ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

คลินิกแบ่งได้ 9 ประเภท

คลินิกแบ่งได้ 9 ประเภท Thumb HealthServ.net
คลินิกแบ่งได้ 9 ประเภท ThumbMobile HealthServ.net

มีการแบ่งคลินิก ออกเป็น 9 ประเภท และกำกับด้วยสีที่ต่างกัน ได้แก่ 1.คลินิกเวชกรรม (สีเขียว) 2.คลินิกทันตกรรม (สีม่วง) 3.คลินิกการพยาบาลและผดุงครรภ์ (สีฟ้า) 4.คลินิกกายภาพบำบัด (สีชมพู) 5.คลินิกเทคนิคการแพทย์ (สีเลือดหมู) 6.คลินิกการแพทย์แผนไทย (สีน้ำเงิน) 7.คลินิกการประกอบโรคศิลปะ 7 สาขา (สีน้ำตาล) 8.คลินิกเฉพาะด้าน (สีตามสาขาวิชาชีพ แต่จะมีใบแสดงเฉพาะทางของผู้ประกอบวิชาชีพ หรือโรคศิลปะนั้นๆ) 9.สหคลินิก (สีเขียวเข้ม) แต่ละด้านมีรายละเอียดดังนี้

 

คลินิก หมายถึง สถานพยาบาลประเภทไม่รับผู้ป่วย ไว้ค้างคืน ซึ่งตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2558 แบ่งไว้ 9 ลักษณะ โดยแสดงแผ่นป้ายสีขาว ตัวอักษรชื่อ และเลขที่ใบอนุญาต 11 หลัก ตามที่กระทรวงกำหนดไว้

 
คลินิกประเภทต่างๆ 9 ลักษณะ ดังนี้
 
 
1. คลินิกเวชกรรม (สีเขียว)

นิยาม : คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งดําเนินการ โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม / ผู้ประกอบโรคศิลปะ (สาขา) ต้องเป็นแพทย์  คลินิกเวชกรรม หรือ เรียกว่าเป็น คลินิกปฐมภูมิ คือ คลินิกบริการตรวจรักษาโรคทั่วไป รักษาเบื้องต้น โรคพื้นฐานไม่ซับซ้อน
 


 
2. คลินิกทันตกรรม (สีม่วง)

นิยาม : คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพทันตกรรม ซึ่งดําเนินการ โดยผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม เป็นทันตแพทย์
 
 

 
3. คลินิกการพยาบาลและผดุงครรภ์ (สีฟ้า)

นิยาม : คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพ การพยาบาล และการประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง  เป็นคลินิกที่จะให้การดูแลมารดาและทารก ก่อนและหลังคลอด แต่จะไม่สามารถทำคลอดได้
 


 
4. คลินิกกายภาพบำบัด (สีชมพู)

นิยาม : คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพกายภาพบําบัด ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบําบัด ซึ่ง วิชาชีพกายภาพบำบัด คือวิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมิน วินิจฉัย และบำบัดความบกพร่องของร่างกายอันเกิดจากภาวะโรคหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่ปกติ การป้องกัน แก้ไขและฟื้นฟูความเสื่อมสภาพ ความพิการของร่างกาย รวมทั้งส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัดหรือการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ทางการอนุญาตไว้  และผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบําบัด  ก็คือ ผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตจากสภากายภาพบําบัด




5. คลินิกเทคนิคการแพทย์ (สีเลือดหมู)
 
นิยาม : คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์   วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ คือวิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เพื่อให้ได้สิ่งตัวอย่างทางการแพทย์ การดำเนินการโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการตรวจทดสอบ วิเคราะห์ วิจัย รายงานผลตรวจเพื่อการวินิจฉัย ติดตามการรักษา การพยากรณ์โรค และการป้องกันโรคเพื่อการประเมินภาวะสุขภาพ และผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์  ก็คือ ผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตจากสภาเทคนิคการแพทย์
 


 
6. คลินิกการแพทย์แผนไทย (สีน้ำเงิน)

นิยาม :  คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ แล้วแต่กรณี

การแพทย์แผนไทย หมายถึง กระบวนการทางการแพทย์เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บําบัด รักษา หรือป้องกันโรค หรือการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์ การผดุงครรภ์ การนวดไทย และให้หมายความรวมถึง การเตรียมการผลิตยาแผนไทย และการประดิษฐ์อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ทั้งนี้ โดยอาศัยความรู้หรือตําราที่ได้ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา

“วิชาชีพการแพทย์แผนไทย” หมายความว่า วิชาชีพที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์

การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ได้แก่ การประกอบวิชาชีพด้านเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย การนวดไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย หรือการแพทย์แผนไทยประเภทอื่น ซึ่งมีนิยามความหมายไว้ดังนี้

“การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย” หมายความว่า การประกอบวิชาชีพที่กระทําหรือ มุ่งหมายจะกระทําต่อมนุษย์ เกี่ยวกับการแนะนํา การตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบําบัดโรค การรักษาโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย การนวดไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย และองค์ความรู้ด้านอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด โดยคําแนะนําของคณะกรรมการ ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทยซึ่งถ่ายทอดหรือพัฒนาสืบต่อกันมา ตามตําราการแพทย์แผนไทยหรือจากสถานศึกษาที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง “การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์” หมายความว่า การประกอบวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ซึ่งศึกษาจากสถานศึกษา ที่สภาการแพทยแผนไทยร ์ ับรอง รวมทั้งการประยุกต์ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งนี้ ตามระเบียบและข้อบังคับของสภาการแพทย์แผนไทย

“กรรมวิธีการแพทย์แผนไทย” หมายความว่า กรรมวิธีที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์แผนไทย ที่สภาการแพทย์แผนไทยกําหนดหรือรับรอง แล้วแต่กรณี

“เวชกรรมไทย” หมายความว่า การตรวจ การวินิจฉัย การบําบัด การรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ รวมถึงการผดุงครรภ์ไทย เภสัชกรรมไทย และการนวดไทย ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย “เภสัชกรรมไทย” หมายความว่า การกระทําในการเตรียมยา การผลิตยา การประดิษฐ์ยา การเลือกสรรยา การควบคุมและการประกันคุณภาพยา การปรุงยาและการจ่ายยาตามใบสั่งยาของ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์และการจัดจําหน่ายยา ตามกฎหมายว่าด้วยยา ทั้งนี้ ด้วยกรรมวธิีการแพทย์แผนไทย

“การผดุงครรภ์ไทย” หมายความว่า การตรวจ การวินิจฉัย การบําบัด การรักษา การส่งเสริม สุขภาพหญิงมีครรภ์ การป้องกันความผิดปกติในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด การทําคลอด การดูแล การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพมารดาและทารกในระยะหลังคลอด ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย

“การนวดไทย” หมายความว่า การตรวจ การวินิจฉัย การบําบัด การรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปะการนวดไทย ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธี การแพทย์แผนไทย

“การแพทย์พื้นบ้านไทย” หมายความว่า การตรวจ การวินิจฉัย การบําบัด การรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้ซึ่งสืบทอดกันมาในชุมชนท้องถิ่น ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย

“ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยจากสภาการแพทย์แผนไทย “ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและ รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์จากสภาการแพทย์แผนไทย



 
 
7. คลินิกการประกอบโรคศิลปะ 7 สาขา (สีน้ำตาล)

นิยาม : คลินิกที่จัดให้มีการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมาย ว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขานั้นๆ   การประกอบโรคศิลปะ คือ การประกอบวิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค วินิจฉัยโรค บำบัดโรค ป้องกันโรค ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ ผดุงครรภ์ แต่ไม่รวมการประกอบวิชาชีพด้านแพทย์และสาธารณสุขอื่นตามกฏหมายว่าด้วยการนั้น ปัจจุบันกำหนดไว้ 7 สาขา ได้แก่
1.กิจกรรมบำบัด
2.การแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย
3.เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
4.รังสีเทคนิค
5.จิตวิทยาคลินิก
6.กายอุปกรณ์
7.การแพทย์แผนจีน


ความหมายแต่ละสาขา 
 
"กิจกรรมบําบัด" คือ  การกระทําเกี่ยวกับความสามารถของบุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้และการพัฒนาเกี่ยวกับเด็ก โดยกระบวนการตรวจประเมิน ส่งเสริมป้องกันบําบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้สามารถทํากิจกรรมต่างๆ ได้ เพื่อให้บุคคลดําเนินชีวิตได้ตามศักยภาพโดยการนํากิจกรรม วิธีการ และอุปกรณ์ที่เหมาะสมมาเป็นวิธีการในการบําบัด
 
"การแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย" คือ  การแก้ไขการพูดและการแก้ไขการได้ยิน
 
"การแก้ไขการพูด" คือ  การกระทําต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมิน การวินิจฉัยและการบําบัดความผิดปกติของการพูดและการสื่อภาษา การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การแก้ไขและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการพูด และความสามารถทางการสื่อภาษา ด้วยวิธีการแก้ไขการพูดหรือการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแก้ไขการพูด รวมทั้งการติดตามผล
 
"การแก้ไขการได้ยิน" คือ  การกระทําต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมิน การวินิจฉัยและการบําบัดความผิดปกติของการได้ยิน ความรู้สึกผิดปกติที่เกี่ยวเนื่องกับการได้ยิน การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน การแก้ไขและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน หรือการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางโสตสัมผัสวิทยา ด้วยวิธีการทางโสตสัมผัสวิทยา รวมทั้งการติดตามผล
 
"เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก" คือ  การกระทําต่อมนุษย์เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและปอด และการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการประคับประคองการทํางานของระบบหมุนเวียนของโลหิตให้อยู่ในภาวะปกติระหว่างการผ่าตัดหัวใจและทรวงอก รวมทั้งการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการดูแลผู้ป่วยหนักหรือผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน
 
"รังสีเทคนิค" คือ  การกระทําใด ๆ ต่อมนุษย์โดยใช้รังสีหรือสารกัมมันตรังสีทางการแพทย์ชนิดต่างๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค การบําบัดโรคหรือการวิจัย ด้วยวิธีการทางรังสีวิทยาหรือการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์อย่างอื่นที่กำหนด
 
"จิตวิทยาคลินิก" คือ  การกระทําต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจ การวินิจฉัย การบําบัดความผิดปกติทางจิต อันเนื่องจากภาวะทางจิตใจ บุคลิกภาพ ระดับเชาวน์ปัญญา อารมณ์ พฤติกรรมการปรับตัว ความเครียดหรือพยาธิสภาพทางสมอง รวมทั้งการวิจัย การส่งเสริมและประเมินภาวะสุขภาพทางจิตด้วยวิธีการเฉพาะทางจิตวิทยาคลินิก หรือการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทดสอบทางจิตวิทยาคลินิกที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางจิตวิทยาคลินิก
 
"กายอุปกรณ์" คือ  การกระทําต่อร่างกายมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจประเมินความพิการการผลิตอุปกรณ์เสริมหรืออุปกรณ์เทียมภายนอกร่างกาย สําหรับใช้ทดแทนส่วนของร่างกายที่สูญหายหรือบกพร่อง เกี่ยวกับระบบประสาท กล้ามเนื้อ และกระดูก ตามที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้วินิจฉัยสั่งการรักษา
 
"การแพทย์แผนจีน" คือ  การกระทําต่อมนุษย์หรือมุ่งหมายจะกระทําต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบําบัดโรค การป้องกันโรค การส่งเสริม และการฟื้นฟูสุขภาพโดยใช้ความรู้แบบแพทย์แผนจีน
 


 
 
8. คลินิกเฉพาะด้าน (สีตามสาขาวิชาชีพ แต่จะมีใบแสดงเฉพาะทางของผู้ประกอบวิชาชีพ หรือโรคศิลปะนั้นๆ)

เป็นคลินิกที่เน้นการรักษาในโรคเฉพาะด้าน สำหรับผุ้ป่วยที่ต้องรับการรักษาในขั้นตอนพิเศษ ดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพนั้นๆ ที่ต้องได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติจากแพทยสภา หรือทันตแพทยสภา หรือสภาการพยาบาล

1. เวชกรรม  ผู้ประกอบวิชาชีพ ได้โดย แพทย์ที่ได้รับวุฒิบัตรหรือ หนังสืออนุมัติบัตร
2. ทันตกรรม  ผู้ประกอบวิชาชีพ ได้โดย ทันตแพทย์ที่ได้รับวุฒิบัตรหรือ หนังสืออนุมัติบัตร
3. การพยาบาลและการผดุงครรภ  ผู้ประกอบวิชาชีพ ได้โดย พยาบาลที่ได้รับวุฒิบัตรหรือ หนังสืออนุมัติบัตร





 
 
9. สหคลินิก (สีเขียวเข้ม)

นิยาม :  สหคลินิก คือ คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ กายภาพบําบัด เทคนิคการแพทย์ การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ และการประกอบโรคศิลปะ ตั้งแต่สองลักษณะขึ้นไป ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพหรือผู้ประกอบ โรคศิลปะสาขาใดสาขาหนึ่ง โดยผู้ดําเนินการต้องเป็นบุคคลที่ผู้อนุญาตประกาศกําหนดโดยคําแนะนํา ของคณะกรรมการสถานพยาบาล

ตัวอย่างสหคลินิก เช่น คลินิกที่รักษาโรคทั่วไป ที่อาจมีบริการทันตกรรมด้วย  หรือ คลินิกแพทย์แผนไทย ที่มีการทำกายภาพบำบัดได้ด้วย  เป็นต้น

โดยสหคลินิกก็ต้องดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพหรือผู้ประกอบ โรคศิลปะสาขานั้นๆ ตามที่ได้รับอนุญาตด้วย
 

 

นิยามสถานพยาบาล 


นิยามสถานพยาบาล รูปแบบต่างๆ ตาม กฎกระทรวง กําหนดลักษณะของสถานพยาบาลและลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล พ.ศ. 2558
 
 
"สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน" หมายความว่า สถานพยาบาลประเภทคลินิกตามกฎกระทรวงนี้
 
"สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน" หมายความว่า สถานพยาบาลประเภทโรงพยาบาลตามกฎกระทรวงนี้
 
"คลินิกเวชกรรม" หมายความว่า คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
 
"คลินิกทันตกรรม" หมายความว่า คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพทันตกรรม ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม
 
"คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์" หมายความว่า คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
และการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง
 
"คลินิกกายภาพบําบัด" หมายความว่า คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพกายภาพบําบัดซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบําบัด
 
"คลินิกเทคนิคการแพทย์" หมายความว่า คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย
 
"คลินิกการแพทย์แผนไทย" หมายความว่า คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
หรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ แล้วแต่กรณี
 
"คลินิกการประกอบโรคศิลปะ" หมายความว่า คลินิกที่จัดให้มีการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขานั้น ๆ
 
"คลินิกเฉพาะทาง" หมายความว่า คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพเฉพาะทางด้านเวชกรรมหรือทันตกรรม หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์และผู้ประกอบวิชาชีพนั้นต้องได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติจากแพทยสภา หรือทันตแพทยสภา หรือสภาการพยาบาล
แล้วแต่กรณี
 
"สหคลินิก" หมายความว่า คลินิกที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ กายภาพบําบัด เทคนิคการแพทย์ การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์
และการประกอบโรคศิลปะ ตั้งแต่สองลักษณะขึ้นไป ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพหรือผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาใดสาขาหนึ่ง โดยผู้ดําเนินการต้องเป็นบุคคลที่ผู้อนุญาตประกาศกําหนดโดยคําแนะนํา
ของคณะกรรมการสถานพยาบาล
 
"โรงพยาบาลทั่วไป" หมายความว่า โรงพยาบาลที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในสาขาอายุรกรรม ศัลยกรรม กุมารเวชกรรม และสูตินรีเวชกรรม และให้มีการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
การผดุงครรภ์ เภสัชกรรม กายภาพบําบัด เทคนิคการแพทย์ และรังสีเทคนิคเป็นอย่างน้อย โดยอาจจัดให้มีการประกอบวิชาชีพหรือการประกอบโรคศิลปะอื่นร่วมด้วยก็ได้ ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบ
วิชาชีพเวชกรรม
 
"โรงพยาบาลทันตกรรม" หมายความว่า โรงพยาบาลที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพทันตกรรมซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม
 
"โรงพยาบาลการพยาบาลและการผดุงครรภ์" หมายความว่า โรงพยาบาลที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ ์ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล
และการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง
 
"โรงพยาบาลกายภาพบําบัด" หมายความว่า โรงพยาบาลที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพกายภาพบําบัด ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบําบัด
 
"โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย" หมายความว่า โรงพยาบาลที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยในด้านเวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย และการนวดไทยและการประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์
 
"โรงพยาบาลเฉพาะทาง" หมายความว่า โรงพยาบาลที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพเฉพาะทางด้านเวชกรรม ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพนั้นต้องได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติจากแพทยสภา เช่น โรงพยาบาลเฉพาะทางหู ตา คอ จมูก โรงพยาบาลเฉพาะทางโรคหัวใจ และโรงพยาบาลเฉพาะทางโรคมะเร็ง เป็นต้น
 
"โรงพยาบาลเฉพาะประเภทผู้ป่วย" หมายความว่า โรงพยาบาลที่จัดให้มีการประกอบวิชาชีพตามลักษณะเฉพาะประเภทผู้ป่วย ซึ่งดําเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เช่น โรงพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง โรงพยาบาลผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลผู้สูงอายุ โรงพยาบาลแม่และเด็ก และโรงพยาบาลบําบัดยาเสพติด เป็นต้น

 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด