ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ศูนย์ชีวาภิบาล สถานชีวาภิบาลชุมชน กุฏิชีวาภิบาล

ศูนย์ชีวาภิบาล สถานชีวาภิบาลชุมชน กุฏิชีวาภิบาล Thumb HealthServ.net
ศูนย์ชีวาภิบาล สถานชีวาภิบาลชุมชน กุฏิชีวาภิบาล ThumbMobile HealthServ.net

การจัดตั้งสถานชีวาภิบาล เป็นหนึ่งในนโยบายมุ่งเน้น เพื่อการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ป่วยระยะท้าย รวมถึงผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียง ให้ได้รับการดูแลอย่างเป็นองค์รวมครอบคลุมทั้ง 4 มิติคือ กาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ อย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่บ้าน ชุมชน โดยไม่ถูกทอดทิ้งไว้เพียงลำพัง ลูกหลานสามารถทำมาหาเลี้ยงชีพได้ตามปกติ อันเป็นการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยนับจนวาระสุดท้ายของชีวิต

    ชีวาภิบาล เป็นคำสมาสสองคำ "ชีวา" ชีวิต กับ "อภิบาล" คือการบำรงุ ดูแลอย่างรอบด้าน  ชีวาภิบาล จึงหมายถึง การบำรุงดูแลชีวิต 

    กระทรวงสาธารณสุข  ดำเนินนโยบายสถานชีวาภิบาล  มีวัตถุประสงค์  เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ต้องการดูแลแบบพึ่งพิงและครอบครัว ซี่งประกอบไปด้วย ผู้สูงอายุระยะพึ่งพิง ผู้ป่วยระยะท้าย ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ครอบคลุมทั้ง 4 มิติคือ กาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ โดยเชื่อมโยงการดูแลตั้งแต่ในโรงพยาบาลจนถึงชุมชนและ/หรือบ้าน

      สถานชีวาภิบาล แบ่งเป็น 2 ระดับ  ตามคู่มือกระทรวงสาธารณสุข  ได้แก่ ระบบชีวาภิบาล โดย 
     1) ศูนย์ชีวาภิบาลในโรงพยาบาล
      2) สถานชีวาภิบาลในชุมชน  

        กุฏิชีวาบาล  (Palliative Care Kuti) แปลว่าที่พํานักดูแลรักษาคุณภาพชีวิตสมณสงฆ์  เพื่อดูแลเยียวยาสมณสงฆ์อาพาธแบบประคับประคอง [กุฏิชีวาบาล@ทั่วไทย] จัดอยู่ในกลุ่ม สถานชีวาภิบาลในชุมชน ที่ให้การดูแลนอกสถานพยาบาลในระดับชุมชน



       สถานชีวาภิบาล เป็นการบูรณาการระบบการดูแลแบบประคับประคอง/ระยะท้าย (Palliative Care - PC) ระบบการดูแล ผู้สูงอายุ (Elderly Care - EC) ระบบการดูแลระยะยาว (Long-Term Care - LTC) ผ่านทางงานตติยภูมิ ทุติยภูมิและงานปฐมภูมิ ลงสู่กลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งจัดระบบบริการดูแลที่บ้าน (Home care และ Home ward) และชุมชน โดยเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายบริการ


คำนิยาม ที่ควรทราบ 

      LTC = Long-Term Care
      PC = Palliative Care
      ADL = Barthel Activities of Daily Living (ที่มา; คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2559)
      PPS = Palliative care performance scale


      นิยามเหล่านี้ จะใช้ประกอบการจำแนกกลุ่มเป้าหมาย การดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยสูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม 

กลุ่มเป้าหมาย


ผู้สูงอายุติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ป่วยระยะท้ายทุกกลุ่มวัย ที่ ADL ต่ำกว่า/เท่ากับ 11 หรือ PPS ต่ำกว่า/เท่ากับ 50%


กลุ่ม 1
เคลื่อนไหวได้บ้าง และอาจมีปัญหาการ กินหรือการขับถ่าย ไม่มีภาวะสับสนทาง สมองหรือผู้ป่วย ระยะประคับประคอง มี PPS = 50%
  • ADL 5 - 11 คะแนน
  • LTC - ติดบ้าน
  • LTC Home care หรือ สถานชีวาภิบาล 


กลุ่ม 2
เคลื่อนไหวได้บ้าง และ อาจมีปัญหา การกิน หรือการขับถ่ายและมี ภาวะสับสนทางสมอง หรือมีภาวะสมองเสื่อม ระดับปานกลางขึ้นไป
  • ADL 5 - 11 คะแนน
  • LTC - ติดบ้าน
  • LTC Home care หรือ สถานชีวาภิบาล 


กลุ่ม 3
เคลื่อนไหวเองไม่ได้ อาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่ายหรือมี อาการเจ็บป่วยรุนแรง แต่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน หรือผู้ป่วยระยะ ประคับประคองมี PPS = 40%
  • ADL 5 - 11 คะแนน
  • LTC - ติดเตียง
  • LTC Home care หรือ สถานชีวาภิบาล 


กลุ่ม 4.1
เคลื่อนไหวเองไม่ได้ เจ็บป่วยรุนแรง หรือ อยู่ในระยะท้ายของ ชีวิต (ระยะเวลารอด ชีวิต ~ 6-12 เดือน) หรือผู้ป่วยระยะ ประคับประคองมี PPS = 30%
  • ADL 0 - 4 คะแนน
  • PC – end of life
  • PC Home care หรือ สถานชีวาภิบาล


กลุ่ม 4.2
เคลื่อนไหวเองไม่ได้ กลืนไม่ได้ ซึม อยู่ใน ระยะกำลังจะเสียชีวิต อาจมีอาการไม่สุขสบาย เช่น ปวด หอบเหนื่อย สับสน (ระยะเวลารอด ชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์) หรือผู้ป่วยระยะ ประคับประคองมี PPS น้อยกว่า 30%
  • ADL 0 - 4 คะแนน
  • PC - dying
  • PC Home ward หรือ สถานชีวาภิบาล



แผนภูมิระบบชีวาภิบาล

 

คำจำกัดความ

คำจำกัดความสถานชีวาภิบาล มี 2 ระดับ ได้แก่

          1. ศูนย์ชีวาภิบาลในโรงพยาบาลหมายถึง ศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างระบบชีวาภิบาลในโรงพยาบาล โดยบูรณาการระบบริการดูแลผู้สูงอายุ (Elderly Care) การดูแลระยะยาว (Long-Term Care) การดูแล ประคับประคอง/ระยะท้าย (Palliative Care) และเชื่อมโยงระบบบริการปฐมภูมิ (Primary Health Care) ตั้งแต่ การดูแลในโรงพยาบาลจนถึงบ้าน/ชุมชน

          2. สถานชีวาภิบาลในชุมชน หมายถึง สถานที่ให้การดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง และการดูแลประคับประคอง/ ระยะท้าย (Long-Term Care and Palliative Care facility) ที่อยู่ในชุมชน มีมาตรฐานด้านสถานที่ ด้านความปลอดภัย และด้านบริการตามมาตรฐานของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือ กรมอนามัย หรือ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับ ดูแล

          ทั้งนี้อาจแบ่งรูปแบบการให้บริการ เป็น 2 ประเภท ได้แก่
          1) บริการระหว่างวัน โดยไม่พักค้างคืน (day care)
          2) บริการโดยให้พักค้างคืน


           อาจเป็นสถานประกอบการของรัฐ ท้องถิ่น เอกชน องค์กรศาสนาหรือองค์กรอื่นๆ โดยสถานชีวาภิบาล ควรได้รับการรับรองจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือ กรมอนามัย หรือ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแล มีศักยภาพการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง ผู้ป่วยระยะประคับประคอง/ระยะท้าย และ/หรือ มีระบบบริหารจัดการผู้ดูแล (caregiver) สำหรับผู้ที่ต้องการ การดูแลที่บ้านได้(Home care) ทั้งนี้เพื่อแบ่งเบาภาระครอบครัว โดยมีกลไกการกำกับดูแลโดยกรมสนับสนุน บริการสุขภาพ หรือ กรมอนามัย หรือ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแล

 

เส้นทางการรักษาของผู้ป่วยในระบบชีวาภิบาล

1. ศูนย์ชีวาภิบาลในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป

1. ศูนย์ชีวาภิบาลในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป
 
1.1 องค์ประกอบ
1) เป็นหน่วยงานในโรงพยาบาล มีการกำหนดผู้รับผิดชอบเป็นหัวหน้าศูนย์ชีวาภิบาล มีพยาบาล/หรือ
สหสาขาวิชาชีพ เป็นผู้ประสานงาน ที่ชัดเจน
2) มีทีมบุคลากร ด้านการดูแลประคับประคอง (Palliative Care) โดยมีแพทย์ปฏิบัติงานด้านการดูแล
ประคับประคอง เป็นหัวหน้าทีม มีพยาบาล Palliative Care nurse เภสัชกร และทีมสหสาขาวิชาชีพ
3) มีทีมบุคลากร ด้านการดูแลผู้สูงอายุ (Elderly Care) โดยแพทย์ พยาบาล และสหวิชาชีพ ที่ผ่าน
การอบรมด้านการดูแลผู้สูงอายุ
4) มีทีมบุคลากรปฐมภูมิ ที่มีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยระยะยาว (Long-Term Care) โดยมี
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นหัวหน้าทีม มีพยาบาลชุมชน และทีมสหวิชาชีพ
5) มีเภสัชกรร่วมทีม
6) มีระบบบริการ และระบบให้คำปรึกษาแก่เครือข่าย รวมถึงระบบจัดการยา/เวชภัณฑ์/คลังอุปกรณ์
เพื่อสนับสนุนการดูแลที่บ้านหรือชุมชน


1.2 บทบาทหน้าที่

หัวหน้า ศูนย์ชีวาภิบาล
1) กำกับดูแลให้เกิดการบูรณาการการวางแผนการดูแลผู้ป่วย ระบบบริการดูแลผู้สูงอายุ (Elderly Care) การดูแลระยะยาว (Long-Term Care) การดูแลประคับประคอง/ ระยะท้าย (Palliative Care) และระบบบริการปฐมภูมิ (Primary Health Care) ตั้งแต่การดูแลในโรงพยาบาลจนถึงบ้าน/ชุมชน อย่างมีคุณภาพ
2) จัดระบบบริการ และระบบให้คำปรึกษาแก่เครือข่าย รวมถึงระบบบริหารจัดการยา อนุพันธ์ฝิ่น (opioid) ในระบบ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถได้รับยาที่บ้าน/สถานชีวาภิบาลได้
3) จัดให้มีระบบฐานข้อมูลผู้ป่วยของเครือข่ายระบบชีวาภิบาล


พยาบาล ผู้ประสานงาน ศูนย์ชีวาภิบาล

1) ประสานการดูแลให้เกิดการบูรณาการในระดับ โรงพยาบาล ถึง ระดับชุมชน
2) จัดการฐานข้อมูลผู้ป่วยในเครือข่ายบริการ


ทีมดูแล ประคับประคอง

1) ให้การวินิจฉัยผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ระยะประคับประคอง/ระยะท้าย (ICD 10-Z51.5) ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก
2) ทำการประเมิน และ จัดทำแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance care planning; ICD 10- Z71.8)
3) ให้การดูแลตามมาตรฐาน (physical, psychosocial, spiritual care) และพิจารณา เพื่อส่งกลับไปดูแลที่บ้าน หรือ สถานชีวาภิบาลในชุมชน
4) ส่งต่อข้อมูลการดูแลให้ทีมปฐมภูมิ เพื่อวางแผนการดูแลต่อเนื่อง
5) เป็นที่ปรึกษาให้กับเครือข่าย ในกรณี ผู้ป่วย Palliative Care ที่รับการดูแลที่บ้าน หรือ สถานชีวาภิบาล ต้องการการดูแลที่ซับซ้อน
6) ฝึกอบรมบุคลากรในเครือข่ายให้มีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคอง/ ระยะท้าย


ทีมดูแลผู้สูงอายุ

1) คัดกรองผู้สูงอายุทั้งผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก และผู้สูงอายุในชุมชน ที่ต้องการการดูแล ระยะยาว ตามเกณฑ์
2) พิจารณาวางแผนการดูแลผู้ป่วยใน เพื่อส่งกลับไปดูแลที่บ้าน หรือ สถานชีวาภิบาลในชุมชน
3) ส่งต่อข้อมูลการดูแลให้ทีมปฐมภูมิ เพื่อวางแผนการดูแลต่อเนื่อง
4) ฝึกอบรมบุคลากรในเครือข่ายให้มีศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุ


ทีมปฐมภูมิ
1) ประสานเครือข่ายบริการปฐมภูมิเพื่อส่งต่อการดูแลที่บ้าน และสถานชีวาภิบาลในชุมชน
2) จัดบริการคลินิกหมอครอบครัว
3) เยี่ยมดูแลที่บ้าน (LTC & PC home care), บริการPC Home ward หรือที่สถานชีวาภิบาล หรือส่งต่อการดูแลไปยังเครือข่ายตามบริบทพื้นที่
 

2. ศูนย์ชีวาภิบาลในชุมชน

2.1 องค์ประกอบ

1) เป็นหน่วยงานในโรงพยาบาล มีการกำหนดผู้รับผิดชอบเป็นหัวหน้าศูนย์ชีวาภิบาล มีพยาบาล ผู้ประสานงาน ที่ชัดเจน

2) มีทีมบุคลากรสหวิชาชีพที่มีศักยภาพ ด้านการดูแลประคับประคอง (Palliative Care) ด้านการดูแล ผู้สูงอายุ (Elderly Care) การดูแลระยะยาว (Long-Term Care) และบริการปฐมภูมิโดยเป็นแม่ข่าย การดูแลที่บ้านและชุมชน

3) มีระบบบริการ และระบบให้คำปรึกษาแก่เครือข่าย รวมถึงระบบจัดการยา/เวชภัณฑ์/คลังอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการดูแลที่บ้านหรือชุมชน



2.2 บทบาทหน้าที่

หัวหน้าศูนย์ชีวาภิบาล

1) กำกับดูแลให้เกิดการบูรณาการการดูแลผู้ป่วยระบบริการดูแลผู้สูงอายุ (Elderly Care) การดูแลระยะยาว (Long-Term Care) การดูแลประคับประคอง/ระยะท้าย (Palliative Care) และระบบบริการปฐมภูมิ (Primary Health Care) ตั้งแต่ การดูแลในโรงพยาบาลจนถึงบ้าน/ชุมชน อย่างมีคุณภาพ
2) จัดระบบบริการดูแลที่บ้าน/ชุมชน/สถานชีวาภิบาล และระบบให้คำปรึกษา แก่เครือข่ายปฐมภูมิ


พยาบาล ผู้ประสานงาน ศูนย์ชีวาภิบาล
1) ประสานการดูแลให้เกิดการบูรณาการในระดับโรงพยาบาล ถึง ระดับชุมชน ประสานงานกับ รพศ./รพท. และ เครือข่ายปฐมภูมิในชุมชน
2) จัดการฐานข้อมูลผู้ป่วยในเครือข่ายบริการ


ทีมปฐมภูมิ
1) รับส่งต่อผู้ป่วย LTC และ PC จาก รพศ./รพท. เพื่อเข้ารับบริการแบบผู้ป่วยใน หรือ เพื่อรับบริการที่บ้านหรือชุมชนหรือสถานชีวาภิบาล
2) ให้การวินิจฉัยผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์PC และ/หรือ LTC ในชุมชน (กรณีพบผู้ป่วย เข้าเกณฑ์ในโรงพยาบาล หรือ คัดกรองพบผู้ป่วยในชุมชน)
3) ทำการประเมิน และ/หรือยืนยัน จัดทำแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance care planning) หรือ Care Plan
4) ให้การดูแลตามมาตรฐาน (physical, psychosocial, spiritual care) และ พิจารณาเพื่อส่งกลับไปดูแลที่บ้าน หรือ สถานชีวาภิบาลในชุมชน
5) จัดบริการคลินิกหมอครอบครัว
6) ร่วมกับทีมปฐมภูมิในพื้นที่ เยี่ยมดูแลที่บ้าน (LTC & PC Home care) บริการ PC Home ward หรือที่สถานชีวาภิบาล หรือส่งต่อการดูแลไปยังเครือข่ายตามบริบทของพื้นที่
7) เป็นแม่ข่ายการดูแลที่บ้าน และชุมชน แก่ทีมปฐมภูมิในพื้นที่
8) ฝึกอบรมบุคลากรในเครือข่าย



3. บริการ Home care

บริการ Home care ­ คือ
  • บริการเยี่ยมดูแลที่บ้านโดยทีมสุขภาพจากหน่วยบริการ โดยรายละเอียดการดูแลแตกต่างกันไป ตามแผนการดูแล ซึ่งเป็นไปตามสภาวะผู้ป่วย ประกอบด้วย การดูแลที่บ้านกรณีผู้ป่วย LTC และ กรณี ผู้ป่วย PC ตามมาตรฐานบริการ ­
  • มีการเบิกค่าชดเชยบริการ จาก สปสช. ได้ตามเกณฑ์

4. บริการคลินิกผู้สูงอายุ

บริการคลินิกผู้สูงอายุ ­
  • จัดบริการคลินิกผู้สูงอายุตามมาตรฐาน ­
  • การให้บริการในโรงพยาบาล มีการประเมินสุขภาพผู้สูงอายุแบบครบวงจร (Compressive Geriatric Assessment; CGA) ­
  • การวินิจฉัยเพื่อการดูแลบำบัดรักษาในกลุ่มอาการและปัญหาสุขภาพที่สำคัญในผู้สูงอายุ ­
  • การจัดทำแผนการดูแลต่อเนื่องในชุมชน ­
  • รองรับการส่งต่อเพื่อการดูแลบำบัดรักษาจากการคัดกรองสุขภาพในชุมชน 

5. บริการ Home ward / Hospital at home โดยทีมสุขภาพ

บริการ Home ward / Hospital at home โดยทีมสุขภาพ ­
  • คือ บริการดูแลผู้ป่วยที่บ้านเหมือนเป็นหอผู้ป่วย โดยจัดบริการโดยโรงพยาบาล ร่วมกับทีมปฐมภูมิ ทั้งนี้รายละเอียดบริการเป็นไปตามคู่มือการดูแล Home ward กรมการแพทย์(Home ward สำหรับ ผู้ป่วยระยะท้าย ได้แก่ Home ward for active dying patients) ­
  • มีการเบิกค่าชดเชยบริการ จาก สปสช. ได้ตามเกณฑ์ 

6. สถานชีวาภิบาลในชุมชน

สถานชีวาภิบาลในชุมชน ­
  • สถานชีวาภิบาลในชุมชน เป็นสถานที่ให้บริการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง และการดูแลประคับประคอง/ ระยะท้าย (Long-Term Care and Palliative Care facility) นอกสถานพยาบาล ให้การดูแลในระดับ ชุมชน แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
    1) สถานชีวาภิบาล สำหรับองค์กรพระพุทธศาสนา (กุฏิชีวาภิบาล กุฏิชีวาบาล กุฏิสงฆ์อาพาธ-สถาน ชีวาภิบาล ฯลฯ)
    2) สถานชีวาภิบาล ที่ดำเนินการโดยองค์กรศาสนาอื่นๆ ท้องถิ่น ภาคประชาสังคม องค์กรเอกชน ที่ไม่แสวงหากำไร
    3) สถานชีวาภิบาล ในสังกัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
    4) สถานชีวาภิบาลเอกชน ได้แก่ สถานประกอบการดูแลผู้สูงอายุ (nursing home เป็นต้น) ­
  • เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงบริการชีวาภิบาลกับหน่วยบริการของรัฐ ­
  • มาตรฐานด้านสถานที่ ความปลอดภัย การบริการ และบุคลากร เป็นไปตามมาตรฐานโดยองค์กรที่มี หน้าที่ในการกำกับดูแล

7. ผู้ดูแล (caregiver/ care community)

ผู้ดูแล (caregiver/ care community) ­
  • ผู้ดูแลในระบบชีวาภิบาล หมายถึง ผู้ที่ให้การดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง หรือผู้ป่วยระยะท้าย ในสถานชีวาภิบาล ในชุมชน หรือ บ้าน ­
  • ผู้ดูแลต้องได้รับการอบรมให้มีศักยภาพตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ของกรมอนามัย หรือ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์


รูปแบบบริการ

1. บริการผู้ป่วยใน (Inpatient service) ­
  • In-patient palliative care services: ระบบรับปรึกษา Palliative Care หอผู้ป่วย Palliative Care ในโรงพยาบาล ­
  • In-patient elderly care services

2. บริการผู้ป่วยนอก (Outpatient service) และบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ­
  • คลินิก Palliative Care ­
  • คลินิกผู้สูงอายุ ­
  • คลินิกหมอครอบครัว

3. บริการดูแลที่บ้าน หรือที่สถานชีวาภิบาลในชุมชน ­
  • LTC Home care (บริการที่บ้าน หรือ สถานชีวาภิบาลในชุมชน) ­
  • PC Home care และ PC Home ward (บริการที่บ้าน หรือ สถานชีวาภิบาลในชุมชน)
 
อ้างอิง
  • คู่มือดำเนินการตามนโยบายสถานชีวาภิบาล กระทรวงสาธารณสุข
  • กุฏิชีวาบาล@ทั่วไทย สมุดปกขาว (Whitepaper) ภูริวฑฺฒโนภิกฺข

หัวข้อข่าว ชีวาภิบาล

 

จัดตั้ง กุฏิชีวาภิบาล ทุกอำเภอ ดูแลสุขภาพพระสงฆ์ 7.2 หมื่นรูป LINK

จัดตั้ง กุฏิชีวาภิบาล ทุกอำเภอ ดูแลสุขภาพพระสงฆ์ 7.2 หมื่นรูป ศูนย์ชีวาภิบาล สถานชีวาภิบาลชุมชน กุฏิชีวาภิบาล
จัดตั้ง กุฏิชีวาภิบาล ทุกอำเภอ ดูแลสุขภาพพระสงฆ์ 7.2 หมื่นรูป ศูนย์ชีวาภิบาล สถานชีวาภิบาลชุมชน กุฏิชีวาภิบาล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หารือร่วมกับ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ เดินหน้าดูแลส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ หลังพบยังอาพาธด้วยโรคไม่ติดเรื้อรังสูง เตรียมจัดโครงการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ 72,000 รูป เทิดพระเกียรติในหลวง 72 พรรษา จัดตั้งกุฏิชีวาภิบาลอำเภอละ 1 แห่ง อบรมพระคิลานุปัฏฐาก 420 ชั่วโมง เป็น Care Giver ดูแลพระสงฆ์อาพาธติดเตียง พร้อมคิกออฟเชื่อมโยงระบบข้อมูลสิทธิการรักษา

รัฐบาล มุ่งยกระดับการดูแลสุขภาพ “พระสงฆ์-สามเณร” ตั้งเป้า มี “กุฏิชีวาภิบาล” ทุกอำเภอ ทั่วประเทศ

รัฐบาล เปิด โครงการดูแลสุขภาพพระภิกษุสงฆ์และสามเณร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยสร้างกลไกการดำเนินงานให้เอื้อต่อการดูแลสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ระดับพื้นที่ ครอบคลุมทั้งการให้ความรู้ส่งเสริมสุขภาพ การดูแลรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล การเข้าถึงสิทธิการรักษา การจัดตั้งกุฏิชีวาภิบาลและสถานชีวาภิบาลสำหรับดูแลพระสงฆ์อาพาธ มีเป้าหมายจัดตั้ง กุฏิชีวาภิบาล อำเภอละ 1 แห่ง โดยปัจจุบันมีกุฏิ/บ้านชีวาภิบาล ที่พร้อมดำเนินการแล้ว 788 แห่งทั่วประเทศ
 
     ทั้งนี้ ข้อมูลปี 2564 ทั่วประเทศไทยมีวัดกว่า 43,000 แห่ง พระสงฆ์-สามเณร ประมาณ 2.4 แสนรูป กว่า 50% อยู่ในวัยสูงอายุ อาพาธโรคเรื้อรัง รวมถึงอาพาธระยะท้าย ซึ่งการดูแลส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล การควบคุมโรคและการจัดการปัจจัยคุกคามสุขภาพ ต้องเป็นไปตามหลักพระธรรมวินัยและธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ พ.ศ.2566  [thaigov]

โรงพยาบาลสงฆ์จัดตั้ง กุฏิชีวาภิบาล ดูแลพระสงฆ์อาพาธระยะท้าย LINK

โรงพยาบาลสงฆ์จัดตั้ง กุฏิชีวาภิบาล ดูแลพระสงฆ์อาพาธระยะท้าย ศูนย์ชีวาภิบาล สถานชีวาภิบาลชุมชน กุฏิชีวาภิบาล
โรงพยาบาลสงฆ์จัดตั้ง กุฏิชีวาภิบาล ดูแลพระสงฆ์อาพาธระยะท้าย ศูนย์ชีวาภิบาล สถานชีวาภิบาลชุมชน กุฏิชีวาภิบาล
โรงพยาบาลสงฆ์ ร่วมมือกับคณะพระสังฆาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ รวมทั้งองค์กรภาคีเครือข่าย ด้านการแพทย์ การสาธารณสุขในพื้นที่ ร่วมขับเคลื่อนโครงการกุฏิชีวาภิบาล พร้อมมีการอบรมถวายความรู้พระคิลานุปัฏฐาก ให้สามารถดูแลพระสงฆ์อาพาธระยะท้าย โดยทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลพระสงฆ์อาพาธเสมือนเป็น อสว. เพื่อให้พระสงฆ์อาพาธระยะท้าย มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีการนำนวัตกรรมเทคโนโลยี (Virtual Hospital) อันทันสมัยมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้พระสงฆ์เข้าถึงการบริการอย่างมีประสิทธิภาพ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด