อะไรคือ "ไปรับบริการที่ไหนก็ได้ที่พร้อม"?
เนื่องจากโรคมะเร็งมีหลายชนิด และหน่วยบริการแต่ละแห่ง ก็มีศักยภาพที่แตกต่างกันในการรักษา (แพทย์ที่เชี่ยวชาญ เครื่องมือ) นโยบายนี้ จึงเป็นการ "เปิดช่อง" ให้ผู้ป่วยเลือกหน่วยบริการที่จะไปรับการรักษาได้ แต่จะต้องเป็นหน่วยบริการที่มีศักยภาพ มีความพร้อมที่จะให้การรักษาได้ ทั้งนี้แพทย์ที่ดูแล จะเป็นผู้ที่ให้คำปรึกษา หารือวางแผน แนะนำ ร่วมกับกับแพทย์ผู้รักษา/เจ้าหน้าที่ในหน่วยบริการ
ที่ที่พร้อม หมายถึง?
"ที่พร้อม" หมายถึง โรงพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช. เพื่อเป็นหน่วยบริการ และจะได้รับค่าใช้จ่ายจากสปสช. แบ่งเป็น 3 แบบ คือ
1. รพ.รับการส่งต่อทั่วไป
ที่มีศักยภาพในการให้เคมีบำบัด สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ การสั่งการรักษา การผสมยา และการบริหารยาเคมีบำบัด ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือการให้ฮอร์โมน Tamoxifen สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
2. รพ.ที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านรังสีรักษา
สำหรับผู้ป่วยมะเร็งในระบบบัตรทอง ที่สปสช.กำหนด
3. รพ.ในระบบบัตรทอง นอกเหนือจาก 2 และ 3
ที่ให้บริการรักษาโรคมะเร็ง ดังนี้
3.1 การตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคมะเร็ง โดยครอบคลุมการประเมินระยะของมะเร็ง (staging) ตามมาตรฐานของโรคมะเร็งแต่ละชนิด ทั้งนี้ ไม่รวมการคัดกรองเบื้องต้น (screening) หรือการศึกษาวิจัย
3.2 การรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคมะเร็ง ภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา รวมถึงโรคร่วมที่พบในการรักษาโรคมะเร็งครั้งนั้น
3.3 การตรวจเพื่อติดตามผลการรักษา (Follow up) ภายหลังการรักษาโรคมะเร็ง และโรคร่วมที่พบในการรับการรักษาโรคมะเร็งครั้งนั้น
กรณีผู้มีสิทธิบัตรทอง ที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง แต่มีอาการหรือสงสัยว่าจะเป็น สามารถขอรับคำปรึกษาหรือคัดกรองเบื้องต้น ได้ที่หน่วยบริการประจำใกล้บ้านตามระบบปกติ
ผู้ป่วยเก่า และ ผู้ป่วยใหม่
จำแนกผู้ป่วย เป็น 2 แบบ คือ ผู้ป่วยเก่า และ ผู้ป่วยใหม่ เพื่ออธิบายแนวทาง ดังนี้
ผู้ป่วยเก่า
มีทางเลือก 2 ทาง คือ 1) เลือกรักษาที่หน่วยเดิมได้ต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องใช้ใบส่งตัว และ 2) ต้องการย้ายหน่วยบริการ
กรณี 2 จะมีขั้นตอน ต่อมา คือ
2.1 แจ้งความประสงค์กับผู้ประสานงานของหน่วยงานที่รักษาอยู่เดิม
2.2 พิจารณาหาหน่วยใหม่ที่พร้อม ทั้งในแง่บุคคลากร ศักยภาพ และคิวการรักษา ทั้งนี้โดยปรึกษาร่วมกับแพทย์/ทีมงาน
2.3 ประสานงานไปยังหน่วยใหม่ พร้อมกับส่งต่อข้อมูลผู้ป่วย/การรักษา โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว
2.4 เข้ารับบริการ ณ หน่วยใหม่ ได้ เมื่อประสานงานเรียบร้อย
กรณีผู้ป่วยใหม่
เมื่อผู้ป่วยวินิจฉัยแล้วว่าเป็นมะเร็ง จึงปรึกษากับทีมแพทย์เพื่อหาหน่วยบริการรักษาที่เหมาะสม แล้วทำการประสานกับหน่วยบริการที่ต้องการ พร้อมส่งข้อมูล และเข้ารับการรักษาเมื่อประสานงานเรียบร้อย
Cancer Anywhere Application
คือ แอพลิเคชั่นสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ในโครงการ Cancer Anywhere จำเป็นต้องมี เพื่อใช้ดูประวัติการรักษาโรคมะเร็งของผู้ป่วย และใช้ในการส่งต่อประวัติผู้ป่วยในรูปแบบของการสร้าง QR Code และเลข Token เพื่อให้โรงพยาบาลปลายทางใช้ในการเข้าถึงข้อมูลการวินิจฉัยโรคมะเร็ง และประวัติการได้รับการรักษาของผู้ป่วยด้วยวิธีการรักษาต่างๆ ได้แก่ ผ่าตัด เคมีบำบัด รังสีรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อข้อมูลที่ครบถ้วน สะดวก รวดเร็ว ทำให้เกิดการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลปลายทางได้อย่างแม่นยำและลดระยะเวลาการรอคอยการรักษา
สามารถดาวน์โหลด ได้จาก iOS หรือ Android ตามลิงค์ดังนี้
ประโยชน์ที่ผู้ป่วยมะเร็งจะได้รับ
- ผู้ป่วยมะเร็งและญาติผู้ดูแลได้รู้ศักยภาพในการรักษาโรคมะเร็งของโรงพยาบาลล่วงหน้า
- การส่งต่อผู้ป่วยมะเร็งจะทำได้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลาทำใบส่งตัว โดยจะมีเจ้าที่ประสานงานให้
- ผู้ป่วยมะเร็งไม่ต้องเดินทางเพื่อขอประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลต้นสังกัด เนื่องจากมีการใช้ระบบฐานข้อมูลประวัติการรักษาพยาบาล
- ผู้ป่วยมะเร็งทราบว่าเป็นโรคอะไร ระยะไหน รักษาอะไรมาบ้าง เป็นข้อมูลย้อนกลับมาถึงผู้ป่วย
- ผู้ป่วยย้ายหน่วยบริการ ได้สิทธิทันที ไม่ต้องรอ 15 วัน
หน่วยบริการที่รับส่งต่อเฉพาะด้านรังสีรักษาทั่วประเทศ
หน่วยบริการที่รับส่งต่อเฉพาะด้านรังสีรักษาจำนวน 37 แห่ง
- สังกัดโรงเรียนแพทย์ 11 แห่ง
- สังกัดกรมการแพทย์ 9 แห่ง
- สังกัดกระทรวงกลาโหม 2 แห่ง
- สังกัดกระทรวงสาธารณสุข 10 แห่ง
- เอกชน 5 แห่ง
หน่วยบริการ
หน่วยบริการที่รับการส่งต่อ ทั่วประเทศ (จำแนกตามเขตสุขภาพ)
เขต 1 เชียงใหม่ - รพ.มหาราชนครเชียงใหม่, รพ.มะเร็งลำปาง
เขต 2 พิษณุโลก - รพ.พุทธชินราช, รพ.มหาวิทยาลัยนเรศวร, รพ.รังสีรักษาพิษณุโลก
เขต 3 นครสวรรค์ - รพศ.สวรรคประชารักษ์
เขต 4 สระบุรี - รพ.มะเร็งลพบุรี, รพ.มหาวิชราลงกรณ์, รพ.ธรรมศาสตร์
เขต 5 ราชบุรี - รพศ.ราชบุรี, รพ.ท่าฉลอม
เขต 6 ระยอง - รพ.มะเร็งชลบุรี, รพ.พระปกเกล้า จันทบุรี, รพ.แคนเซอร์อลิอันซ์ ศรีราชา, รพ.วิภารามอมตะนคร ชลบุรี
เขต 7 ขอนแก่น - รพ.ศรีนครินทร์, รพศ.ขอนแก่น, รพศ.ร้อยเอ็ด
เขต 8 อุดรธานี - รพ.มะเร็งอุดรธานี, รพศ.สกลนคร
เขต 9 นครราชสีมา - รพศ.มหาราชนครราชสีมา, รพศ.สุรินทร์
เขต 10 อุบลราชธานี - รพ.มะเร็งอุบลราชธานี
เขต 11 สุราษฎร์ธานี - รพ.มะเร็งสุราษฎร์ธานี, รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช
เขต 12 สงขลา - รพ.สงขลานครินทร์
เขต 13 กรุงเทพ - รพ.ศิริราช, รพ.จุฬาฯ, รพ.รามาธิบดี, รพ.ราชวิถี, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, รพ.ภูมิพลอดุลยเดช, รพ.พระมงกุฏเกล้า, รพ.วิชรพยาบาล, รพ.จุฬาภรณ์, รพ.ศูนย์มะเร็งกรุงเทพ, รพ.วัฒโนสถ
รพ.ศิริราช LINK
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
หน่วยประสานงานผู้ป่วยมะเร็ง (Ramathibodi Hospital Cancer Coordinator)
ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ ชั้น 2 โซน F
Tel: 02-200-3633, 02-200-3672 (วันและเวลาราชการ)
รพ.จุฬาภรณ์ LINK
ขั้นตอนการเข้ารักษาผ่านไลน์
- ปรึกษาทางไกล Tele-oncology ทางไลน์รพ.จุฬาภรณ์ โดยแอดไลน์ @chulabhornhospital
- กดเมนู ปรึกษาโรคมะเร็ง
- ส่งเอกสาร
รพ.มหาวชิราลงกรณธัญบุรี LINK
สอบถามเพิ่มเติม
- ไลน์ @mth.canceranywhere
- โทร.02 5461960-6 ต่อ 1004.1006
- มือถือ 081-358-9171
- ในเวลาราชการ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00 น.-16.00 น.
รพ.สงขลา LINK
ติดต่อสอบถาม ศูนย์ประสานผู้ป่วยมะเร็ง รพ.สงขลา 074-338100 ต่อ 1204