โดยหนังสือดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้
ตามที่ท่านได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ในกรณีที่ท่านได้ยุติความร่วมมือทางวิชาการกับ Ecohealth alliance นั้น ขณะนี้มีข้อเท็จจริงหลายประการที่ท่านสมควรได้รับทราบเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว
. เชื้อไวรัสซารส์โควีทู มีลักษณะทางพันธุกรรมของการดัดแปลงพันธุกรรมด้วยฝีมือมนุษย์ มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว
ㆍ Ecohealth alliance ได้ให้ทุนวิจัย เพื่อปรับเปลี่ยนพันธุกรรมไวรัสให้มีความรุนแรงมากขึ้น (gain of function research) แก่ห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยาในอู่ฮั่น
ㆍ มีความพยายามปกปิด ปฏิเสธการให้ทุนดังกล่าว โดย Anthony Fauci แต่จำนนด้วยหลักฐานจากการสอบสวนของ วุฒิสภา สหรัฐอเมริกา
ㆍ มีการให้ทุนเพื่อเขียนรายงานวิจัยว่า เชื้อไวรัสซารส์โควีทู เกิดขึ้นตามธรรมชาติเพื่อปกปิดที่มาของการพัฒนาเชื้อไวรัสด้วยฝีมือมนุษย์
ㆍ รายงานข่าวจากสำนักข่าวจีนและรัสเซียระบว่า รัฐบาลสหรัฐอเมริกาอยู่เบื้องหลังการสร้างไวรัสซารส์โควีทู เพื่อใช้เป็นอาวุธชีวภาพ
ㆍ ความร่วมมือกับทาง Ecohealth alliance ที่มีมาในอดีตมิได้เกิดประโยชน์ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด
เรื่องดังกล่าวข้างต้นอยู่ในระหว่างการสอบสนของรัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลก การร่วมมีอทางวิชาการระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ Ecohealth alliance มิใช่เรื่องเร้งด่วนที่จะต้องกระทำในทันที หากข้อสงสัยว่าการกระทำของ Ecohealth alliance ในการก่อให้เกิดเชื้อไวรัสซารส์โควีทู เป็นจริง การที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปร่วมมือกับทาง Ecohealth aliance อาจทำให้ตกเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดข้อหาอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติไปด้วย การยุติความร่วมมือกับ Ecohealth alliance ไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าการสอบสวนในเรื่องดังกล่าวเป็นที่ชัดเจนจึงเป็นสิ่งที่ท่านควรกระทำ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการตามเห็นสมควร
กลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์
สืบเนื่องจากกรณีหมอธีระวัฒน์ ถูกจุฬาฯ เรียกสอบ
การยื่นหนังสือต่อคณบดี คณะแพทย์ฯ จุฬาฯ ครั้งนี้ สืบเนื่องจาก เหตุการณ์ก่อนหน้านี้ ที่
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีคำสั่ง เรียก ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ รพ.จุฬาฯ สภากาชาดไทย ให้มาให้ถ้อยคำกับคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ที่่ ตึกรัตนวิทยพัฒน์ รพ จุฬา ในวันที่ 1 พ.ย. 2566 นี้ เวลา 11.00 น. เพื่อดำเนินการสอบสวนข้อเท็จริง กรณีไม่ปฏิบัติงานด้วยความรัดกุม ทำให้เกิดความเสี่ยงด้านการบริหารงานและเกิดความเสียหายทั้งในระบบระดับประเทศกับเครือข่ายเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่
ต่อมา ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ชื้แจงถึง 3 เหตุผล สำคัญที่ทำให้ต้องเลิกและยุติการค้นหาไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่า โดยระบุว่า "ทั้งๆที่ได้รับทุนจากสหรัฐ ตั้งแต่ปี 2011 จนถึง 2020 มากกว่า 300 ล้านบาท ทำไมเราถึงเลิกและยุติการค้นหาไวรัสจากค้างคาวและสัตว์ป่า
คำตอบสั้นๆเข้าใจง่าย
* พิสูจน์ได้ว่าไม่เกิดประโยชน์
* อันตรายรอบตัวที่เกิดขึ้นได้ จากการสัมผัสกับสัตว์นำสิ่งคัดหลั่ง กลับมาห้องปฏิบัติการ
* โอกาสนำไปสู่การติดเชื้อในมนุษย์และแพร่ออกไปยังชุมชน"
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เชื่อมั่นว่ากระบวนการขั้นตอนการยุติการร่วมโครงการเป็นไปตามระเบียบ