ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

อุตสาหกรรมการแพทย์ ครบวงจรกับการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบ Inclusive - Medical Hub บทที่ 3

อุตสาหกรรมการแพทย์ ครบวงจรกับการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบ Inclusive - Medical Hub บทที่ 3 Thumb HealthServ.net
อุตสาหกรรมการแพทย์ ครบวงจรกับการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบ Inclusive - Medical Hub บทที่ 3 ThumbMobile HealthServ.net

ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรเริ่มจากกลุ่มเทคโนโลยีหลัก (Core Technology) ซึ่งเปรียบเสมือนกับการเป็นอุตสาหกรรม “ต้นน้ำ” ต่อเนื่องด้วยกลุ่มกิจการของอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งมีฐานะเป็นอุตสาหกรรม “กลางน้ำ” และปลายทางของห่วงโซ่คุณค่า คือ การก่อให้เกิดการประกอบการ ทั้งในรูปแบบ Startup หรือผู้ประกอบการและเครือข่ายวิสาหกิจ ซึ่งจะเป็นกลไกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมต่าง ๆ สู่ธุรกิจการพาณิชย์ในฐานะอุตสาหกรรม “ปลายน้ำ”

Table of Contents



บทที่ 3 อุตสาหกรรมการแพทย์ ครบวงจรกับการพัฒนา อุตสาหกรรมแบบ Inclusive



ประเทศไทยมีผู้ประกอบการครอบคลุมห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการแพทย์


ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรเริ่มจากกลุ่มเทคโนโลยีหลัก (Core Technology) ซึ่งเปรียบเสมือนกับการเป็นอุตสาหกรรม “ต้นน้ำ” ต่อเนื่องด้วยกลุ่มกิจการของอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งมีฐานะเป็นอุตสาหกรรม “กลางน้ำ” และปลายทางของห่วงโซ่คุณค่า คือ การก่อให้เกิดการประกอบการ ทั้งในรูปแบบ Startup หรือผู้ประกอบการและเครือข่ายวิสาหกิจ ซึ่งจะเป็นกลไกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมต่าง ๆ สู่ธุรกิจการพาณิชย์ในฐานะอุตสาหกรรม “ปลายน้ำ” ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นได้ตามแผนภูมิภาพต่อไปนี้


สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จำแนกผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรตามกลุ่มผลิตภัณฑ์เป็น 5 กลุ่ม
  1. ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการวัสดุทางการแพทย์ (ร้อยละ 41.61)
  2. รองลงมาเป็นกลุ่มครุภัณฑ์ทางการแพทย์ (ร้อยละ 23.58) โดยมีผู้ประกอบการประเภทอื่นในสัดส่วนไม่มากนัก ได้แก่
  3. ผู้ประกอบการน้ำยาและชุดวินิจฉัยโรค (ร้อยละ 5.06)
  4. บริการและซอฟต์แวร์ (ร้อยละ 4.11) และ
  5. กลุ่มอื่น ๆ (ร้อยละ 25.63)

ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรของประเทศไทยส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่เฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดในเขตปริมณฑล โดยจำนวนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรรายจังหวัดแสดงได้ตามตารางดังต่อไปนี้


ตลาดสินค้าและบริการสุขภาพไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ระบุว่า ตลาดกลุ่มสินค้าและธุรกิจบริการสุขภาพในประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 107,000 ล้านบาท และคาดว่าภายหลังการเปิดการค้าเสรี AEC จะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัจจุบันที่มีจำนวนผู้รับบริการชาวต่างชาติรวมมากกว่า 1.2 ล้านครั้ง นิตยสารที่มีชื่อเสียงจากต่างประเทศรายงานว่า โรงพยาบาลของประเทศไทยที่ดีที่สุดของโลกในปี พ.ศ. 2557ได้แก่ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โดยมีตัวขับเคลื่อนสำคัญ คือ การขยายตัวของตลาดผู้ป่วยชาวต่างชาติทั้งจากภายในภูมิภาคอาเซียนและภายนอกภูมิภาคแนวโน้มการเข้าสู่สังคมสูงอายุของโลก กระแสการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วโลก รวมถึงนโยบายของภาครัฐที่จูงใจให้ผู้ป่วยชาวต่างชาติเดินทางเข้ามารับการรักษาพยาบาลในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่ทำให้อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรของประเทศไทยได้รับการยอมรับ ได้แก่
  • ราคาเหมาะสม
  • การให้บริการมีคุณภาพที่ได้มาตรฐานสากล
  • มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
  • มีเทคโนโลยีทันสมัย
  • มีการต้อนรับด้วยอัธยาศัยไมตรีที่ดี และ
  • มีสถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงาม

อย่างไรก็ตาม รายงานของ SCBEIC ชี้ให้เห็นว่าแม้ประเทศไทยจะได้รับการยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางการบริการด้านสุขภาพหลักของเอเชียในปัจจุบัน แต่ประเทศคู่แข่งในภูมิภาคต่างก็มีนโยบายผลักดันประเทศให้เป็นศูนย์กลางการบริการด้านสุขภาพกันอย่างเข้มข้นเช่นกัน อาทิ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินเดีย หรือกรณีกลุ่ม “พาร์คเวย์ แพนไท” ของโรงพยาบาลเอกชนของสิงคโปร์ที่มีแผนการสร้างโรงพยาบาลขนาด 250 เตียงแห่งแรกในเมียนมาซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2563 ขณะที่ประเทศในตะวันออกกลางหลายประเทศซึ่งเคยเป็นลูกค้าหลักของโรงพยาบาลชั้นนำ ในประเทศไทยหลายแห่งต่างก็มีโครงการพัฒนาการบริการด้านสุขภาพของตนเองขึ้นเช่นกัน อาทิ โครงการ Medical City ขนาดใหญ่ของกาตาร์ หรือโครงการ Hospital Complex ขนาด 1,168 เตียง มูลค่า 35,000 ล้านบาทของคูเวต


ดังนั้น การที่ประเทศไทยจะรักษาการเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรของเอเชียให้ได้ อุตสาหกรรมทางการแพทย์และสุขภาพของประเทศไทยจึงจำเป็นจะต้องมีการพัฒนามาตรฐานในการผลิต/ให้บริการ โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคเฉพาะทางที่เข้มข้นมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อขยายฐานลูกค้าและเพิ่มสัดส่วนตลาดท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ให้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมการแพทย์ของประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น และยังเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรให้เป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตอย่างแท้จริง อันจะช่วยเพิ่มมูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมการแพทย์ไทย และช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไปด้วย


ด้วยนโยบายและมาตรการของหน่วยงานภาครัฐที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมทางการแพทย์ ทั้งการศึกษาวิจัย การผลักดันการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 การส่งเสริมการลงทุนโดยเฉพาะการลงทุนของกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดกำลังซื้อในกลุ่มเครื่องมือแพทย์รวมทั้งนโยบายการกระจายกิจกรรมไมซ์ไปยังต่างจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเป็นทุนเดิมจะนำ ไปสู่การพัฒนาแบบครบวงจรที่จะส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรควบคู่ไปด้วยกันกับการจัดกิจกรรมไมซ์

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด