี่ยมบ้าน/ชุมชน ผู้ด้อยโอกาส แม่วัยรุ่น ผู้พิการหรือมีเงื่อนไขจำเป็น ตามแนวทางที่กรมอนามัยหรือ ที่เกี่ยวข้องกำหนด  
 
21.บริการป้องกันการติดเชื้อ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด