ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

รวมงานวิจัย ประเมินผลนโยบายการถ่ายโอน รพ.สต. ไปสู่ อบจ.

รวมงานวิจัย ประเมินผลนโยบายการถ่ายโอน รพ.สต. ไปสู่ อบจ. Thumb HealthServ.net
รวมงานวิจัย ประเมินผลนโยบายการถ่ายโอน รพ.สต. ไปสู่ อบจ. ThumbMobile HealthServ.net

สวรส. เผยแพร่รายงาน โครงการวิจัยประเมินผลนโยบายการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด น่าสนใจสำหรับผู้ที่ติดตามเกี่ยวกับพัฒนาการการบริหาร รพ.สต.

    โครงการวิจัยประเมินผลนโยบายการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด  มีการทำงานในหลายส่วน และ งานวิจัยย่อย   ทั้งนี้ ใน ผลการประเมิน ได้สรุปข้อเสนอไว้เป็นประโยชน์ยิ่ง ตามบทคัดย่อ ที่ได้นำมาเสนอไว้ ณ ที่นี้ 


     
รวมงานวิจัย ประเมินผลนโยบายการถ่ายโอน รพ.สต. ไปสู่ อบจ. HealthServ

                บทคัดย่อ 


               รายงานสรุปภาพรวม

               
มีวัตถุประสงค์เพื่อ

               ส่วนที่ 1 ประเมินการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ว่าได้ดำเนินการภารกิจของตนเพื่อให้การรับโอนเป็นไปตามหลักเกณฑ์การถ่ายโอนฯ ตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) หรือไม่ ผลการดำเนินการเป็นอย่างไร มีจุดแข็ง/จุดอ่อน หรือโอกาส/อุปสรรคขัดข้องอย่างไร และควรปรับปรุงพัฒนาต่อไปอย่างไร

               ส่วนที่ 2 ประเมินสถานะองค์รวมของระบบสุขภาพปฐมภูมิ (โดย รพ.สต. เป็นหน่วยบริการหลักในพื้นที่) ว่า หลังจากได้ถ่ายโอน รพ.สต. ไปสู่ อบจ. แล้ว มีการเปลี่ยนแปลงอะไรหรือไม่ อย่างไร สถานะของระบบโดยรวมเป็นอย่างไร มีจุดแข็ง/จุดอ่อนที่ควรเสริมส่งหรือปรับปรุงเพิ่มเติมอะไรบ้าง แนวทางการพัฒนาในอนาคตควรเป็นอย่างไร และ

               ส่วนที่ 3 ประเมิน 6+1 ชิ้นส่วนหลักของระบบสุขภาพปฐมภูมิ (โดย รพ.สต.) เป็นรายชิ้นส่วนว่าหลังการถ่ายโอนเป็นอย่างไร มีจุดอ่อน/จุดแข็งอะไรบ้างที่ควรปรับปรุงพัฒนาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น และแนวทางพัฒนาในอนาคตควรเป็นอย่างไร


              การวิจัยใช้วิธีวิทยา “การวิจัยผสมผสาน” การศึกษาเชิงคุณภาพ ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) คัดเลือก รพ.สต. จำนวน 32 แห่ง กระจายออกไปใน 8 จังหวัดจาก 4 ภาคของประเทศ และการศึกษาเชิงปริมาณ ได้ใช้วิธีทอดแบบสอบถามไปยังประชากรทั้งหมด (จำนวน รพ.สต. 3,263 แห่ง อบจ. 49 แห่ง และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) 49 แห่ง) ซึ่งก็ได้รับการตอบกลับมาจำนวน 35 อบจ. 35 สสจ. และ 450 รพ.สต. และได้ผ่านการตรวจสอบแล้ว ว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95



 

              ผลการประเมินแบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้

              ส่วนที่ 1 ผลการประเมินความก้าวหน้าในการดำเนินการของ อบจ. ว่าได้ดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การถ่ายโอนฯ ตามประกาศ ก.ก.ถ. หรือไม่ กล่าวคือ ความก้าวหน้าในการจัดตั้งและการดำเนินการด้านโครงสร้างองค์กร พบว่า ทุกจังหวัดได้จัดตั้งเรียบร้อยแล้ว การจัดตั้งกองสาธารณสุขขึ้นใน อบจ. พบว่า อบจ. ทุกแห่งได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ใน 4 กิจกรรม ความก้าวหน้าในการดำเนินการด้านงานบุคคล การรับการถ่ายโอนบุคลากรสมัครใจรับการถ่ายโอนมายัง อบจ. ทุกแห่ง ได้ดำเนินการเรียบร้อย ความก้าวหน้าในการดำเนินการด้านงบประมาณ การเงิน และการบัญชี พบว่า อบจ. ทุกแห่ง ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ใน 4 กิจกรรม ความก้าวหน้าในการดำเนินการด้านการกำกับ ติดตาม และประเมินผล พบว่า หลังการถ่ายโอน 5-6 เดือน อบจ. ไม่สามารถทำการประเมินผลการปฏิบัติได้ครบถ้วน แต่ อบจ. ได้เอาใจใส่โดยได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ รวมถึงมีการกำหนดรอบการประเมินไว้อย่างชัดเจน


              ส่วนที่ 2 ผลการประเมินองค์รวมของระบบบริการปฐมภูมิ ผลการประเมินพบว่า หลังการถ่ายโอนองค์รวมของระบบสุขภาพปฐมภูมิยังคงเหมือนเดิม (เหมือนกับก่อนการถ่ายโอน) และสถานะองค์รวมของระบบสุขภาพปฐมภูมิ พบว่า ในด้านการเปรียบเทียบการบริการระหว่างก่อนโอนและหลังโอน พบว่า ส่วนใหญ่ยังคงเหมือนเดิม


              ส่วนที่ 3 ผลการประเมินชิ้นส่วนหลัก 7 ชิ้นส่วน ผลการประเมินพบว่า

              1) การจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิของ รพ.สต. สรุปได้ว่าตัวแบบและลักษณะการให้บริการส่วนใหญ่ ยังใช้รูปแบบเดิมตามเกณฑ์ของ รพ.สต. ติดดาว

              2) การจัดการกำลังคน พบว่า หลังการถ่ายโอนจำนวนกำลังคนของ รพ.สต. มีกำลังคนเพิ่มขึ้นจากก่อนการถ่ายโอนเฉลี่ย 0.74 คนต่อ รพ.สต.

              3) การจัดการระบบสารสนเทศ พบว่า ส่วนใหญ่การจัดการระบบสารสนเทศยังคงเหมือนกับก่อนการถ่ายโอน

              4) การจัดการยา เวชภัณฑ์ และครุภัณฑ์การแพทย์ พบว่า หลังการถ่ายโอนมาอยู่กับ อบจ. ภาพรวมการจัดการยา เวชภัณฑ์ และครุภัณฑ์การแพทย์ของ รพ.สต. (ร้อยละ 93.75) ยังคงเหมือนเดิม

              5) การจัดการระบบการเงินและงบประมาณ
              พบว่า หลังการถ่ายโอน มีลักษณะเปลี่ยนไป ดังนี้

                            (1) เงินเหมาจ่ายรายหัวจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีสัดส่วนร้อยละ 36 ของรายได้ทั้งหมด

                            (2) รายได้จากเงินอุดหนุนตามขนาดที่ได้รับการจัดสรรเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์การถ่ายโอน มีสัดส่วนร้อยละ 40

                            (3) เงินอุดหนุนเพิ่มเติมจาก อบจ. เฉลี่ยร้อยละ 3

                            (4) เงินอุดหนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ร้อยละ 6

                            (5) เงินค่าเสื่อมราคาร้อยละ 5 และ

                            (6) รายได้อื่น ๆ ร้อยละ 10



              6) การอภิบาลระบบสุขภาพปฐมภูมิ พบว่า หลังการถ่ายโอน มีแนวโน้มว่าระบบสุขภาพปฐมภูมิในส่วนของ อบจ. และส่วนของ สสจ. จะแยกออกจากกัน หากไม่ได้รับการบูรณาการที่เหมาะ ซึ่งทั้ง สสจ. และ อบจ. มีความเห็นตรงกันว่า ควรมีการพัฒนาระบบอภิบาลของชาติให้มีเอกภาพตามหลักการระบบสุขภาพปฐมภูมิ และ

              7) การมีส่วนร่วมของประชาชน พบว่า หลังการถ่ายโอน ผลลัพธ์และผลกระทบต่อประชาชนในด้านบริการต่าง ๆ ของ รพ.สต. ส่วนใหญ่ยังคงเหมือนกับก่อนการถ่ายโอน ประชาชนมีความพึงพอใจมากขึ้น และมีความเชื่อมั่นในการให้บริการของ รพ.สต.

ส่วนต่างๆ ของการวิจัยประเมินผลนโยบายการถ่ายโอน

การวิจัยประเมินผลนโยบายการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วยงานวิจัยหลายส่วน ดังนี้
 

การวิจัยส่วนที่ 3 : โครงการวิจัยย่อยที่ 1 LINK

การวิจัยส่วนที่ 3 : โครงการวิจัยย่อยที่ 1 รวมงานวิจัย ประเมินผลนโยบายการถ่ายโอน รพ.สต. ไปสู่ อบจ.
การวิจัยส่วนที่ 3 : โครงการวิจัยย่อยที่ 1 รวมงานวิจัย ประเมินผลนโยบายการถ่ายโอน รพ.สต. ไปสู่ อบจ.
 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิของ รพ.สต. ที่ได้รับ การถ่ายโอนจากกระทรวงสาธารณสุขไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ในรุ่นปีงบประมาณ 2566 โดย ต้องการทราบว่าหลังจากที่ถ่ายโอนไปแล้ว (1) มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะสำคัญของการจัดบริการไป จากเดิมหรือไม่อย่างไร (2) มีจุดอ่อนและจุดแข็งอย่างไร และ (3) ทางเลือกในการพัฒนา รพ.สต.ให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นควรเป็นอย่างไร จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว คณะวิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมที่ เกี่ยวข้องแล้วได้สรุปกรอบแนวคิดการวิจัยว่าควรใช้กรอบบริการของ รพ.สต. ติดดาว เป็นประเด็น การประเมิน และได้ถอดวัตถุประสงค์การวิจัยออกมาเป็นข้อคำถาม 13 ข้อ สำหรับใช้เป็นโจทย์หรือ คำถามในการแสวงหาคำตอบ

          ในด้านวิธีวิทยาการวิจัย ได้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน แบบ (Exploratory Sequential Design) โดยเริ่มจากการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสำรวจและสัมภาษณ์ เชิงลึก หลังจากนั้นได้สกัดข้อค้นพบสำคัญออกมาตรวจหาความเป็นทั่วไป โดยการทอดแบบสอบถาม ตามระเบียบวิธีเชิงปริมาณ หลังจากได้ข้อค้นพบแล้ว ได้นำผลการค้นพบไปทำการสัมมนาเพื่อ ประมวลความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องอีกครั้ง แล้วจึงนำผลการประมวลทั้งหมดมาทำการอภิปรายผลและ เสนอแนะ พร้อมทั้งสรุปผลการวิจัย  [รายงานฉบับเต็ม pdf]

การวิจัยส่วนที่ 3 : โครงการวิจัยย่อยที่ 2 LINK

การวิจัยส่วนที่ 3 : โครงการวิจัยย่อยที่ 2 รวมงานวิจัย ประเมินผลนโยบายการถ่ายโอน รพ.สต. ไปสู่ อบจ.
การวิจัยส่วนที่ 3 : โครงการวิจัยย่อยที่ 2 รวมงานวิจัย ประเมินผลนโยบายการถ่ายโอน รพ.สต. ไปสู่ อบจ.
 การวิจัยนี้เป็นส่วนที่ 3 : โครงการวิจัยย่อยที่ 2 การจัดการกำลังคนและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนในปีงบประมาณ 2566 ของการวิจัยชุด “โครงการวิจัยประเมินผลนโยบายการถ่ายโอน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)” โครงการวิจัยในส่วนนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อ “ประเมินผลด้านการจัดการบุคคลและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลที่ได้รับการถ่ายโอนจากกระทรวงสาธารณสุขไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด” โดยมุ่งเน้น 1) ผล การเปลี่ยนแปลงด้านกำลังคน อันเนื่องมาจากการถ่ายโอน 2) สถานะปัญหาความขาดแคลนกำลังคน ทักษะ ความสามารถ และขวัญกำลังใจของกำลังคน 3) ปัญหาอุปสรรค หรือจุดแข็งจุดอ่อนของระบบการจัดการและ การพัฒนากำลังคน และ 4) แนวทางพัฒนากำลังคน [รายงานฉบับเต็ม pdf]

การวิจัยส่วนที่ 3 : โครงการวิจัยย่อยที่ 3 LINK

การวิจัยส่วนที่ 3 : โครงการวิจัยย่อยที่ 3 รวมงานวิจัย ประเมินผลนโยบายการถ่ายโอน รพ.สต. ไปสู่ อบจ.
การวิจัยส่วนที่ 3 : โครงการวิจัยย่อยที่ 3 รวมงานวิจัย ประเมินผลนโยบายการถ่ายโอน รพ.สต. ไปสู่ อบจ.
โครงการวิจัยในส่วนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ “ประเมินผลด้านระบบข้อมูล/สารสนเทศของโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ได้รับการถ่ายโอนจากกระทรวงสาธารณสุขไปสู่องค์การบริหารส่วนจังหวัด” โดยมุ่ง ศึกษา การเปลี่ยนแปลงสังกัดของ รพ.สต. ที่ถ่ายโอนไปสู่ อบจ. ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบข้อมูลและ สารสนเทศได้บ้างหรือไม่ อย่างไร และประเมินผลความพร้อมและประสิทธิภาพของระบบข้อมูลและ สารสนเทศของ รพ.สต. ในการสนับสนุนการให้บริการแก่ประชาชน ภายหลังจากการถ่ายโอนไปสู่ อบจ

        ผลจากการทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมา เพื่อให้ทราบว่าระบบข้อมูล/สารสนเทศของ รพ.สต. ที่ถ่าย โอนไปสู่ อบจ. มีสถานภาพเป็นอย่างไร เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ ผู้วิจัยได้พิจารณานำหลักเกณฑ์การ ประเมินคุณภาพตามมาตรฐาน รพ.สต. ติดดาว (เฉพาะส่วนที่ว่าด้วยระบบข้อมูลสารสนเทศ)มาประกอบการ ประเมินด้วย โดยเสนอกรอบแนวคิดการวิจัยในลักษณะโจทย์การวิจัย 5 ข้อ ดังนี้ดังจะกล่าวแต่ละข้อในผล การค้นพบ

         ในด้านวิธีวิทยาการวิจัย คณะวิจัยได้เลือกใช้วิธีวิจัยการประเมินผล โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสำรวจเชิงรุกร่วมไปกับการสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์ตรงในการผลิตข้อมูลนั้น หลังจากนั้นได้ทำการวิเคราะห์และตีความเพื่อตอบโจทย์การวิจัย จาก 32 รพ.สต. ใน 8 จังหวัด 4 ภาค   [รายงานฉบับเต็ม pdf]

การวิจัยส่วนที่ 3 : โครงการวิจัยย่อยที่ 5 LINK

การวิจัยส่วนที่ 3 : โครงการวิจัยย่อยที่ 5 รวมงานวิจัย ประเมินผลนโยบายการถ่ายโอน รพ.สต. ไปสู่ อบจ.
การวิจัยส่วนที่ 3 : โครงการวิจัยย่อยที่ 5 รวมงานวิจัย ประเมินผลนโยบายการถ่ายโอน รพ.สต. ไปสู่ อบจ.
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อการประเมินสถานะทางการเงิน/งบประมาณของ รพ.สต. ที่ได้รับการถ่ายโอน (2) เพื่อเปรียบเทียบสถานะทางการเงินของ รพ.สต. ระหว่างก่อนการถ่ายโอนและหลังการ ถ่ายโอนว่าเป็นอย่างไร (ดีขึ้นหรือแย่ลง) (3) เพื่อประเมินสถานะระบบการเงินของ รพ.สต. หลังการถ่ายโอน ว่ามีความสอดคล้องกับภารกิจความรับผิดชอบของ รพ.สต. หรือไม่ (4) เพื่อประเมินสถานะทางด้านโอกาสและ ปัญหาอุปสรรคทางด้านการเงินของ รพ.สต. ในปัจจุบัน (ณ 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566) และ (5) เพื่อ ประเมินสถานะทางการเงินของ รพ.สต. ในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ด้าน สาธารณสุข หรือไม่นั้น

         คณะวิจัยจึงได้มีการทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วย แนวคิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในมิติ สุขภาพ แนวคิดของ WHO ในการขับเคลื่อนสู่สุขภาวะโดยยุทธศาสตร์สุขภาพปฐมภูมิแนวคิดของ WHO ในการขับเคลื่อนการเงินเพื่อสุขภาพ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

         ผลของการทบทวนวรรณกรรมนำไปสู่โจทย์คำถามในการวิจัย 5 ข้อ คือ (1) โครงสร้างรายได้ของ รพ.สต. ทั้งก่อนและหลังการถ่ายโอนเป็นอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร และมีข้อเสนอแนะอย่างไรบ้าง (2) โครงสร้างรายจ่ายของ รพ.สต. ทั้งก่อนและหลังการถ่ายโอนเป็นอย่างไร เม็ดเงินส่วนใหญ่ถูกจ่ายไปในทางใด (3) ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อหัวของ รพ.สต. เป็นอย่างไร (4) โอกาสและปัญหาอุปสรรคทางด้านการเงินของ รพ.สต. เป็นอย่างไร และหาแนวทางในการพัฒนารายได้และการจัดการรายได้ของ รพ.สต. ควรเป็นอย่างไร   [รายงานฉบับเต็ม pdf]

         ส่วนวิธีวิทยาการวิจัย คณะวิจัยได้เลือกใช้วิธีการวิจัยประเมินผลแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) โดยขั้นตอนแรกใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจเชิงลึกของ เหตุการณ์และครอบคลุมประเด็นที่ต้องการประเมิน หลังจากนั้นนำข้อมูลการวิเคราะห์ถอดรหัสสำคัญ แล้ว อธิบายเรื่องราวการค้นพบ พร้อมทั้งถอดข้อค้นพบที่สำคัญออกมา เพื่อตรวจสอบความเป็นทั่วไปของข้อมูลนั้น ให้ชัดเจนขึ้น โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด