ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

มองประวัติศาสตร์ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ผ่านโปสเตอร์

มองประวัติศาสตร์ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ผ่านโปสเตอร์ HealthServ.net
มองประวัติศาสตร์ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ผ่านโปสเตอร์ ThumbMobile HealthServ.net

ปัจจุบันงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เป็นงานหนังสือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและจัดมาอย่างยาวนานที่สุดของไทย โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ ปี 2515 ที่บริเวณโรงละครแห่งชาติ โดยกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ

มองประวัติศาสตร์ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ผ่านโปสเตอร์ HealthServ
งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เริ่มจัดขึ้นเป็นครั้งแรกวันที่ 1-7 เมษายน พ.ศ. 2515 ที่ สังคีตศาลา โรงละครแห่งชาติพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ และหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โดยกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ร่วมกันจัดขึ้น  และนอกจากการจัดงานที่กรุงเทพแล้ว ยังมีการจัดในส่วนภูมิภาคหลายจังหวัด  และกระทรวงได้กำหนดจัดงานในให้ช่วงวันที่ 1-7 เมษายน ของทุกปีต่อๆไป  

ผู้จัดได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานเปิดงานเป็นประจำทุกปี

ในด้านของสถานที่จัดงาน ได้ย้ายไปจัดหลายแห่ง "สังคีตศาลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สวนลุมพินี โรงเรียนหอวัง สนามหลวง คุรุสภา ถนนลูกหลวง ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมืองทองธานี และสถานีกลางบางซื่อ คือรายชื่อสถานที่ที่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติและงานมหกรรมหนังสือระดับชาติเคยจัดขึ้น" 

งานในยุคปัจจุบัน จัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตลอดมา (ยกเว้นช่วงปิดปรับปรุง ปี 2562-2565) 

ส่วนงานมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งแรกจัดที่ แฟชั่นไอส์แลนด์ ต่อมาได้ย้ายไปจัดที่ท้องสนามหลวง ในภายหลังทั้งสองงานได้จัดขึ้น ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ร่วมกับงานงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ตลอดมา


สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (The Publishers and Booksellers Association of Thailand; PUBAT) เข้าร่วมเป็นผู้จัดงานในภายหลัง และก็ได้เปลี่ยนชื่องานเป็นชื่อ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ โดยครั้งแรกของงาน มีสำนักพิมพ์เข้าร่วม กว่า 20 สำนักด้วยกัน

ปี พ.ศ. 2539 ได้กำหนดจัดงานเพิ่มขึ้นเป็น ปีละ 2 ครั้ง เหตุเพราะงานได้รับการต้อนรับดี ประชาชนมาร่วมชมงานมากขึ้นมาก  โดยกำหนดการ 2 ช่วง กำหนดไว้ว่า ช่วงต้นปีจะเป็นงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ส่วนปลายปีจะเป็นงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ

ปี พ.ศ. 2544 ได้เพิ่มการจัดงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ (Bangkok International Book Fair) ไปพร้อมกันด้วย

ปี พ.ศ. 2546 ก้าวสู่ระดับนานาชาติ  ทางสมาคมผู้จัดพิมพ์ (PUBAT) ได้เล็งเห็นว่า หากจะก้าวไปสู่ระดับอินเตอร์ เพื่อจะทำให้ต่างประเทศรับรู้ถึงงานหนังสือในประเทศไทย เราจึงจำเป็นต้องมีการเพิ่มการจัดงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ และในงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 1 นี้เอง ก็ได้จัดทำโลโก้ของงานหนังสือขึ้นมา เป็นรูปช้างเปิดหนังสือ Open a Book Open the World ที่เราได้เห็นกัน โดยความหมายของโลโก้ คือ การเปิดกว้างของงานหนังสือของไทยไปสู่ระดับโลก 

ปี พ.ศ. 2562-2563 งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ รวมทั้งงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ได้ย้ายไปจัดที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี เป็นการชั่วคราว เนื่องจากศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ปิดปรับปรุง

ปี พ.ศ. 2564 จัดที่ไบเทค บางนา ควบคู่กับการจัดงานออนไลน์
 
ปี พ.ศ. 2565 งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติและงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ จัดที่สถานีกลางบางซื่อ เพื่อเป็นการฉลองการจัดงานครบรอบ 50 ปี และครบรอบ 125 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย ส่วนงานมหกรรมหนังสือระดับชาติในช่วงปลายปี ได้ย้ายกลับไปจัดที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ตามเดิม

ปี พ.ศ. 2566 งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 21 กลับมาจัดที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ทั้งสองงาน วันที่ 30 มีนาคม – 9 เมษายน 2566


ข้อมูลจาก wikipedia , plotter.in.th
 
มองประวัติศาสตร์ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ผ่านโปสเตอร์ HealthServ
สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย

สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (The Publishers and Booksellers Association of Thailand; PUBAT)  ริเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2502 โดย นายอภัย จันทวิมล อธิบดีกรมสามัญศึกษา, ม.ล.มานิจ ชุมสาย แห่งองค์การยูเนสโก และ นายกำธร สถิรกุล ผู้อำนวยการองค์การค้าคุรุสภา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการอ่านและการพิมพ์ในประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าเช่นเดียวกับนานาประเทศ โดยได้รับความเห็นชอบและร่วมมือร่วมใจของผู้ประกอบการสำนักพิมพ์ต่าง ๆ นายจิตต์ แพร่พาณิช เจ้าของสำนักพิมพ์แพร่พิทยา และนายชัย จิตติเคชารักษ์ เจ้าของสุริวงศ์เซ็นเตอร์ ร่วมกันก่อตั้งสมาคมขึ้น เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 ใช้ชื่อว่า “สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย” โดยมีนายกำธร สถิรกุล เป็นผู้เริ่มการฯ สำนัก และดำรงตำแหน่งนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ คนแรก


สัปดาห์หนังสือแห่งชาติที่ผ่านมา

 

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 35 ปี 2550

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 35 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 30 มีนาคม - 10 เมษายน 2550 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
• ประเทศไต้หวันเป็น Guest of Honor 

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 36 ปี 2551 (2008)

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 36 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 6 วันที่ 26 มีนาคม – 7 เมษายน 2551 เวลา 10.00 - 21.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

• ธีม "Open a Book : Open the World" 
• จำนวนสำนักพิมพ์ที่ร่วมออกงานประมาณ 400 ราย จำนวนบูธ 830 บูธ
• กิจกรรมในงาน นิทรรศการและกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ต่าง ๆ – นิทรรศการสมเด็จพระพี่นางเธอ  เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา  กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ – National Book Award 2008 – นิทรรศการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้จาก สสส. – นิทรรศการร้านภูฟ้า – กิจกรรมเด็ก – รับบริจาคหนังสือ – เมื่อยนัก พักเท้า – โครงการทอฝันปันหนังสือให้น้อง  ครั้งที่ 12   ใน – การเปิดตัวหนังสือจากสำนักพิมพ์ต่างๆ – ผู้เขียนพบผู้อ่าน – กิจกรรมต่างๆ บนเวทีใหญ่ – งานสัมมนาในวงการหนังสือ

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 37 ปี 2552

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 37 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 7 วันที่ 26 มีนาคม - 6 เมษายน 2552 เวลา 10.00 - 21.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
(เฉพาะวันที่ 26 มีนาคม 2552 เปิดงาน 18.00น. 27 มีนาคม -6 เมษายน 2552 เปิดงาน 10.00 น. – 21.00 น.)

• ธีม "ก้าวหน้าด้วยการอ่าน หนังสือสร้างเด็ก เด็กสร้างชาติ"
• สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จเป็นประธานพิธีเปิด วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2552 เวลา 15.00 น. 
• สัมผัสกลิ่นอายวัฒนธรรมฝรั่งเศส Guest of Hornor 2009  ซึมซับวัฒนธรรมฝรั่งเศสผ่านหนังสือ ภาพยนตร์ และแฟชั่นที่บู้ทฝรั่งเศส (France Pavilion) ในแพลนนารีฮอล์ 
• "ห้องสมุดหนังสือใหม่" ที่เดียวที่รวบรวมหนังสือใหม่ๆๆๆ กว่า 3,000 ปก ไว้ในห้องบอลรูม โซน "สนุก Kids สนุกอ่าน"
• กิจกรรม "การทำบุญแห่งปัญญา" ซื้อหนังสือบริจาค 9,999 เล่ม เพื่อเด็กด้อยโอกาสกว่า 1,000,000  คน  เพียงบริจาคเงิน  50  บาท ขึ้นไป รับ “คำคมเทพรัตน์” หนังสือแม่เหล็กเล่มจิ๋วเป็นของที่ระลึกทันที
• วันหนังสือเด็กแห่งชาติ 2 เมษายน นี้ สมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ แจกคูปอง 100  บาท ฟรี ให้เด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 15 ปี 10,000 คนแรกที่เข้างานได้ เลือกซื้อหนังสือในงานตามอัธยาศัย

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 38 ปี 2553

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 38 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 8 วันที่ 26 มีนาคม - 6 เมษายน 2553 เวลา 10.00 - 21.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
 
• ธีม "การอ่านทำให้เป็นคนโดยสมบูรณ์ Reading maketh a full man"
• ไฮไลท์งานปีนี้ เชิญตัวแทนจากประเทศญี่ปุ่นมาร่วมแนะนำบูธ JAPAN PAVILION ในฐานะที่ให้เกียรติเป็นประเทศรับเชิญกิติมศักดิ์ (Guest of honor)
• เปิดตัวโครงการ Book for All: All for Book ครั้งที่ 2 โดยเชิญศิลปินเซเลบริตี้ของเมืองไทยมาร่วมสัมภาษณ์พิเศษ “แรงบันดาลใจจากภาพวาดผลงานของ 6 เซเล็บแถวหน้า สู่โครงการ Book for All:All for Book ครั้งที่ 2” อาทิ ท่าน ว. วชิรเมธี  มล. จิราธร จิระประวัติ คุณทรงศีล ทิวสมบุญ คุณภัทรีดา  ประสานทอง และ คุณป๊อด ธนชัย อุชชิน ในวันอังคารที่ 9 มีนาคม 2553 เวลา 13.30-15.30 น. ณ ห้อง Meeting Room 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 39 ปี 2554

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 39 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 9 วันที่ 25 มีนาคม - 6 เมษายน 2554 เวลา 10.00 - 21.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

• ธีม “เปิดหนังสือคือเปิดโลกกว้างไม่รู้จบ Open a book : Open the world”
• ในงานมีการออกบูธของสำนักพิมพ์กว่า 430 สำนักพิมพ์ และร้านหนังสือต่างๆ รวมทั้งสิ้น 850 บูธ .
• ในปี 2011 โลกกำลังเผชิญกับปัญหาทางธรรมชาติ เหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ แผ่นดินไหว และสภาพอากาศที่แปรปรวน ผู้คนเริ่มเห็นความสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติมากขึ้น ทำให้งานนี้หนังสือหมวดวิทยาศาสตร์ได้รับความนิยมเป็นพิเศษ [Thai Book Fair]
• นิทรรศการ หลายชุด ได้แก่ นิทรรศการตามรอยพระบาททั่วไทย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 , นิทรรศการห้องสมุดหนังสือ, นิทรรศการร้านภูฟ้า , กิจกรรมจากมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก 
• National Book Award 2011

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 40 ปี 2555

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 40 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 10 วันที่ 29 มีนาคม - 8 เมษายน 2555 เวลา 10.00 - 21.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

• ธีม “Read for Life : การอ่านคือการพัฒนาชีวิต”

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 41 ปี 2556

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 41 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 11 วันที่ 29 มีนาคม - 8 เมษายน 2556 เวลา 10.00 - 21.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

• ธีม “Read for Life : การอ่านคือการพัฒนาชีวิต”

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 42 ปี 2557

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 42 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 12 วันที่ 28 มีนาคม - 7 เมษายน 2557 เวลา 10.00 - 21.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

• ธีม “The World Is A Novel : โลกคือนิยาย”  หลายสิ่งของการเปลี่ยนเปลงในโลกใบนี้เกิดขึ้นเพราะนิยาย เนื้อเรื่องของนิยายสามารถสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ด้วย
• โปสเตอร์งาน ออกแบบโดย Wrongdesign House และ ปราบดา หยุ่น
• นิทรรศการ "โลกคือนิยาย" และนิทรรศการ "ข้าพเจ้าได้เห็นมา โลกนิยายของศรีบูรพา" นักเขียนไทยที่ได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลดีเด่นของโลก เชิดชูเกียรติและแสดงความเป็นอัจฉริยะทางด้านงาน เขียนให้คนรุ่นใหม่ได้รับรู้ นำข้อเขียนหรือผลงานของศรีบูรพา มาแสดงนิทรรศการเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
• กิจกรรมโครงการ 1 อ่าน ล้านตื่น ริเริ่มขึ้นครั้งแรก โดยแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการ อ่าน สสส. SCG Paper และสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ การร่วมมอบหนังสือคุณภาพ สนับสนุนห้องสมุดเด็กและครอบครัวในชุมชน โดยรูปแบบกิจกรรมจะเป็นการจัดทำชุดหนังสือจากรายชื่อหนังสือของสำนักพิมพ์ ที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ผู้บริจาคเลือกซื้อได้สะดวกตรงกลุ่มเป้าหมายที่คัดสรร และเพื่อส่งมอบหนังสือใหม่จากหลากหลายสำนักพิมพ์ได้ตามความเหมาะสมทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ ความสำคัญคือ ต้องการส่งเสริมการอ่านด้วยหนังสือคุณภาพ

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 43 ปี 2558

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 43 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 13 หรือ Bangkok International Book Fair 2015 วันที่ 27 มีนาคม - 6 เมษายน 2558 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

• ธีมงาน “เพราะเป็นเด็กจึงเจ็บปวด” มุ่งเน้นไปที่ความสำคัญของเยาวชนโดยเฉพาะเด็กไทย โดยไฮไลท์ของงานนี้คือการเปิดให้ร่วมสนุกด้วยการส่งภาพภายใต้หัวข้อ “เพราะเป็นเด็กจึงเจ็บปวด” โดยครั้งนั้นมีผู้ร่วมส่งภาพกว่า 200 ภาพ กลายเป็นกระแสและมีการแชร์ และติด #เพราะเป็นเด็กจึงเจ็บปวด ทางโซเชียลมากมาย [plotter]


สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 44 ปี 2559

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 44 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 14 วันที่ 29 มีนาคม - 10 เมษายน 2559 เวลา 10.00 - 21.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สิ่งน่าสนใจในงาน

• ธีม “ความหวัง”(HOPE) ความหวังที่อยากให้คนไทยรักการอ่านมากขึ้น”
• สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เปิดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติและพระราชทานรางวัลหนังสือดีเด่นประจำปี พร้อมหนังสือจากพระราชนิพนธ์แปลในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง ความรักใดไม่ปวดร้าว
• นิทรรศการ 100 ปี ชาตกาล ศ.ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน
• กิจกรรม CSR จากความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย 6 แห่ง ได้แก่ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในการบริจาคหนังสือผ่านโครงการ ๑ อ่าน ล้านตื่น
• ทีมศิลปิน อาทิ อี๊ด โอภากุล,อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี,จีรนันท์ พิตรปรีชา จัดโชว์มินิคอนเสิร์ตเปิดกล่องกีตาร์รับบริจาคเงินให้โครงการ 1 อ่านล้านตื่นในวันที่ 2 เมษายน 2559

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 45 ปี 2560

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 45 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 15 วันที่ 29 มีนาคม - 9 เมษายน 2560 เวลา 10.00 - 21.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  

• ธีม “อ่าน อ่าน และอ่าน” 

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 46 ปี 2561

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 46 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16 วันที่ 29 มีนาคม - 9 เมษายน 2561 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

• ธีม “อ่าน...อีกครั้ง”

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 47 ปี 2562

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 47 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 17 วันที่ 28 มีนาคม - 7 เมษายน 2562 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

• ธีม “รักคนอ่าน” สื่อถึงการแสดงออกซึ่งความรัก โดยจะสื่อถึงทั้งความรักระหว่างคนทำหนังสือและคนอ่านหนังสือ ความรักระหว่างคนอ่านหนังสือด้วยกัน และความรักที่คนอ่านหนังสือมีต่อคนทำหนังสือ เป็นความรักในรูปแบบที่สามารถจับต้อง สัมผัส และรับรู้ได้จริง
• สำนักพิมพ์กว่า 400 สำนักพิมพ์ จำนวนบูธรวมทั้งสิ้นกว่า 924 บูธ พร้อมด้วยกิจกรรมพิเศษ 8 wonders เวทีเสวนาและเวทีกิจกรรม
• ปีสุดท้ายก่อน ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จะปิดปรับปรุง (3 ปี)

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 48 ปี 2563 (โควิด - ออนไลน์)

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 48 ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม ถึง 5 เมษายน 2563 ปรับตัวรับโควิด-19 จัดงานแบบออนไลน์ครั้งแรก ภายใต้แนวคิด "หนังสือดิ้นได้ไปออนไลน์" เนรมิตเมืองหนังสือให้ช้อปได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีสำนักพิมพ์สมาชิกไม่ต่ำกว่า 200 แห่งเข้าร่วมทางเว็บไซต์ www.ThaiBookFair.com

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 49 วันที่ ปี 2564

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 49 วันที่ 15 - 23 พฤษภาคม 2564 เวลา 10.00 - 21.00 น. ณ BITEC บางนา

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50 ปี 2565

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 20 จัดวันเสาร์ที่ 26 มีนาคม – วันพุธที่ 6 เมษายน 2565  10.00 - 21.00 น. ณ สถานีกลางบางซื่อ กรุงเทพ

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 51 ปี 2566

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 37 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 7 วันที่ 26 มีนาคม - 6 เมษายน 2552 เวลา 10.00 - 21.00 น. ณ ฮอลล์ 5-7 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
• 30 มี.ค. 66  17.00 - 24.00 น.
• 31 มี.ค.-1 เม.ย. 66  10.00 - 24.00 น.
• 2-9 เม.ย. 66 10.00 - 21.00 น.
• ธีมงาน "Bookfluencer" 
• คาแรคเตอร์ในโปสเตอร์เป็นผลงานของคุณอเล็ก เฟส (Alex Face) หรือ พัชรพล แตงรื่น ศิลปินผู้หลอมรวมโลกของสตรีทอาร์ต กับงานจิตรกรรมอิมเพรสชั่นนิสม์และนักสร้างงานกราฟฟิตี้ที่มีชื่อเสียงระดับโลก 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด