ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

4 จังหวัดพร้อมใช้ บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ 8 มกราคม 2567 ทุกสิทธิ

4 จังหวัดพร้อมใช้ บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ 8 มกราคม 2567 ทุกสิทธิ HealthServ.net
4 จังหวัดพร้อมใช้ บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ 8 มกราคม 2567 ทุกสิทธิ ThumbMobile HealthServ.net

สธ.ประกาศเริ่มต้นโครงการนำร่องการใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ ระยะที่ 1 ในต้นเดือนมกราคม 2567 นี้ 4 จังหวัด คือ แพร่ เพชรบุรี ร้อยเอ็ด และนราธิวาส สามารถใช้ได้ทุกสิทธิการรักษาทั้งโรงพยาบาลรัฐทุกสังกัด โรงพยาบาลเอกชน คลินิกและร้านยาที่เข้าร่วมโครงการ


 
         24 พฤศจิกายน  2566 ที่ โรงแรม ดิเอมเมอรัลด์ กรุงเทพมหานคร นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานการประชุมระดับชาติด้านเวชสารสนเทศ ครั้งที่ 12 และการประชุมวิชาการสมาคมเวชสารสนเทศไทย ครั้งที่ 32 ประจำปี พ.ศ. 2566 ภายใต้แนวคิด “สุขภาพดิจิทัลเพื่อชาวไทย คลื่นลูกใหม่ของการขยายบริการสุขภาพถ้วนหน้า” ว่า เรื่องดิจิทัลสุขภาพ เป็น 1 ในนโยบายกระทรวงสาธารณสุขที่ตอบสนองนโยบายยกระดับ 30 บาท เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนของรัฐบาล ถือเป็นหัวใจหลักในการพัฒนาระบบบริการให้ประชาชนเข้าถึงได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ครอบคลุมมิติด้านสุขภาพ ทั้งการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งงานเวชสารสนเทศจะมีส่วนช่วยให้สามารถนำข้อมูลทางสุขภาพมาใช้วางแผนการจัดการและปรับปรุงบริการสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ การเข้ารับการรักษาด้วยบัตรประชาชนใบเดียว โดยเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพจากหน่วยบริการทุกระดับ ทั้งภาครัฐและเอกชน การดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน การจัดทำ Home Ward หรือสถานชีวาภิบาล เพื่อรองรับความต้องการบริการจากการเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มรูปแบบของประเทศไทย เป็นต้น
 
          โดยกระทรวงสาธารณสุข จะประกาศนำร่องการใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ ระยะที่ 1 ในวันที่ 8 มกราคม 2567  ใน 4 จังหวัดนำร่องที่ผ่านการคัดเลือก คือแพร่ เพชรบุรี ร้อยเอ็ด และนราธิวาส  ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ หรือซุปเปอร์บอร์ดระบบสุขภาพ ที่มีนายกฯ เป็นประธาน 

           ประชาชนสามารถใช้ได้ทุกสิทธิการรักษาทั้งโรงพยาบาลรัฐทุกสังกัด โรงพยาบาลเอกชน คลินิกและร้านยาที่เข้าร่วมโครงการ 

         

           ส่วน เดือนเมษายน 2567 ทุกจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 1, 4, 9 และ 12 จะสามารถใช้บัตรประชาชนใบเดียวรับบริการในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้ทุกแห่ง และจะขยายผลครอบคลุมทั้งประเทศให้ได้ภายใน 1 ปี


 

ขอบเขตบริการ 5 บริการ


           สำหรับการให้บริการที่จะเริ่มนำร่อง ตามมติของคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ มีทั้งหมด 5 บริการ ประกอบด้วย
 
  1. การใช้บัตรประชาชนใบเดียวในการรับบริการได้ทุกที่ โดยไม่ต้องใช้ใบส่งตัว ด้วยปัจจุบันเทคโนโลยีสามารถเชื่อมโยงข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ การเขียนใบส่งตัวจึงไม่จำเป็น ซึ่งขณะนี้ สปสช. อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมของระบบข้อมูล และคาดว่าจะแล้วเสร็จเร็วๆ นี้
  2. การรักษามะเร็งครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเด็ก การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม หากตรวจพบก็จะถูกส่งต่อเข้ารับการรักษาต่อไป
  3. การเข้าถึงบริการในเขตเมือง โดยเฉพาะ กทม. โดยได้ทยอยเพิ่มหน่วยบริการ เช่น แขวงทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง ซึ่งเป็นจุดที่หน่วยบริการยังมีน้อย รวมทั้งการประสานร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยเชิญเอกชนเข้ามาร่วมให้บริการมากขึ้น ทั้งร้านยา แล็บเอกชน คลินิกทันตกรรม คลินิกกายภาพบำบัด คลินิกพยาบาล
  4. สถานชีวาภิบาล หรือการดูแลระยะสุดท้าย ซึ่งเดิมจะดูแลในโรงพยาบาล แต่พบว่ามีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ประสงค์อยากกลับไปพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน ซึ่งการดูแลระยะท้ายจะต้องดูแลโดยมีหลักวิชาการ ทั้งด้านแพทยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยจะบูรณาการความร่วมมือทั้งหน่วยงานทางสังคม เช่น วัดในชุมชน ร่วมกับโรงพยาบาล
  5. การดูแลสุขภาพจิต ซึ่งจะมีการพัฒนาและขับเคลื่อนลงไปในระดับชุมชน ขณะเดียวกัน สปสช. มีสายด่วน 1330 อยู่เดิม ซึ่งเป็นตัวกลางในการประสานงาน รวมทั้งมีช่องทางเฟซบุ๊ก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ Line OA สปสช.


เก็บข้อมูลใช้งาน พัฒนาต่อ


           ผลจากการนำร่องของ 4 จังหวัดแรก ได้สะท้อนข้อมูลจากของประชาชนที่มาใช้บริการ อาทิ ความสะดวกของประชาชน พฤติกรรม และค่าใช้จ่ายต่างๆ ทำให้การนำร่องในระยะที่ 2 มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติคาดว่า ระบบข้อมูลทั้งระบบต้องเสร็จสมบูรณ์ภายใน 1 ปี โดยจะเกิดการเชื่อมต่อข้อมูลแบบไร้รอยต่อทุกสังกัด บัตรประชาชนใบเดียวสามารถรักษาได้ทุกที่และทั่วประเทศ ขณะที่สิทธิการรักษาอื่นๆ ทั้งประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการ จะมีการหารือกับสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกรมบัญชีกลางให้พิจารณาต่อไป
 
           “นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับระบบการดูแลด้านสุขภาพเพื่อประชาชนทุกคน เชื่อว่าหลักประกันสุขภาพเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้ประชาชน และต้องการบริหาร พัฒนาการบริการให้มีศักยภาพมากขึ้น ครอบคลุม เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ใช้บัตรประชาชนใบเดียวแต่สามารถรักษาทุกโรค โดยนายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่าจะพัฒนานโยบายนี้ให้สำเร็จต่อยอดอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อความมั่นคงทางสุขภาพของพี่น้องประชาชนชาวไทย” นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ข้อมูลไว้ 

 

*ภาพและข้อมูลจากไทยรัฐ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด