โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือเรียกว่า โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เป็นหนึ่งในโครงการเรือธงของรัฐบาล เป็นโครงการเร่งด่วนที่มีการเร่งรัดผ่านกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2566 ที่ผ่านมา ด้วยการกำหนดแผนเร่งด่วนระยะชี้วัดใน 100 วัน (หรือ Quick win 100 วัน) เพราะเป็นนโยบายที่ประชาชนทุกระดับมีส่วนร่วมได้เสียอย่างชัดเจนที่สุด โดยรัฐบาลคาดหวังว่าจะเป็นการเร่งปรับปรุงและยกระดับประสิทธิภาพการให้บริการการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น
ในการประชุมคณะรัฐมนตรี รอบวันที่ 2 มกราคม 2567 มีวาระการรายงาน ความคืบหน้าโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ในส่วนของการดำเนินการยกระดับ “นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค” ซึ่งได้มีการกำหนดเป้าหมาย แนวทางพัฒนา กิจกรรมตัวขี้วัดระยะ 100 วัน (ในระยะต้น) และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ระยะต่อไป) โดยมีผลการดำเนินงาน (ข้อมูล ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2566) สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. เป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากขึ้นประชาชนไม่ต้องลำบากเดินทางไกล
1) ด้านดิจิทัลสุขภาพ
1.1) บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่
ระยะสั้น
4 จังหวัด นำร่อง ได้แก่ แพร่ เพชรบุรี ร้อยเอ็ด และนราธิวาส
ประชาชนขึ้นทะเบียนแล้ว 583,159 คน
ระยะต่อไป
ร้อยละ 100 โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) เชื่อมโยงข้อมูลระเบียนสุขภาพส่วนบุคคลและส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยแบบอิเล็กทรอนิกส์ภายใน 12 เขตสุขภาพ
1.2) โรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital)
ระยะสั้น
โรงพยาบาลในสังกัด สป.สธ. ผ่านเกณฑ์การประเมิน smart hospital ระดับเงิน จำนวน 200 แห่ง
อยู่ระหว่างการประเมิน
ระยะต่อไป
โรงพยาบาลในสังกัด สป.สธ. ผ่านเกณฑ์การประเมิน smart hospital ระดับเงินร้อยละ 50 จำนวน 450 แห่ง
2. การพัฒนาการแพทย์ปฐมภูมิ
2.1) การนัดหมอจากบ้าน นัดคิวออนไลน์ และบริการ Telehealth
ระยะสั้น
นัดหมายพบแพทย์ ตรวจเลือด รับยาใกล้บ้าน 1 จังหวัด 1 โรงพยาบาล
ผลการดำเนินการ ดำเนินการแล้ว ทั้ง 76 จังหวัด
ระยะต่อไป
ผู้รับบริการตามนโยบายบริการปฐมภูมิไปที่ไหนก็ได้ (OP anywhere) จำนวน 5,854,015 ครั้ง
2.2) Smart อสม.
ระยะสั้น
ปรับปรุงแอปพลิเคชัน Smart อสม. ผลการดำเนินการ ดำเนินการแล้ว
ระยะต่อไป
อสม. มีศักยภาพจัดบริการปฐมภูมิขั้นพื้นฐานโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ร้อยละ 65
2. เป้าหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ และคุณภาพ
2.1) พัฒนาศักยภาพการวินิจฉัยด้วย CT Scan และ MRI
ระยะสั้น
โรงพยาบาลระดับ A (โรงพยาบาลขนาด 500 เตียงขึ้นไป ที่มีขีดความสามารถรองรับผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาที่ยุ่งยาก ซับซ้อน) อนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างเหมาบริการ CT Scan 12 เครื่อง
ดำเนินการแล้ว 9 เครื่อง
ระยะต่อไป
โรงพยาบาลระดับ A จะอนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างเหมาบริการ CT Scan ร้อยละ 100
2.2) การสร้างขวัญและกำลังใจ
ระยะสั้น
บรรจุตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ 3,000 อัตรา
ผลการดำเนินการ บรรจุแล้ว 2,210 อัตรา
ระยะต่อไป
ลดขั้นตอน/ภาระงาน บุคลากรทางการแพทย์
2.3) การจัดตั้งโรงพยาบาลกรุงเทพมหานคร 50 เขต 50 โรงพยาบาลและปริมณฑล
ระยะสั้น
จัดตั้งโรงพยาบาล 120 เตียงในเขตดอนเมือง/อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
- ยกระดับโรงพยาบาลทหารอากาศ (สีกัน) เป็นโรงพยาบาลเขตดอนเมือง ขนาด 120 เตียง
- ยกระดับศูนย์บริการสาธารณสุข 60 รสสุคนธ์ มโนชญากร เป็นโรงพยาบาลผู้ป่วยนอกเฉพาะทาง โดยมีโรงพยาบาลราชวิถี 2 เป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อ
- เปิดบริการ OPD ในโรงพยาบาลราชวิถีนครพิงค์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ระยะต่อไป
โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ
- กทม. รับผู้ป่วยได้ 25 เตียง
- อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รับผู้ป่วยใน อายุรกรรม/ศัลยกรรมทั่วไป เปิดบริการ OPD เวชศาสตร์ฟื้นฟู
2.4) การพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้ต้องขัง ในโครงการราชทัณฑ์ปันสุขฯ
ระยะสั้น
เครือข่ายราชทัณฑ์ปันสุขฯ ต้นแบบครบทั้ง 12 เขตสุขภาพ
ดำเนินการแล้ว
ระยะต่อไป
- ผู้ต้องขังได้รับบริการสุขภาพตามมาตรฐานตามสิทธิประโยชน์ จำนวน 307,800 ครั้ง
- ร้อยละ 90 ของเรือนจำ มีระบบรักษาพยาบาลตามมาตรฐานขั้นต่ำ
3. เป้าหมายการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูและการดูแลระยะสุดท้าย
3.1) สถานชีวาภิบาล
ระยะสั้น
จัดตั้งสถานชีวาบาลจังหวัดละ 1 แห่ง รวม 76 จังหวัด เป้าหมายร้อยละ 80
ผลการดำเนินการ เปิดดำเนินการแล้ว 44 จังหวัด (ร้อยละ 58)
ระยะต่อไป
จัดตั้ง Hospital at Home/Home Ward จังหวัดละ 1 แห่ง และมีคลินิกผู้สูงอายุในโรงพยาบาลทุกระดับ
3.2) สุขภาพจิตและยาเสพติด
ระยะสั้น
- จัดตั้งศูนย์มินิธัญญารักษ์ ทุกจังหวัด
ผลการดำเนินการ ดำเนินการแล้ว 42 จังหวัด
- มีหอผู้ป่วยจิตเวชทุกจังหวัดในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป ทั้งหมด 127 แห่ง
ผลการดำเนินการ ดำเนินการแล้ว 69 แห่ง
- มีกลุ่มงานจิตเวชทุกอำเภอในโรงพยาบาลชุมชน 776 แห่ง
ผลการดำเนินการ ดำเนินการแล้ว 626 แห่ง
ระยะต่อไป
ร้อยละ 100 ของมินิธัญญารักษ์ได้รับการติดตาม ประเมิน รับรองคุณภาพมาตรฐานตามที่ สธ. กำหนด
3.3) เศรษฐกิจสุขภาพ
ระยะสั้น
มี Blue Zone ต้นแบบเมืองสุขภาพดี วิถีชุมชน คนอายุยืน จำนวน 19 แห่ง
ผลการดำเนินการ ดำเนินการแล้ว 1 แห่ง
ระยะต่อไป
มี Healthy Cities MODELs จังหวัดละ 1 แห่ง
3.4) วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกฟรี
ระยะสั้น
ฉีดวัคซีน HPV ในหญิงอายุ 11 - 20 ปี 1 ล้านโดส
ผลการดำเนินการ ฉีดแล้ว 807,604 โดส
ระยะต่อไป
หญิงอายุ 11 - 20 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก จำนวน 1,747,000 โดส
.....
สธ. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 258/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2566 โดยในคราวประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2566 ที่ประชุมมีมติให้เร่งขยายพื้นที่การดำเนินการบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ เพิ่มจาก 4 จังหวัดนำร่อง [ตามตารางในข้อ 2 (1) 1)] ให้เร็วที่สุด และหากจังหวัดใดมีความพร้อมเพียงพอให้เริ่มดำเนินการระยะที่ 2 ทันที โดยต้องเชื่อมโยงข้อมูลระบบเข้าด้วยกัน
รายงานประชุมคณะรัฐมนตรี 2 มกราคม 2567