1. กลุ่มโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับสูง (High - Level Referral Hospital)
ประกอบด้วย
1.1 โรงพยาบาลศูนย์ (Advance - Level Referral Hospital) หรือโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับ A
เป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) รับส่งต่อผู้ป่วยระดับสูง มีอยู่ทุกเขต สุขภาพ มีขีดความสามารถด้านการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนระดับเชี่ยวชาญ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ราคาแพง (Advance & Sophisticate Technology) มีภารกิจด้านแพทยศาสตร์ศึกษาและงานวิจัยทางการแพทย์ ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาหลัก สาขารองและสาขาย่อยครบทุกสาขาตามความจำเป็น บางแห่ง ถูกกำหนดเป็นศูนย์ความเชี่ยวชาญใน 5 สาขาหลัก (สาขาโรคหัวใจ สาขาโรคมะเร็ง สาขาอุบัติเหตุและ ฉุกเฉิน สาขาทารกแรกเกิด และสาขาการรับบริจาคและปลูกถ่ายอวัยวะ) สามารถรองรับผู้ป่วยส่งต่อจาก ระดับตติยภูมิ ภายในเขตสุขภาพเดียวกันและเขตใกล้เคียง
1.2 โรงพยาบาลทั่วไป (Standard - Level Referral Hospital) หรือโรงพยาบาลรับส่งต่อ ระดับ S
เป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) รับส่งต่อผู้ป่วยระดับมาตรฐาน มีอย่างน้อย 1 แห่งต่อจังหวัด มีขีดความสามารถด้านการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนระดับเชี่ยวชาญเฉพาะ ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาหลัก สาขารองครบทุกสาขาและสาขาย่อยบางสาขา บางแห่งอาจจัด ภารกิจด้านแพทยศาสตร์ศึกษาโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ได้สามารถรองรับผู้ป่วยส่งต่อจากหน่วย บริการภายในจังหวัด
2. กลุ่มโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับกลาง (Mid - Level Referral Hospital)
ประกอบด้วย
2.1 โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก หรือโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับ M1
เป็นโรงพยาบาลที่ ให้บริการระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) มีขีดความสามารถด้านการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนระดับ เชี่ยวชาญ ประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาหลักทุกสาขา และสาขารองบางสาขาที่จำเป็น สามารถ รองรับผู้ป่วยส่งต่อจากหน่วยบริการระดับทุติยภูมิ
2.2 โรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย หรือโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับ M2
เป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการ ระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) ขนาด 120 เตียงขึ้นไป ประกอบด้วยแพทย์เวชปฏิบัติหรือแพทย์เวช ศาสตร์ครอบครัว 3-5 คน และแพทย์เฉพาะทางครบทั้ง 6 สาขาหลัก (อายุรกรรม ศัลยกรรม สูติ-นรีเวชกรรม กุมารเวชกรรม ออร์โธปิดิกส์ และวิสัญญี) สาขาละอย่างน้อย 2 คน มีบริการผู้ป่วยใน ห้องผ่าตัด ห้องคลอด หอผู้ป่วยหนัก ห้องปฏิบัติการ และรังสีวิทยาเพื่อวินิจฉัยประกอบการรักษาของ แพทย์เฉพาะทางสาขาหลัก 6 สาขา รองรับการส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนอื่น ลดการส่งต่อไปยัง โรงพยาบาลทั่วไป และสนับสนุนเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิของแต่ละอำเภอ
3. กลุ่มโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับต้น (First- Level Referral Hospital)
ประกอบด้วย
3.1 โรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ หรือโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับ F1
เป็นโรงพยาบาลที่ ให้บริการระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) ขนาด 90 – 120 เตียง ประกอบด้วยแพทย์เวชปฏิบัติหรือ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และแพทย์เฉพาะทางสาขาหลัก (อายุรกรรม ศัลยกรรม สูติ-นรีเวชกรรม กุมารเวชกรรม ออร์โธปิดิกส์ และวิสัญญี) เป็นสาขาเท่าที่มีอยู่ปัจจุบันรวม 3-10 คน มีบริการผู้ป่วยใน ห้อง ผ่าตัด ห้องคลอด และสนับสนุนเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิของแต่ละอำเภอ
3.2 โรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง หรือโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับ F2
เป็นโรงพยาบาลที่ ให้บริการระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) ขนาด 60 - 90 เตียง ประกอบด้วยแพทย์เวชปฏิบัติหรือ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว รวม 2-5 คน ไม่มีแพทย์เฉพาะทาง มีบริการผู้ป่วยใน ห้องผ่าตัด ห้องคลอด และสนับสนุนเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิของแต่ละอำเภอ
3.3 โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก หรือโรงพยาบาลรับส่งต่อระดับ F3
เป็นโรงพยาบาลที่ ให้บริการระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) ขนาด 30 – 60 เตียง ประกอบด้วยแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป หรือแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวรวม 1-2 คน ไม่มีห้องผ่าตัด มีห้องผ่าตัดเล็ก มีห้องคลอด มีตึกผู้ป่วยในให้ การดูแลผู้ป่วยไม่ซับซ้อนและไม่มีโอกาสเกิดความเสี่ยงสูง รองรับผู้ป่วยนอก-ผู้ป่วยในเพื่อสังเกตอาการ/ส่ง ต่อ และสนับสนุนเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิของแต่ละอำเภอ ไม่จำเป็นต้องทำหัตถการ เช่น การผ่าตัด ใหญ่ และไม่จำเป็นต้องจัดบริการผู้ป่วยในเต็มรูปแบบ
4. กลุ่มหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ (Primary Care)
เป็นหน่วยบริการด่านแรกที่ใกล้ชิดประชาชนในการ เข้าถึงบริการสุขภาพอย่างสอดคล้องกับความจำเป็นด้านสุขภาพ ประกอบด้วย
4.1 ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง หรือหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ P1
ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนเมือง หรือ พื้นที่เติบโตของเมือง ทั้งเมืองที่ตั้งของตัวจังหวัด และเมืองอื่นๆ (อาจใช้พื้นที่เขตเทศบาลเป็นเกณฑ์) มี ประชากรในความรับผิดชอบไม่เกิน 30,000 คนต่อแห่ง มีขีดความสามารถด้านเวชปฏิบัติทั่วไป ทันตกรรม เภสัชกรรม ชันสูตรโรค กายภาพบำบัด หรือกิจกรรมบำบัด และการแพทย์แผนไทย หรือแพทย์ทางเลือก สามารถตรวจรักษาผู้ป่วยนอกทั่วไป ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ตลอดจนกลุ่มที่มี ภาวะเสี่ยง ดูแลในมิติของสุขภาพองค์รวม การสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน การสร้างเสริม สุขภาพเชิงรุก โดยให้ชุมชนมีบทบาทสำคัญ ทั้งนี้ วัตถุประสงค์หลักไม่ใช่การแยกที่ตั้งหน่วย OPD ของ โรงพยาบาล หรือ out-reached เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล
4.2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ P2 (รวมถึงสถานี อนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินี)
เป็นหน่วยบริการสุขภาพระดับตำบล หรือระดับหมู่บ้าน ครอบคลุมประชากรประมาณ 1,000 – 10,000 คน การให้บริการจะเน้นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน โรค รักษาพยาบาลเบื้องต้น การฟื้นฟูสมรรถภาพ ดูแลในมิติของสุขภาพองค์รวม การสร้างความเข้มแข็งให้ ครอบครัวและชุมชน
4.3 สถานบริการสาธารณสุขชุมชน หรือหน่วยบริการระดับปฐมภูมิP3 เป็นสถานบริการที่ จัดตั้งในพื้นที่ทุรกันดาร ห่างไกล หรือตามแนวตะเข็บชายแดน ให้บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาลเบื้องต้นและการฟื้นฟูสมรรถภาพ มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นทีมพี่เลี้ยง
นอกจากนี้ ยังมีสถานบริการสุขภาพทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคสังกัดกรมต่างๆของกระทรวง สาธารณสุข สังกัดกระทรวงที่เกี่ยวข้อง สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สังกัดกรุงเทพมหานคร และ สังกัดหน่วยงานอิสระอื่นๆ ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วจะมีความสามารถในการให้บริการสาธารณสุขผสมผสานได้ ครบทุกระดับ โดยอาศัยระบบส่งต่อและช่วยเหลือกันภายในเขตสุขภาพ