ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โอกาสและศักยภาพของอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรไทย - Medical Hub บทที่ 1

โอกาสและศักยภาพของอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรไทย - Medical Hub บทที่ 1  Thumb HealthServ.net
โอกาสและศักยภาพของอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรไทย - Medical Hub บทที่ 1  ThumbMobile HealthServ.net

ประเทศไทยโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่บางแห่งก็มีการนำเทคโนโลยี Digital Health นี้มาใช้บ้างแล้วเช่นกัน อาทิ นวัตกรรมการตรวจหาความผิดปกติหรือตรวจจับโรคระยะเริ่มต้น รวมถึงแอปพลิเคชันในการดูแลสุขภาพ เพื่อช่วยให้คนไข้สามารถจัดการดูแลสุขภาพตนเองได้ในระดับเบื้องต้น

Table of Contents


บทที่ 1 โอกาสและศักยภาพของอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรไทย


ความก้าวหน้าเทคโนโลยีด้านสุขภาพขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการแพทย์ขยายตัวทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง


ปัจจุบันอุตสาหกรรมการแพทย์ของโลกมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากความต้องการบริการสุขภาพที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการประมาณของ Frost & Sullivan คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.82 ในปี พ.ศ. 2561 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ คือ จำนวนประชากรสูงอายุของโลก กระแสการส่งเสริมสุขภาพและรักษาสุขภาพ การพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่มีการพัฒนาขึ้นแบบก้าวกระโดด ทั้งความรู้ทางการแพทย์ ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือทางการแพทย์รูปแบบใหม่ ๆ ที่ทำ ให้ประชากรทั่วโลกมีอายุขัยเพิ่มขึ้น
 
รายงาน Global Healthcare Industry Outlook 2018 ของ Frost & Sullivan นั้นชี้ให้เห็นว่า เทคโนโลยีด้านสุขภาพ หรือHealth Tech เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญยิ่งต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรทั้งในปัจจุบันและอนาคต สอดคล้องกับข้อมูลของ PricewaterhouseCoopers(PwC) ที่ระบุว่า ระบบเทคโนโลยีทางการแพทย์(Digital Health) เพื่อสุขภาพรูปแบบใหม่นั้นมีความแตกต่างจากบริการด้านสุขภาพแบบดั้งเดิม (Traditional Model) ที่จะมุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยด้านสุขภาพ และเพิ่มการสื่อสารสองทางระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยมากกว่า ธุรกิจการให้บริการด้านสุขภาพสมัยใหม่จึงมีความคล่องตัวในการเข้าถึงผู้บริโภคสูง และสามารถสร้างความไว้วางใจให้กับผู้ให้บริการได้มากกว่า


ยกตัวอย่างเช่น
  • ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์บนคลาวด์ (Cloud-Based Electronic Health Record)
  • ระบบการบันทึกข้อมูลสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์แบบเปิด (Open Source Medical RecordSystem)
  • อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ (WearableDevice)
  • ระบบการให้บริการผ่านแอปพลิเคชันด้วยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ (m-Health Application)
  • รวมถึงระบบการปรึกษาแพทย์แบบออนไลน์แทนการไปพบแพทย์แบบปกติ
  • และการสั่งยาผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Prescription) สำหรับการยกระดับการสาธารณสุขของชุมชนห่างไกล เป็นต้น


ทั้งนี้ รายงานการวิเคราะห์ตลาดบริการสุขภาพของ Frost & Sullivan ในปี พ.ศ. 2561 ระบุว่าเงินลงทุนด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ (DigitalHealth) ของโลกในปี พ.ศ. 2560 ได้เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เติบโตมากกว่าเท่าตัวจากปีก่อนหน้า ทั้งนี้ หลายๆ ประเทศทั่วโลก รวมถึงในอาเซียนต่างก็ยอมรับและมีการนำนวัตกรรมด้าน Digital Health มาใช้กันมากขึ้นในปัจจุบัน ยกตัวอย่าง เช่น
  • สิงคโปร์ที่ได้มีนำ Digital Health มาใช้ในโครงการIntegrated Clinic Management SystemsProgramme เพื่อให้บริการด้านสุขภาพมานานมากกว่า 10 ปี
  • หรือฟิลิปปินส์ที่มีการนำ ระบบการบันทึกข้อมูลสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์แบบเปิดCHITS (Community Health InformationTracking System) เข้ามาใช้ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ
  • หรือกรณีมาเลเซียเริ่มมีการย้ายระบบการจัดเก็บข้อมูลมาไว้บนคลาวด์อย่างแพร่หลาย เพื่อรองรับการจัดเก็บฐานข้อมูลออนไลน์ขนาดใหญ่ เป็นต้น


สำหรับประเทศไทยโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่บางแห่งก็มีการนำเทคโนโลยี Digital Health นี้มาใช้บ้างแล้วเช่นกัน อาทิ นวัตกรรมการตรวจหาความผิดปกติหรือตรวจจับโรคระยะเริ่มต้น รวมถึงแอปพลิเคชันในการดูแลสุขภาพ เพื่อช่วยให้คนไข้สามารถจัดการดูแลสุขภาพตนเองได้ในระดับเบื้องต้น


มูลค่าตลาดอุตสาหกรรมสุขภาพเอเชียและออสเตรเลียเติบโตสูงสุด


Deloitte ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจระดับโลก ได้คาดการณ์สถานการณ์ตลาดอุตสาหกรรมการแพทย์ของโลกในรายงาน 2018 GlobalHealth Care Outlook ว่า อุตสาหกรรมการแพทย์ของโลกมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากการประมาณการค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพทั่วโลกในช่วงปี พ.ศ. 2560-2564 ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.1 จากร้อยละ 1.3 ในช่วงปี พ.ศ. 2555-2559 โดย Deloitte ประมาณการว่า มูลค่าอุตสาหกรรมการแพทย์โลกในปี พ.ศ. 2563 (พิจารณาด้านรายจ่าย) จะมีมูลค่าราว 8.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มจาก 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2558 ตามจำนวนประชากร อายุขัยของประชากร การพัฒนาตลาด ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ และต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้น

สอดคล้องกับข้อมูลแนวโน้มการใช้จ่ายด้านสุขภาพทั่วโลกของ World Bank ที่พบว่า รายจ่ายด้านสุขภาพทั่วโลกที่ผ่านมานั้นมีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมโลก ในปี พ.ศ.2543 เป็นร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมโลกในปี พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ ข้อมูลของ Deloitte ระบุว่า
  • ตลาดของอุตสาหกรรมการแพทย์ในภูมิภาคอเมริกาเหนือนั้นมีมูลค่าตลาดมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 47 ของมูลค่าตลาดโดยรวม
  • รองลงมา คือ ตลาดภูมิภาคยุโรป ร้อยละ23 
  • ภูมิภาคเอเชียและออสเตรเลีย ร้อยละ22

โดยตลาดอุตสาหกรรมสุขภาพในภูมิภาคทั้งสามนี้มีสัดส่วนรวมมากกว่าร้อยละ 90 ของตลาดอุตสาหกรรมสุขภาพโลกทั้งหมด ขณะที่ภูมิภาคเอเชียและออสเตรเลียเป็นตลาดที่มีการเติบโตเร็วที่สุดเทียบกับภูมิภาคอื่น คือ เฉลี่ยร้อยละ 5 ต่อปี รายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนั้น ระบุว่าการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) ของโลกมีมูลค่า 439 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มีมูลค่า 50-60 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (จากการประเมินในปี พ.ศ. 2555-2556) ส่วนใหญ่บริการทางการแพทย์ที่นักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์นิยมใช้บริการได้แก่ ศัลยกรรมความงาม ทันตกรรม เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ ศัลยกรรมกระดูกและข้อ มะเร็งลดน้ำหนัก และตรวจเช็กสุขภาพ

ขณะที่เศรษฐกิจเชิงสุขภาพของโลก (Global Wellness Economy) ในปี พ.ศ. 2558 นั้นมีมูลค่า 3.72 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ(Wellness Tourism) ซึ่งเป็นกลุ่ม (Sector) หนึ่งของเศรษฐกิจเชิงสุขภาพในปี พ.ศ. 2558 มีมูลค่า 563.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อจำแนกตามภูมิภาค ส่วนใหญ่จะอยู่ในอเมริกาเหนือ จำนวน 215.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ยุโรป 193.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเอเชียและแปซิฟิก 111.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยคาดว่า การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของโลกในปี พ.ศ. 2563 จะมีมูลค่าสูงถึง 808 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 7.5 ต่อปี


อุตสาหกรรมการแพทย์ไทยเติบโตด้วยปัจจัยขับเคลื่อนครบวงจร


ข้อมูลจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ประมาณการมูลค่าตลาดอุตสาหกรรมการแพทย์ของประเทศไทยว่า มีมูลค่าตลาดกว่า 16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 5.60 แสนล้านบาท อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรของประเทศไทยประกอบด้วย 3 อุตสาหกรรมย่อย ได้แก่
  • การให้บริการการแพทย์สมัยใหม่
  • การวิจัยและผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ และ
  • การวิจัยยา-ผลิตเวชภัณฑ์ 
โดยมูลค่าส่วนใหญ่ของตลาดอุตสาหกรรมการแพทย์ของประเทศไทยจะอยู่ในอุตสาหกรรมการแพทย์ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ และอุตสาหกรรมยาคือ ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลประมาณ3.68 แสนล้านบาท การผลิตและ/หรือจำหน่ายยา 1.52 แสนล้านบาท และการผลิตและ/หรือจำหน่ายอุปกรณ์การแพทย์เวชภัณฑ์ 0.40 แสนล้านบาท ตามลำดับ
  • อุตสาหกรรมการแพทย์
    ปัจจุบันประเทศไทยมีสถานพยาบาลทั่วประเทศจำนวนมากกว่า 38,500 แห่ง โดยในจำนวนนี้ มีบริษัทมหาชนที่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 23 ราย และเป็นธุรกิจที่มีทุนจดทะเบียนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน182 ราย ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของคนไทยมูลค่า 115,231 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 98 ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2559 รายได้ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนมีจำ นวน 232,421 ล้านบาท โดยมีจำนวนผู้ป่วยคนไทยร้อยละ 93.5 ของผู้ป่วยรวม ส่วนจำนวนผู้ป่วยต่างชาติมีร้อยละ 6.5 โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Tourist & MedicalTourist) มีจำนวนรวมกันเกือบร้อยละ 70 ของตลาดผู้ป่วยต่างชาติทั้งหมด ข้อมูลจากการจัดอันดับของ Global Wellness Institute พบว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทยติดอันดับ 13 ของโลก สามารถสร้างรายได้มากกว่า 9.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ The InternationalHealthcare Research Center (IHRC) ระบุว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของประเทศไทยติดอันดับ 6 ของโลก โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ร้อยละ 38 ของจำนวนนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในภูมิภาคเอเชียทั้งหมด และตลาดมีแนวโน้มเติบโตราวร้อยละ 14 ต่อปี โดยประมาณการว่า ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยต่างชาติมากกว่า 4 ล้านคน ตลอดปี พ.ศ. 2560
     
  • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์
    การเติบโตของตลาดเครื่องมือแพทย์ของประเทศไทยที่ผ่านมานั้นได้รับปัจจัยสนับสนุนจากความได้เปรียบด้านคุณภาพการบริการ และมาตรฐานการรักษาที่เอื้อต่อนโยบายการเป็นศูนย์กลางบริการทางการแพทย์ของประเทศไทยรวมทั้งผลจากการผลักดันนโยบายศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) ของภาครัฐทำ ให้การจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ในประเทศและต่างประเทศ สามารถขยายตัวได้เฉลี่ยร้อยละ 8.0 และร้อยละ 3.1 ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยประเทศไทยถือเป็นทั้งผู้นำเข้าและผู้ส่งออกเครื่องมือแพทย์ที่สำคัญในกลุ่มอาเซียน (สัดส่วน 27:73) การนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตค่อนข้างสูง ขณะที่สินค้าที่ประเทศไทยผลิตเพื่อส่งออกส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ขั้นพื้นฐานที่ใช้วัตถุดิบในประเทศในการผลิต อาทิ ยาง และพลาสติกเป็นหลัก

    ในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีการส่งออกเครื่องมือแพทย์มูลค่าราว 102,475 ล้านบาท เป็นสินค้ากลุ่มวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์มากที่สุด (ร้อยละ 84) รองลงมา คือ กลุ่มครุภัณฑ์ทางการแพทย์ (ร้อยละ 16) และกลุ่มชุดน้ำยาและวินิจฉัยโรค (ร้อยละ 0.5) ส่วนการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ มีมูลค่า 62,131 ล้านบาท เป็นสินค้ากลุ่มวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์มากที่สุด (ร้อยละ 42) อันดับสองคือ กลุ่มครุภัณฑ์ทางการแพทย์ (ร้อยละ 41) และกลุ่มชุดน้ำยาและวินิจฉัยโรค (ร้อยละ 17) สำหรับตลาดเครื่องมือแพทย์ในประเทศมีมูลค่า 44,600 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 จากปีก่อนหน้า เนื่องจากภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนด้านการวิจัย รวมทั้งส่งเสริมการผลิตและส่งออกในอุตสาหกรรมนี้มากขึ้น
     
  • อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์
    อุตสาหกรรมยาแผนปัจจุบันของประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในขั้นปลาย คือ การผลิตยาสำ เร็จรูป ส่วนมากยาที่ผลิตได้ในประเทศจะเป็นยาชื่อสามัญ (Generic Drugs) ที่ผู้ผลิตจะนำ เข้าวัตถุดิบสำคัญจากต่างประเทศมาผลิตเป็นยาสำเร็จรูปในรูปแบบต่างๆ (ประมาณร้อยละ 90 ของวัตถุดิบทั้งหมด) กลุ่มยาที่มีมูลค่าการผลิตสูงสุด ได้แก่ กลุ่มยาแก้ปวด/แก้ไข้ ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ผลิตยาแผนปัจจุบัน (ข้อมูล ณ มกราคม 2561) ที่ได้รับมาตรฐานการผลิต (Good Manufacturing Practice: GMP) จำ นวน 161 ราย ยาที่ผลิตในประเทศส่วนใหญ่จะใช้บริโภคในประเทศเป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 95 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด ขณะที่ผู้ผลิตมีการส่งออกประมาณร้อยละ 5 ของปริมาณการผลิตยาทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีปริมาณการผลิตยารวม 42,695.7 ตัน และมีมูลค่าการจำหน่ายยาในประเทศอยู่ที่ประมาณ 169 พันล้านบาท ส่วนมากเป็นการจำหน่ายยาผ่านโรงพยาบาลกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าตลาดยาทั้งหมด ด้านการค้ายาระหว่างประเทศ



 

 

อุตสาหกรรมการแพทย์ไทยมีความได้เปรียบจากองค์ความรู้ทรัพยากร และบุคลากรคุณภาพสูง


ในบรรดาอุตสาหกรรมกลุ่ม New Engineof Growth ทั้งหมด อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร หรือ Medical Hub ถือได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไปมากที่สุดเนื่องจากครอบคลุมเรื่องสุขภาพทั้งระบบของประชาชนในทุกด้าน และทุกระดับ ทั้งในด้านของการบำบัดรักษา และการเสริมสร้างสุขภาพ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆได้แก่
  1. ผู้ให้บริการทางการแพทย์สมัยใหม่อาทิ โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชนศูนย์วิจัยโรคเฉพาะทาง ศูนย์ฟืนฟูและส่งเสริม ้ผู้ป่วย และบริการอื่น ๆ
  2. บริษัทวิจัย และผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ และ
  3. บริษัทวิจัยยาและผลิตเวชภัณฑ์



ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ระบุว่า อุตสาหกรรมการแพทย์ของประเทศไทยมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ค่อนข้างสูงทั้งในภาคการผลิตและบริการโดยเฉพาะอุตสาหกรรมบริการทางการแพทย์ และบริการเสริมสร้างสุขภาพ ความได้เปรียบในส่วนการบริการทางการแพทย์ของประเทศไทยเกิดจากการที่ประเทศไทยมีทรัพยากรที่เอื้อต่อการทำ ธุรกิจในลักษณะดังกล่าวกล่าวคือ มีทุนทรัพยากรมนุษย์ที่สามารถพัฒนาเพื่อรองรับการบริการ มีสถานที่และแหล่งท่องเที่ยวในเชิงธรรมชาติที่มีความสมบูรณ์และเหมาะสมกับการฟื้นฟูสุขภาพ และมีองค์ความรู้ในด้านการแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทยทั้งยาสมุนไพรและการนวดแผนไทยที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก ทั้งยังมีค่ารักษาและค่าครองชีพที่ไม่สูงมากนัก ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจบริการเสริมสร้างสุขภาพ ขณะที่ประเทศไทยก็มีศักยภาพในการผลิตวัตถุดิบสำ หรับภาคการผลิตของผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ด้วยเช่นกัน เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงประกอบกับมีลักษณะภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการทำ การเกษตร ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถผลิตพืชผลทางการเกษตรได้หลากหลาย ทั้งยังมีความเข้มแข็งในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติของประเทศไทยในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเสริมสร้างสุขภาพ อาทิ เครื่องสำอางจากสมุนไพร ยาสมุนไพรด้วย

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด