ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สถาบันโรคทรวงอก

Central Chest Institute of Thailand

Logo Thumb preview

ที่อยู่/ติดต่อ
74 ถ.ติวานนท์ ต.บางกระสอ อ.เมือง นนทบุรี 11000

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

ข้อมูล/ประกาศ/บริการ สถาบันโรคทรวงอก

ติดต่อ สถาบันโรคทรวงอก

extended content image
extended content image
สถาบันโรคทรวงอก พร้อมให้บริการ
  • สายด่วนโรคหัวใจ  1668
  • โทรศัพท์  02-547-0999
  • เวลาเปิดให้บริการ วันจันทร์-วันศุกร์ ให้บริการในเวลาราชการ ตั้งแต่เวลา 08.00-12.00น.

ติดต่อ สถาบันโรคทรวงอก นนทบุรี
  • คลินิกโรคหัวใจ ติดต่อ 02-5470859
  • คลินิกโรคปอด ติดต่อ 02-5470860
  • คลินิกบุหรี่ ติดต่อ 02-5470927
  • คลินิกศัลยกรรม ติดต่อ 02-5470883
  • คลินิก TB Clinic ติดต่อ 02-5470415
  • คลินิกผู้ป่วยนอกโรคหัวใจ โทร. 02-5470859
  • คลินิกผู้ป่วยนอกโรคปอด โทร. 02-5470860
  • คลินิกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม โทร. 02-5470883
  • ตารางแพทย์ออกตรวจ


 


content image1
คลินิกโรคหัวใจ
เวลาเปิดให้บริการ
วันจันทร์-วันศุกร์ ให้บริการในเวลาราชการ
ตั้งแต่เวลา 08.00-12.00น.
 
 
 
เวลาเปิดให้บริการ
วันจันทร์-วันศุกร์ ให้บริการในเวลาราชการ
ตั้งแต่เวลา 08.00-12.00น.
 
 
เวลาเปิดให้บริการ
วันจันทร์, วันอังคาร, วันพุธ, วันศุกร์ ให้บริการในเวลาราชการ
ตั้งแต่เวลา 08.00-12.00น.
 
 
เวลาเปิดให้บริการ
1. Heart Failure Clinic : วันจันทร์ เวลา 08.00-12.00น.
2. Pace Maker Clinic : วันอังคาร เวลา 08.00-12.00น.
3. Warfarin Clinic
- Medical : วันพุธ เวลา 09.00-13.00น.
- Surgical : วันพฤหัสบดี เวลา 08.00-12.00น.
4. MDR Clinic : วันอังคาร เวลา 13.00-16.00น.
5. COPD Clinic : วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00-12.00น.
6. TB Clinic : วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00-12.00น.
7. คลินิกผู้ป่วยอดบุหรี่ : วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00-12.00น.
8. ศูนย์บริการสุขภาพผู้สูงอายุ : วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00-12.00น.
 
 
เวลาเปิดให้บริการ
วันจันทร์-วันศุกร์
ในเวลาราชการให้บริการเวลา 08.00-16.00 น.
คลินิกนอกเวลาราชการ ให้บริการเวลา 16.00–20.00 น.
 
สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คลินิกผู้ป่วยนอกโรคหัวใจ โทร. 02-5470859
คลินิกผู้ป่วยนอกโรคปอด โทร. 02-5470860
คลินิกผู้ป่วยนอกศัลยกรรม โทร. 02-5470883
 
ผู้ป่วยที่มีนัดแล้ว โปรดมาก่อนนัดหมายอย่างน้อย 30 นาที
 
 
 
เวลาเปิดให้บริการ
ให้บริการตรวจรักษา ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00น.
 
 
 
 รายละเอียดการตรวจ
1. ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตฉุกเฉิน ด้านโรคปอดและโรคหัวใจ อายุ 12 ขึ้นไป ตลอด 24 ชั่วโมง
2. ให้บริการช่องทางด่วนผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Fast Track MI)
3. ศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วย เฉพาะทางด้านโรคปอดและหัวใจที่มีภาวะยุ่งยากซับซ้อน ตลอด 24 ชั่วโมง
4. ให้คำปรึกษาโรคหัวใจ (สายด่วน โรคหัวใจ โทร.1668)
5. ให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคทั่วไป และอุบัติเหตุเบื้องต้นและนำส่งต่อโรงพยาบาลที่มีศักยภาพ
6. ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยไม่วิกฤตฉุกเฉิน ทางด้านโรคปอดและหัวใจ นอกเวลาราชการ
7. ให้บริการออกหน่วยเคลื่อนที่ เพื่อตรวจรักษาผู้ป่วยเฉพาะทาง โรคหัวใจ (Mobile CCU)
8. ให้บริการออกหน่วยเคลื่อนที่ ภาวะเกิดภัยพิบัติหรือสถานะการณ์ฉุกเฉิน
 
 
 
เวลาเปิดให้บริการ
ให้บริการตรวจรักษา ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00น.
 
 
หน่วยเอกซเรย์ และตรวจพิเศษทางรังสี
ให้บริการเอกซเรย์ทั่วไป และตรวจพิเศษทางรังสี ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 12 ปี ขึ้นไปทั้งในเวลาราชการ และนอกเวลาราชการ และเริ่มให้บริการเอกซเรย์ผู้ป่วย ตั้งแต่เวลา 8.00 น. ของวันทำการ แต่เพื่อลดการรอคอยของผู้ป่วยทางกลุ่มงานรังสีวิทยาเปิดให้บริการเอกซเรย์ผู้ป่วย ในช่วงเวลา 7.30 น. เป็นกรณีพิเศษ
 ขั้นตอนการมารับบริการเอกซเรย์
ในเวลาราชการให้บริการเวลา 08.00-16.00 น.
 

Facebook สถาบันโรคทรวงอก


ประวัติสถาบันโรคทรวงอก
90 ปีก่อนวัณโรคปอดเป็นโรคระบาดที่ทำให้ผู้ป่วยล้มตาย เป็นจำนวนมากในทุกประเทศในโลก ประเทศไทยเราก็มีโรคนี้ ชุกชุมอยู่หนาแน่น เช่น ในกรุงเทพมหานครและธนบุรี เป็นต้น ชาวบ้านส่วนมากไม่ค่อยรู้จักวัณโรคปอด แต่จะทราบกันทั่วไปว่าเป็นฝีในท้องและเชื่อว่า เมื่อใครเป็นโรคนี้แล้วรักษาไม่หายและสามารถติดต่อกันทั้งครอบครัว ทั้งยังเป็นที่รังเกียจแก่บุคคลทั่วไปRobert Koch
 
 
จากหลักฐานทางวิชาการสมเด็จพระบรมชนกนาถ ได้ทรงนิพนธ์ไว้ในเอกสารสุขศึกษา เรื่อง “ทุเบอร์คุโลสิส” เมื่อปี พ.ศ. 2463 ความตอนหนึ่งว่า “ตามที่ได้ทำการตรวจศพ ค้นหาโรคที่ทำให้คนตายในโรงพยาบาลศิริราชที่กรุงเทพฯ ทุก 10 ศพที่ตรวจ ได้พบรอยเป็นโรคทุเบอร์คุโลสิส 2 ศพ ใน 2 ศพที่มีรอย ศพหนึ่งสันนิษฐานได้ว่าตายด้วยโรคทุเบอร์คุโลสิส แปลว่าจำนวนที่พวกเราตาย 10 คน ต้องตายด้วยโรคนี้ 1 คน...” และนอกจากนี้เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จไปทรงงานเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2472 ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขามายัง หลวงนิตย์ เวชวิศิษฐ์ มีใจความตอนหนึ่งว่า “T.B. มีมากเต็มทีและไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร เพราะไม่มีโรงพยาบาลพิเศษ หรือ Sanitorium สำหรับรักษารายที่ไม่หนักนัก เรื่อง T.B. นี้ ทำให้ฉันสนใจมาก...”
 
สมเด็จพระบรมราชชนก และภาพพะราชหัตถเลขา
 
ด้วยเหตุที่วัณโรคเป็นโรคที่พบมากในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2482 พระไวทยวิธีการ ในพิธีรดน้ำสงกรานต์พระไวทยวิธีการ อธิบดีกรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย ได้เสนอโครงการเพื่อสร้างโรงพยาบาลสำหรับรักษาวัณโรคเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ต่อรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม โดยมี นายช่วง เชวงศักดิ์สงคราม ผู้รับหลักการ และได้รับอนุมัติการสร้างโดยจัดซื้อที่ดิน 27 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนติวานนท์ ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เนื่องจากเห็นเป็นทำเลที่สงบอยู่ท่ามกลางทุ่งนาที่มีอากาศบริสุทธิ์
 
ในปี พ.ศ. 2482 เริ่มสร้างตึกหลังแรกมีเตียงรับผู้ป่วยได้ 25 เตียง ชื่อว่า “ตึกพิทักษ์ประชาสุข” ต่อมาในปีเดียวกันได้มีการก่อสร้างบ้านพักแพทย์ โรงครัว โรงซักฟอก โรงเก็บศพ ห้องแถวคนงาน บ้านพักพยาบาล และบ่อน้ำ ซึ่งเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของโครงการเท่านั้น (โครงการนี้กำหนดไว้ว่าจะสร้างโรงพยาบาลให้รับคนไข้ไว้รักษาได้ประมาณ 300 คน)
 
วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2484 ได้เริ่มเปิดตึกรับผู้ป่วยไว้รักษา โดยอาศัยตึกหลังแรกเป็นที่ทำการตรวจผู้ป่วย และอีกส่วนหนึ่งของตึกเป็นสำนักงานอำนวยการ มีขุนพิทักษ์ ประชาสุข เป็นผู้อำนวยการคนแรก และสถานที่นั้นชื่อว่า “โรงพยาบาลวัณโรคกลาง” สังกัด กองแพทย์สังคม กรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย
 
ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2485 โรงพยาบาลได้เปลี่ยนมาสังกัดกองโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค กรมการแพทย์ หลวงสนั่น วรเวชช์ เป็นหัวหน้ากอง และหลวงนิตย์ เวชวิศิษฐ์ เป็นอธิบดีกรมการแพทย์  และเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2485 มีการสร้างตึกอำนวยการหลังแรกด้วยค่าก่อสร้าง 75,038 บาท ต่อมาเปลี่ยนเป็นตึกตรวจโรคชันสูตรเอกซเรย์ จนกระทั่งวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2485 ได้มีพิธีเปิดโรงพยาบาลอย่างเป็นทางการ
 
ในปี พ.ศ. 2484-2487 ประเทศไทยอยู่ในภาวะสงคราม เริ่มตั้งแต่สงครามอินโดจีน สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามกบฏแมนฮัตตัน ในขณะนั้นเศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ในขั้นที่เรียกว่า ข้าวยากหมากแพง สิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น เช่น ข้าวสาร น้ำตาลทราย และผ้าขาว รัฐบาลจะแจกปันส่วนในจำนวนจำกัด ผู้รับต้องเข้าคิวไปรับส่วนแบ่งตามสิทธิของแต่ละบุคคลในสถานที่ที่ทางการกำหนดไว้ และประกอบกับมีน้ำท่วมใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ในขณะเดียวกันนั้น  เป็นผลให้โครงการก่อสร้างเพิ่มเติมเพื่อขยายตึกและเพิ่มจำนวนเตียงของโรงพยาบาลต้องหยุดชะงักลงโดยสิ้นเชิง ประกอบกับประชาชนในสมัยนั้นอพยพไปต่างถิ่นเพื่อหนีสงคราม โรงพยาบาลนี้จึงยังไม่เป็นที่รู้จักของประชาชน การเดินทางมาโรงพยาบาลค่อนข้างลำบาก เพราะในขณะนั้นถนน
ติวานนท์เป็นถนนตัดใหม่ จากอำเภอปากเกร็ดถึงจังหวัดนนทบุรี สภาพถนนเป็นโคลนที่ขุดจากคลองข้างถนน 
มีรถเมล์สองแถวใช้รับส่งผู้โดยสารจากปากเกร็ดไปเมืองนนท์

ปลายปี พ.ศ. 2487 หลังจากสงครามยุติแล้วการคมนาคมต่างๆ สะดวกขึ้นเล็กน้อย กรมทางได้เอายาง แอสฟัสท์มาราดถนนหน้าโรงพยาบาล ประชาชนที่สงสัยว่าตนเองจะเป็นวัณโรคเริ่มเดินทางมารับการตรวจและรักษาในโรงพยาบาลมากขึ้น ผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลส่วนใหญ่จะต้องอยู่ในโรงพยาบาลนาน เพราะปอดยังไม่ปลอดเชื้อ ด้วยเหตุนี้จึงเกิดปัญหาผู้ป่วยล้นเตียง ทางโรงพยาบาลได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าชั่วคราว โดยแบ่งตึกอำนวยการครึ่งหนึ่งเป็นที่พักผู้ป่วยทุเลาแล้ว ส่วนชั้นล่างของตึกอำนวยการใช้เป็นที่ตรวจผู้ป่วยภายนอก
 
วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2488 ได้มีการเปลี่ยนกรมสาธารณสุขเป็น กระทรวงสาธารณสุข และโอนงาน “โรงพยาบาลวัณโรคกลาง” เป็น “กองโรงพยาบาลวัณโรค” สังกัดกรมการแพทย์ ในช่วงนี้ปัญหาเตียงไม่พอรับ ผู้ป่วยยังมีอยู่ ทั้งนี้รวมทั้งพระภิกษุและสามเณรที่อาพาธแต่ไม่มีที่พัก ปัญหาเหล่านี้ได้ทรงทราบถึงพระเนตรพระกรรณของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ ซึ่งขณะนั้นพระองค์ท่านประทับอยู่ในประเทศไทย จึงมีรับสั่งให้ราชเลขานุการในพระองค์สั่งจ่ายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 250,258 บาท 94 สตางค์ เพื่อขยายกิจการเพิ่มเติมในการก่อสร้างเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2489 เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ให้ถาวรยิ่งขึ้น ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม รับสนองพระบรมราชโองการและมอบให้ พลตำรวจเอกอดุล อดุลเดชจรัส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รีบดำเนินการทันที ในการพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ในครั้งนี้ สมเด็จพระอนุชาได้ทรงมีพระศรัทธาโปรดให้มีการเลหลังรูปภาพและเครื่องเล่น ซึ่งเป็นฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง
 
 
วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 การก่อสร้างตึกได้เริ่มขึ้น เหตุที่ก่อสร้างช้านั้นปรากฏตามบันทึกของโรงพยาบาลว่า “ขณะนั้นเป็นเวลาที่สงครามเพิ่งจะยุติลงใหม่ เครื่องอุปกรณ์การก่อสร้างต่างๆ ยังมีราคาแพงมาก จึงได้รั้งรอการก่อสร้างอยู่ระยะหนึ่ง โดยหวังว่าสิ่งของต่างๆ จะมีราคาถูกลงซึ่งจะทำให้ได้อาคาร 2 ชั้น พอจุผู้ป่วยได้ 50 คน แต่ก็เป็นการผิดความคาดหมาย เพราะเครื่องอุปกรณ์การก่อสร้างต่างๆ กลับมีราคาแพงขึ้นจึงจำเป็นต้องรีบทำการก่อสร้าง” ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ขอให้ หม่อมหลวงโสภิต นพวงศ์ นายช่างหัวหน้ากองเคหะสถานสงเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์ ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างตึกผู้ป่วย ชั้นเดียว จุ 26 เตียง โดยก่อสร้าง เป็นตึกชนิดคอนกรีต เสริมเหล็ก ซึ่งวางรากเตรียมไว้ต่อเป็นตึกสองชั้นในวันหน้า ภายในตึกนอกจากห้องโถงสำหรับวางเตียงแล้วยังแบ่งเป็น ห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องเก็บยา ห้องทำงานพยาบาล ห้องทำงานนายแพทย์รวมอยู่ด้วย นอกจากนี้ยังได้ทำการก่อสร้าง บ้านพักแพทย์หนึ่งหลัง ห้องแถวพยาบาลพัก 6 ห้องหนึ่งหลัง กับขยายครัวไฟ ห้องเก็บเชื้อเพลิง และอ่างน้ำคอนกรีตร่วมด้วย ในการก่อสร้างครั้งนั้น บริษัทเลาห์เรณู จำกัด ประมูลได้และได้ก่อสร้างเสร็จ เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2490 หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตแล้ว ทางกระทรวง สาธารณสุข ได้นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงทราบ ซึ่งขณะนั้นพระองค์ท่านประทับอยู่ ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ขอพระราชทาน นามตึก ซึ่งได้พระราชทานนามเฉพาะอาคารผู้ป่วยว่า “อานันทสถาน” และได้ทรงโปรดให้ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คือ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร เสด็จแทนพระองค์มาทำพิธีเปิดตึกเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2490 อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพแห่งพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล นับว่าอาคารหลังนี้มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นพิเศษอย่างยิ่ง ซึ่งโรงพยาบาลได้ใช้รับผู้ป่วยประเภทสามัญส่วนใหญ่เป็นวัณโรค
 
ในระยะต่อมาได้มีพระภิกษุอาพาธด้วยวัณโรคปอดเพิ่มมากขึ้น ทางกองโรงพยาบาลฯ ได้พิจารณากำหนดให้ตึก “อานันทสถาน” เป็นที่รับเฉพาะพระภิกษุและสามเณรตลอดไป ประกอบกับทางโรงพยาบาลสงฆ์ ถนนราชวิถี มีนโยบายไม่รับพระภิกษุและสามเณรที่อาพาธด้วยวัณโรค จึงโอนพระภิกษุและสามเณรที่อาพาธด้วยโรคดังกล่าวมาเข้ารักษาที่กองโรงพยาบาลวัณโรคตั้งแต่นั้นมา

จากความก้าวหน้าทางการแพทย์ มีการค้นพบยาใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาวัณโรคทำให้ผู้ป่วยสามารถทุเลาขึ้นในเวลารวดเร็ว ส่วนมากผู้ป่วยที่ทุเลาขึ้นเหล่านั้น จะต้องไปพักฟื้นที่บ้าน โดยแพทย์สั่งยาไปรับประทาน หนึ่งเดือนบ้าง สามเดือนบ้าง และผู้ป่วยเหล่านั้นจะต้องกลับมาตรวจอีกตามนัด อย่างไรก็ตามทางโรงพยาบาลยังมีปัญหาเกี่ยวกับการจำหน่ายพระภิกษุและสามเณรที่ทุเลาจากโรค ให้ไปพักที่วัด พระภิกษุและสามเณรส่วนมากมีความลำบากในการเดินทางไปและกลับมาตรวจอีก เพราะวัดอยู่ในจังหวัดไกลๆ ปัจจัยมีไม่พอบางรูปจะไม่กลับมารับการตรวจอีก ซึ่งจะทำให้โรคไม่หายขาด เพื่อแก้ปัญหานี้ทางกองโรงพยาบาลวัณโรคได้ติดต่อกับ “วัดลานนาบุญ” ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี เพื่อขอสร้างอาคาร 5 หลัง จุผู้ป่วย 10 รูป เพื่อพักฟื้นเมื่อผู้ป่วยเหล่านั้นหายดีแล้วก็จะกลับภูมิลำเนาเดิมต่อไป ในที่สุดทำให้การรักษาผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลอีกในปี พ.ศ. 2494 นายแพทย์สมบุญ ผ่องอักษร ซึ่งได้ศึกษาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างสงคราม ได้เสนอแผนการควบคุมวัณโรคทั่วประเทศ โดยมีหลักการวินิจฉัย รักษา ค้นหาผู้ป่วย รวมทั้งฉีดวัคซีน และให้โรงพยาบาลวัณโรค ประสานกับสถานตรวจโรคปอด ยศเส รับผิดชอบเรื่องการควบคุมวัณโรคทั้งหมด
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ได้มีการโอน “กองโรงพยาบาลวัณโรค” สังกัดกรมการแพทย์ เป็น “กองโรงพยาบาลวัณโรค” สังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีหลักการนโยบาย สนับสนุนงานของกองควบคุมวัณโรค สถานตรวจโรคปอดที่ยศเส เป็นส่วนใหญ่
 
ในปี พ.ศ. 2495 ได้เริ่มโครงการศัลยกรรมทรวงอก โดยได้รับการช่วยเหลือจากองค์การต่างประเทศ คือ องค์การอนามัยโลก (W.H.O.) กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ และองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐอเมริกา ส่งผู้เชี่ยวชาญในแขนงศัลยกรรมทรวงอก แขนงดมยาสลบเพื่อผ่าตัดทรวงอกและแขนงวิชาวัณโรคและโรคปอดอื่นๆ มาช่วยสอนและฝึกฝนแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล จนทำให้กิจการของโรงพยาบาลในระยะนี้ก้าวหน้าไปมาก การรักษาวัณโรคในระยะนี้ได้เริ่มมีการใช้ยารักษาวัณโรคโดยเฉพาะขึ้นแล้ว แต่ยังคงใช้วิธีอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การอัดลมเข้าช่องอก และช่องท้อง เป็นต้น และในรายที่เหมาะสมก็ได้ใช้วิธีผ่าตัดปอดมาช่วย ซึ่งขณะนั้นได้มีศัลยแพทย์วิลสัน วิสัญญีแพทย์โฮลเดอร์ (HOUSE HOLDER) ศาสตราจารย์นายแพทย์เฟื่อง สัตย์สงวน และแพทย์โรงพยาบาลวัณโรค ได้ทำผ่าตัด LOBECTOMY เป็นรายแรก และนอกจากนี้ในการผ่าตัดปอดบางรายมีศัลยแพทย์และวิสัญญีแพทย์จากโรงพยาบาลศิริราช ร่วมทำการผ่าตัดด้วยที่กองโรงพยาบาลวัณโรค
 
 
ปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคมาโดยตลอดนับแต่ก่อตั้งโรงพยาบาลมาก็คือ การขาดแคลนพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเพราะวัณโรคเป็นโรคที่สมัยนั้นเชื่อกันว่าเป็นโรคที่น่ารังเกียจอันตราย และติดต่อง่าย ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเสี่ยงต่อการติดโรคมาก ทำให้ไม่ค่อยมีพยาบาลสมัครใจมาทำงานในโรงพยาบาลนี้ เพื่อแก้ปัญหานี้ ในปี พ.ศ. 2499 โรงพยาบาลจึงได้จัดตั้งโรงเรียนผู้ช่วยพยาบาล หลักสูตร 1 ปี หลังจากจบมัธยม 6 ในสมัยนั้นขึ้น และโรงเรียนผู้ช่วยพยาบาลแห่งนี้ก็ได้ผลิตเจ้าหน้าที่พยาบาลให้กับทางโรงพยาบาล และหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ มาโดยตลอด จนกระทั่งปี พ.ศ. 2524 จึงได้เปลี่ยนหลักสูตรเป็นหลักสูตรพยาบาลและผดุงครรภ์ระดับต้น