ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

King Chulalongkorn Memorial Hospital

Logo

สอบถามเข้ารับการตรวจได้ที่ ประชาสัมพันธ์ อาคารผู้ป่วยนอก 02 256 5487 คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ 02 256 5045 - รพ.จุฬาฯ ไม่มีเครือข่ายคลินิกประกันสังคม

ที่อยู่/ติดต่อ
1873 ถนนพระรามที่ ๔ แขวง ปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

✅ รับบัตรทอง
✅ รับประกันสังคม [คลินิกเครือข่าย]

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

[ทั้งหมด]
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเข้ารับการตรวจได้ที่
• ประชาสัมพันธ์ อาคารผู้ป่วยนอก โทร 02 256 5487
• คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ โทร 02 256 5045, 02 256 5046, 02 256 5166, 02 256 5175, 02 256 5193-4
• หน่วยงานบรรจุผู้ป่วย โทร 02 256 4345, 4341, 4378, 4216
• โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โทร 02 256 4000 โทรสาร 02 256 5017

บริการของโรงพยาบาล

1. พบแพทย์
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วย โดยแบ่งออกเป็น
  • ผู้ป่วยนอก (Out-Patient-Department : OPD) หมายถึง ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา โดยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
  • ผู้ป่วยใน (In-Patient-Department : IPD) หมายถึง ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ให้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
ซึ่งสามารถติดตามรายละเอียดการเข้ารับบริการตรวจวินิจฉัยและการเตรียมตัวเข้ารับการรักษา

สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการเข้ารับบริการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีขั้นตอนการเข้ารับบริการ ดังนี้
 
 
ผู้ป่วยที่เคยลงทะเบียนกับทางโรงพยาบาล
  1. นำบัตรนัดมาพบแพทย์ตามวันและเวลานัด
  2. หากยังไม่มีนัด ต้องการตรวจในเวลา เตรียมบัตรประชาชน บัตรประจำตัวผู้ป่วย มารับบัตรคิวตั้งแต่เวลา 05.30 น. ที่หน้าอาคาร ภปร
  3. หากยังไม่มีนัด ต้องการตรวจนอกเวลา (คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ) สามารถโทรมาติดต่อขอนัดตรวจล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน ที่เบอร์โทรศัพท์ 02 256 5045, 02 256 5046, 02 256 5166, 02 256 5175, 02 256 5193-
หมายเหตุ
  1. ผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติการรักษาเดิมที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้เตรียมประวัติการรักษาจากโรงพยาบาลเดิมรวมทั้งชื่อยาที่รับประทานประจำมาด้วย
  2. ปิดรับบัตรเมื่อครบจำนวนผู้ใช้บริการหรือห้องตรวจงดรับ
  3. กรณีผู้ป่วยผิดนัด (มาก่อนหรือหลังนัด และไม่มีอาการ) แนะนำให้พบแพทย์ตามวันนัดเพื่อพบแพทย์ผู้รักษาคนเดิม
  4. กรณีผู้ป่วยใบนัดสีเขียว (ไม่ผ่านนัดทางคอมพิวเตอร์) มาตรงวันนัด แต่เลยเวลานัด หลัง 11.00 น. ให้ผู้ป่วยทำนัดใหม่ที่ห้องตรวจ อาคาร ภปร ชั้น 1
  5. กรณีผู้ป่วยต้องการเลื่อนนัด นำใบนัดเก่าติดต่อเลื่อนนัดใหม่ที่หน้าห้องตรวจ อาคาร ภปร ชั้น 1 หรือ โทรศัพท์เลื่อนนัด หมายเลข 02 256 5451 ทุกวันราชการ เวลา 09.00-15.00 น. และต้องโทรล่วงหน้า 1 สัปดาห์

บริการผู้ป่วยนอก
กลุ่มงานบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดให้บริการหน่วยตรวจแก่ประชาชนทั่วไป ดังนี้
  • หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกทางอายุรกรรม
  • ศัลยกรรม
  • นรีเวชกรรม
  • จักษุกรรม
  • โสต ศอ นาสิก
  • มารดาและทารก
  • โรคกระดูกและเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • จิตเวชผู้ใหญ่และเด็ก
  • หน่วยตรวจพิเศษ
  • คลินิกเฉพาะทางเพื่อการวินิจฉัยโรค
โดยให้บริการแก่ผู้ป่วยเดิมของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติการรักษาและต้องการเข้ารับการรักษาที่พยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมไปถึงผู้ป่วยฉุกเฉินทุกประเภท ซึ่งครอบคลุมกลุ่มประเภทผู้ป่วย ดังต่อไปนี้
  • ผู้ป่วยทั่วไป
  • ผู้ป่วยประกันสังคม
  • ผู้ป่วยบัตรประกันสุขภาพของโรงพยาบาลอื่นๆ (บัตร 30 บาท)
  • เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • เจ้าหน้าที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
 
กลุ่มงานบริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
  1. คลินิกทั่วไป
    ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปในวันและเวลาราชการ: วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.00-16.00 น.
    หากผู้ป่วยไม่มีนัด สามารถยื่นบัตรตรวจโรคทั่วไปทุกระบบ ตั้งแต่เวลา 07.00-11.00 น. (หรือ 10.00 น.ในบางคลินิก) เปิดให้รับบัตรคิวตั้งแต่เวลา 05.30 น. ที่หน้าอาคาร ภปร และอาจมีการปิดรับผู้ป่วยก่อนกำหนดเวลาเมื่อจำนวนผู้เข้ารับบริการเต็มในแต่ละวัน
  2. คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ
    ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป นอกวันและเวลาให้บริการ: วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 16.30-20.00 น. วันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 08.00-12.00 น.
  3. ห้องตรวจผู้ป่วยฉุกเฉิน
    วันและเวลาให้บริการ: ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

บริการผู้ป่วยใน
กลุ่มงานบริการผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้บริการผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลด้วยอาการฉุกเฉิน (Emergency Case) ที่ได้รับการคัดกรองและวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่ามีเหตุจำเป็นให้เข้ารับการรักษาภายในโรงพยาบาล และผู้ป่วยที่มีนัดหมายเข้ารับการรักษาหรือเข้ารับการผ่าตัด (Electivecase)ตามแผนการรักษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ตามภาควิชาต่างๆ เช่น ศัลยกรรม ออร์โธปิดิกส์ สูติ-นรีเวชกรรม จักษุกรรม โสตศอนาสิกวิทยา  รังสีวิทยา อายุรกรรม กุมารเวชศาสตร์ ตลอดจนผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อการรักษาจากโรงพยาบาลอื่น (Refer)
 
 
การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
การเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ควรมีการเตรียมตัวและเตรียมเอกสารตามสิทธิการรักษาของผู้ป่วยให้พร้อม เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับการบริการ ดังนี้
  1. การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
  2. เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
  3. สิทธิผู้ป่วยใน
  4. ประเภทห้องพักและราคา
 
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเข้ารับการตรวจได้ที่
  • ประชาสัมพันธ์ อาคารผู้ป่วยนอก โทร 02 256 5487
  • คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ โทร 02 256 5045, 02 256 5046, 02 256 5166, 02 256 5175, 02 256 5193-4หน่วยงานบรรจุผู้ป่วย โทร 02 256 4345, 4341, 4378, 4216
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โทร 02 256 4000 โทรสาร 02 256 5017
 
 

 
 
///////////////////
 
2. ตรวจสุขภาพ
 
ตรวจสุขภาพ อาคาร ภปร ชั้น 16
การตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้ง เป็นการช่วยค้นหาโรคหรือความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะแรก ทำให้ทราบภาวะสุขภาพ  ช่วยคัดกรองความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้จัดบริการตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับท่านเพื่อประโยชน์สูงสุดและสุขภาพอนามัยที่ดี ด้วยมาตรฐานโรงพยาบาลระดับนานาชาติ

ศูนย์ตรวจสุขภาพ อาคาร 14 ชั้น
ศูนย์ตรวจสุขภาพอาคาร 14 ชั้นให้บริการตรวจสุขภาพประจำปี
กรณีตรวจเพื่อขอใบรับรองแพทย์เพื่อสมัครงาน ศึกษาต่อ ขอถิ่นที่อยู่และใบรับรองแพทย์เพื่อเดินทางไปต่างประเทศ สามารถรับบริการได้ที่อาคารภปร.ชั้น16


 
3. บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือที่เรียกกันว่า ตรวจแล็บ (Laboratory investigation หรือเรียกย่อว่า Lab test) อาทิ การตรวจเลือด การตรวจพันธุกรรม (DNA) การตรวจปัสสาวะ การตรวจอุจจาระ การตรวจเชื้อ โดยแพทย์และเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา การตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นวิธีการหนึ่งของการสืบค้นเพื่อ
 
  • ช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคทางคลินิกของแพทย์
  • ช่วยการวินิจฉัยโรคของแพทย์
  • ช่วยประเมินวิธีรักษาและผลข้างเคียงจากการรักษา
  • ช่วยในการติดตามโรค
  • ช่วยการประเมินสุขภาพผู้ป่วย
ข้อบ่งชี้ในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ คือ อาการผู้ป่วย ประวัติทางการแพทย์ต่างๆ ผลจากการตรวจร่างกาย รวมทั้งจากดุลพินิจของแพทย์ โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อให้สามารถวินิจฉัยและประเมินอาการของผู้ป่วยได้ครอบคลุม ด้วยเครื่องมือและวิทยาการทางการแพทย์ที่ทันสมัย

ประเภทการตรวจ
  • การบริการตรวจทางรังสีวิทยา
  • การบริการตรวจด้วยเครื่องคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก (MRI)
  • การบริการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
  • การบริการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม
  • การบริการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์
  • การบริการตรวจทางรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
  • การตรวจโครโมโซมและเนื้อเยื่อประสาท
  • การตรวจทางพยาธิวิทยา
  • การตรวจทางจุลชีววิทยา
  • การตรวจทางปรสิตวิทยา
  • การตรวจนิติเซโรวิทยา DNA และการตรวจสารเป็นพิษ
  • การตรวจทางเวชศาสตร์ชันสูตร

4. บริการฉีดวัคซีน

การฉีดวัคซีนเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้สามารถป้องกันการติดเชื้อจากโรคที่สามารถป้องกันได้  ในวัยผู้ใหญ่ยังจำเป็นต้องได้รับวัคซีน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนที่จำเป็นได้ที่ เวชศาสตร์ป้องกันและสังคม อาคาร ภปร ชั้น 2 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสถานเสาวภา สภากาชาดไทย โดยมีรายละเอียด ดังนี้

2 จุดคือ ที่  อาคาร ภปร ชั้น 2 และ สถานเสาวภา
รายการวัคซีน
  • ไข้สมองอักเสบ (Encephalitis)
  • ไข้สมองอักเสบ เจดี (Live)
  • ไข้สมองอักเสบ เจอี
  • ไข้หวัดใหญ่
  • ไข้เหลือง
  • คอตีบ , บาดทะยัก (คอตีบ , บาดทะยัก,ไอกรน)
  • งูสวัด
  • ไทฟอยด์
  • นิวโมคอคคัส (PPSV / PCV)
  • บาดทะยัก / คอตีบ / ไอกรน / โปลิโอ (Tdap+IPV)
  • บาดทะยัก / คอตีบ บาดทะยัก (TT / dT)
  • ปอดอักเสบ
  • โปลิโอ ชนิดรับประทาน
  • พิษสุนัขบ้า
  • มะเร็งปากมดลูก
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ / โรคไข้กาฬหลังแอ่น (meningococcal menigitis)
  • ไวรัสตับอักเสบ  เอ
  • ไวรัสตับอักเสบ บี
  • ไวรัสตับอักเสบเอ และ บี
  • สุกใส
  • หัด หัดเยอรมัน คางทูม
  • อหิวาตกโรค ชนิดรับประทาน
  • ฮิวแมนปาปิโลมาไวรัส (Cervarix/Gardasil)
  • Anti HIV
 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
 
  • การบริการตรวจทางรังสีวิทยา อาคาร ภปร ชั้น 4 โทรศัพท์ 02 256 5370
  • การบริการตรวจด้วยเครื่องคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก (MRI) อาคาร อภันตรีปชา โทรศัพท์ 02 256 4595
  • การบริการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) อาคาร จุลจักรพงษ์ โทรศัพท์  02 256 4160
  • การบริการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม อาคาร ว่องวานิช ชั้น 2 โทรศัพท์ 02 256 4259
  • การบริการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ อาคาร โปษยานนท์ ชั้น 3 โทรศัพท์ 02 256 4283-4
  • การบริการตรวจทางรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา 02 256 4100
  • การตรวจทางเวชศาสตร์ชันสูตร อาคาร ภปร ชั้น4 02 256 5382
  • การตรวจทางจุลชีววิทยา อาคาร ภปร ชั้น4 02 256 5374
  • การตรวจโครโมโซมและเนื้อเยื่อประสาท อาคาร กายวิภาคศาสตร์ โทรศัพท์ 02 256 4281
  • การตรวจทางปรสิตวิทยา อาคาร ภปร ชั้น4 โทรศัพท์ 02 256 5386
  • การตรวจสารเป็นพิษ และDNA อาคาร นิติเวชศาสตร์ ชั้น2 และ4 โทรศัพท์ 02 256 4269 ต่อ 202
  • การตรวจชิ้นเนื้อพยาธิวิทยา อาคาร อปร ชั้น1 โทรศัพท์ 02 256 4000 ต่อ3510

 
5. บริการตรวจเลือดล่วงหน้า
บริการตรวจเลือดล่วงหน้า ช่องทางพิเศษ  สะดวกรวดเร็ว
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้เปิดบริการตรวจเลือดเพิ่มเติมช่องทางพิเศษที่สะดวกรวดเร็ว สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการตรวจเลือดล่วงหน้าโดยไม่ต้องการผลเลือดในวันนั้น  ซึ่งการให้บริการตรวจเลือดล่วงหน้า ผู้ป่วยใช้สิทธิ์การรักษาได้ตามปกติ
 
 
สถานที่และเวลา
ผู้ป่วยสามารถเข้ารับบริการได้ที่ ห้องตรวจเลือดอาคาร ส.ธ. ชั้น 3
วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 8.00 – 12.00 น.
 
กำเนิดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
 
เมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๔๐๑ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แหลมอินโดจีนเริ่มถูกคุกคามเอกราชจากการล่าอาณานิคมเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจ คือ ฝรั่งเศสและอังกฤษ  ทำให้ประเทศไทยสูญเสียการปกครองเขมรให้กับฝรั่งเศสในปี พ.ศ. ๒๔๐๖
 
สงครามการล่าอาณานิคมปะทุขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ เมื่อประเทศฝรั่งเศสได้ส่งกำลังทหารบุกประเทศลาวซึ่งขณะนั้นอยู่ในการปกครองของไทย จึงเกิดปะทะกันขึ้นจนทำให้นายทหารฝรั่งเศสนายหนึ่งเสียชีวิต  ฝรั่งเศสจึงใช้เหตุนี้เป็นอุบายเงื่อนไขในการรุกรานยึดครองดินแดนไทย  เมื่อไทยตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบทางยุทธวิธี จึงขอร้องให้อังกฤษเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยแต่กลับถูกปฏิเสธ ไทยจึงถูกละทิ้งให้โดดเดี่ยว ส่งผลให้กลิ่นไอสงครามคลุกกรุ่นไปทั่วสยาม  ดังคำกราบบังคมทูลของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ความว่า
 
 “บัดนี้ได้ทราบเกล้าว่า ฝ่ายนอกที่มีอำนาจปราศจากธรรมะ ทำการข่มขู่ด้วยอุบายต่างๆ จะแย่งชิงส่วนพระราชอาณาเขต เป็นเหตุให้พระมหาเศวตรฉัตรต้องสะดุ้งสะเทือนทั้งเกียตริยศและอิสรภาพของพระราชอาณาจักรจะเสื่อมทรามไป”
 
ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ จึงชักชวน “วงศาญาติบุตรหลานและมิตรสหายทั้งเพื่อนหญิงที่รักชาติ” เรี่ยไรออกทรัพย์ตามแต่ศรัทธา ตั้งขึ้นเป็น “สภาอุณาโลมแดง”   เพื่อช่วยเหลือชาติบ้านเมือง ให้การรักษาพยาบาลแก่ ทหารบก ทหารเรือ และประชาชนผู้บาดเจ็บในยามสงคราม รวมทั้งจัดซื้อยาและสิ่งของที่ควรแก่การพยาบาลส่งไปทุกกองทัพ  จากนั้นจึงกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เป็น “ชนนีผู้บำรุงการ” พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวีเป็น “สภานายิกา”  สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาพระบรมราชเทวีทรงนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระราชกระแสรับสั่งตอบว่า “เห็นว่าเป็นความคิดอันดี ซึ่งต้องด้วยแบบอย่างประเทศทั้งปวง” จึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้ง  “สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม” เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ถือเป็นวันกำเนิดสภากาชาดไทย
 
 
 
พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี องค์สภานายิกา  ทรงกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมเดชานุภาพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ รับเป็น “ ทานมยูปถัมภก” (หรือองค์บรมราชูปถัมภก) แห่งสภาฯ  เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๖  และทรงพระราชทานเงินส่วนพระองค์เป็นทุนในครั้งแรกจำนวน ๘๐,๐๐๐ บาท  อีกทั้งยังทรงมีพระราชหัตถเลขาสำแดงพระราชหฤทัยให้เป็นที่เชื่อมั่นหมายแก่สภาอุณาโลมแดง ว่า “ชีวิตและทรัพย์สินของฉันกับกรุงสยามนี้ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมิได้มีความหวงแหนเลย”  นอกจากนี้ยังทรงมีพระบรมราชโองการเวนคืนที่วังของกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศเพื่อจัดสร้างเป็นโรงพยาบาลสภาอุณาโลมแดง ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นการเร่งด่วนทันที
 
 
 
ในขณะเวลานั้นสถานการณ์ความขัดแย้งทรุดลง เมื่อทางฝรั่งเศสเห็นว่าไทยเสียเปรียบทั้งการทูตและการรบ จึงส่งทูตพิเศษผู้มีอำนาจเต็มพร้อมกับเรือรบมาจอดรอที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเจรจากับรัฐบาลไทยในวันที่  ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖  ทำให้เกิดความเข้าใจผิดจึงเกิดการสู้รบขึ้น มีทหารไทยบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยามจึงจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นเป็นการฉุกเฉินทันที ที่วัดมหาธาตุ เพื่อดูแลรักษาทหารและประชาชนผู้บาดเจ็บ   ทางฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทยตอบตกลงยินยอมยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศสทั้งหมดภายใน 48 ชั่วโมงแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ฝรั่งเศสจึงส่งเรือรบมาปิดปากอ่าวเมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ทำให้ฝ่ายไทยต้องยินยอม และตกลงทำสัญญามอบดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมดให้กับฝรั่งเศสในวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นการสูญเสียดินแดนมากถึง ๑๔๓,๘๐๐ตารางกิโลเมตร เสียพลเมืองกว่า ๖๐๐,๐๐๐ คน และเบี้ยปรับอีก ๓ ล้านฟรังก์ ซึ่งต้องชดใช้ด้วยเงินสะสมของในหลวงรัชกาลที่ ๓ ทั้งหมด เรียกว่า “เงินถุงแดง” ที่ไว้สำหรับไถ่บ้านไถ่เมือง
 
 
 
ครั้นสงครามสงบลง โรงพยาบาลสภาอุณาโลมแดงยังคงกิจการรรักษาพยาบาลแก่ประชาชนเรื่อยมา โดยมีแพทย์หลวงจากกรมพยาบาลมาตรวจรักษา แต่เนื่องจากมีที่ตั้งติดกับบริเวณจัดสร้างพระเมรุมาศในสมเด็จพระบรมโอสราธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ที่ทรงสวรรคตลง จึงจำเป็นต้องหยุดกิจการ  นับเป็นเวลาเปิดทำการอยู่นานราว ๗ ปี ส่วนสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยามนั้น ยังคงดำเนินกิจการอยู่ดังเดิม
 
 
 
เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชหัตถเลขาถึง พระราชโอรส กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ความว่า “ ….. สภาอุณาโลมแดงในกรุงนี้สงบเงียบหายไปเสียแล้ว ให้กรมยุทธนาธิการคิดจัดทั้งที่จะให้การเดินไป และที่จะแต่งตั้งผู้แทนไปประชุมเรื่องนี้ด้วย” ต่อมาจึงทรงเสด็จพระราชดำเนินไปรักษาพระอาการประชวร ณ ประเทศยุโรปกรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ทรงกราบบังคมทูล สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนครในเวลานั้นว่า
 
“ …… เวลานี้จึงเห็นเป็นไปว่า สภาอุณาโลมเงียบสงบไปเสียแล้ว แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถยังทรงพระกรุณาอุปถัมภ์การของสภาอุณาโลมนี้อยู่เสมอ…….เมื่อโปรดเกล้าให้ข้าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ดำริห์ในการที่จะจัดฟื้นสภาอุณาโลมนี้ขึ้นนั้น พระเดชพระคุณล้นเกล้าหาที่สุดมิได้ ข้าพระพุทธเจ้าจะได้กระทำการนี้โดยน้ำใจสุจริตยินดี ……ในที่จะจัดให้สภาอุณาโลมนี้ต่อไปภายหน้า มีทางจะทำได้ให้เป็นการถาวรมั่นคง คือ  หาที่ตั้งขึ้นเป็นโรงพยาบาลของสภาอุณาโลมแดงนี้เสียก่อน…..”
 
 
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงตรัสในที่ประชุมเสนาบดีสภา วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ ว่า “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ จะให้จัด (สภาอุณาโลมแดงฯ) ขึ้นไว้ให้มั่นคงสำหรับบ้านเมือง” แต่ก็ยังไม่ทันได้ดำเนินการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพลันทรงเสด็จสวรรคตเสียก่อน ในวันอาทิตย์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ เวลา ๒.๔๕ นาฬิกา ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต สิริพระชนมายุได้ ๕๗ พรรษา
 
 
 
จากนั้นเมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็นเวลาครบ ๑ เดือนหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานเงินส่วนพระองค์จำนวน ๕,๘๐๐ บาท เพื่อใช้จัดตั้งโรงพยาบาลสภาอุณาโลมแดง ทำให้พระราชโอรสพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์จึงทรงพร้อมพระทัยกันร่วมพระราชทานทรัพย์สมทบรวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๒๒,๙๑๐ บาท และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานเงินของสภาอุณาโลมแดงที่มีอยู่ทั้งหมด ๓๙๑,๒๕๙ บาท ๙๘ สตางค์เข้าสมทบเพิ่มเติม ซึ่งในจำนวนนี้มีเงินพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่แรกตั้งสภาอุณาโลมแดงอยู่เป็นจำนวนถึง ๘๐,๐๐๐ บาท และเพื่อให้การนี้สำเร็จได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ จอมพลพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม พระราชโอรสองค์ที่ ๑๗ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รับหน้าที่ดำเนินการจัดสร้างโรงพยาบาลฯ จนสำเร็จสมบูรณ์ นับเป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดของประเทศ ณ เวลานั้น
 
 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม  ปีพระพุทธศักราช ๒๔๕๗ พร้อมกับทรงมีพระราชดำรัสตอบในการเปิดโรงพยาบาลว่า
 
 “ในการบำเพ็ญกุศลถวายสมเด็จพระบรมชนกนาถนั้น ย่อมต้องระลึกดูว่า จะทำการอย่างใด จึงจะเป็นที่พอพระราชหฤทัย เราและพี่น้องจะฉลองพระเดชพระคุณได้ในทางใด หรือถึงแม้เสด็จสวรรคตล่วงลับไปแล้ว ถ้ามีวิธีใดที่จะทำให้ทราบถึงพระองค์ได้นั้น การอย่างใดจะเป็นที่พอพระราชหฤทัย เมื่อระลึกดูดังนี้ก็เห็นได้ว่า ตลอดเวลารัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถย่อมพอพระราชหฤทัยในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินที่ทรงปกครอง  สิ่งไรทำขึ้นให้นำมาซึ่งความสุขความสำราญแก่ประชาชน สิ่งนั้นย่อมพอพระราชหฤทัยยิ่งนัก….จึงตกลงกันว่า ถ้าสร้างโรงพยาบาลขึ้นเป็น “ราชานุสาวรีย์” คงจะเป็นที่พอพระราชหฤทัยเป็นแน่แท้”
 
 
การจัดสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์แห่งสภากาชาดไทยนี้ได้สำเร็จลุล่วงตามพระราชปณิธานแห่งพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ถึง ๒ พระองค์ เป็นพระวิริยะอุตสาหะอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานถึง ๑๘ ปี (พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๕๔) กว่าจะได้จัดสร้างจนสำเร็จลุล่วง จึงทรงพระราชทานนามโรงพยาบาลแห่งสภาฯ นี้ใหม่ว่า
 
 
“โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์”  
  “พระราชานุสาวรีย์” แห่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เพื่อน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ต่อแผ่นดินไทย…..สืบไปตลอดกาลนาน
 
ผศ.นพ.ถนอม บรรณประเสริฐ
ผู้เรียบเรียงและบันทึกประวัติศาสตร์
๒๓ มกราคม ๒๕๖๑

คลินิกเครือข่ายประกันสังคม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

รพ.จุฬาฯ ไม่มีเครือข่ายคลินิกประกันสังคม