ประวัติโรงพยาบาลชัยบาดาล
เมื่อปี พ.ศ. 2508 รัฐบาลได้อนุมัติเงินให้ดำเนินการก่อสร้าง สถานีอนามัยชั้นหนึ่งอำเภอชัยบาดาล โดยทำการก่อสร้างในบริเวณเนื้อที่ 2 ไร่ ตั้งอยู่ระหว่างที่ว่าการอำเภอ กับที่ทำการไปรษณีย์ชัยบาดาล และทำพิธีเปิดสถานีอนามัยชั้นหนึ่งอำเภอชัยบาดาล เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2510 เปิดดำเนินการรักษาพยาบาลและป้องกันโรค โดยมีนายแพทย์และ เจ้าหน้าที่อนามัยปฏิบัติงาน ต่อมา ปี พ.ศ. 2515 กระทรวงสาธารณสุขได้เปลี่ยนชื่อสถานีอนามัยชั้นหนึ่งเป็น ศูนย์การแพทย์และอนามัย แพทย์ซึ่งเป็นนายแพทย์ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นนายแพทย์ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์และอนามัย
จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 นายนิยม วรปัญญา ซึ่งขณะนั้นเป็นส.ส.ลพบุรี ได้ของบประมาณพร้อมทั้งแสดงความจำนงในการบริจาคที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงพยาบาล 30 เตียง เพราะว่าที่เดิมนั้นมีเนื้อที่คับแคบไม่เหมาะในการขยายการก่อสร้าง ต่อมาทางราชการได้จัดสรรงบประมาณเพื่อทำการก่อสร้าง มีประชาชนตลอดจนพระภิกษุให้การสนับสนุนหาที่ดินเพื่อทำการก่อสร้าง และทางราชการพิจารณาได้คัดเลือกที่ดิน นายเมธา เกษไชย นางประวีณา เกษไชย และนายสิน รู้การนา นางหวน รู้การนา จำนวน 30 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินอันเป็นที่ตั้งโรงพยาบาลในปัจจุบัน เนื่องจากบริเวณก่อสร้างโรงพยาบาลห่างจากถนนสุระนารายณ์ จึงจำเป็นต้องทำถนนเขตโรงพยาบาลไปจนถึงถนนสุระนารายณ์ เพื่อช่วยให้การเข้าออกสะดวกยิ่งขึ้น ได้มี นายเมธา เกษไชย และนางสายพาน โล่กุลสมบัติ บริจาคที่ดินเพื่อทำการขยายถนน และในระยะต่อมา เจ้าอธิการประมุข ปชากุโล ได้บริจาคที่ดินเพิ่มให้อีก 1 ไร่ เพื่อเตรียมสร้างตึกพิเศษสงฆ์อาพาธ รวมเป็นเนื้อที่ทั้งหมด 31 ไร่
ทางราชการได้เปิดประมูลการก่อสร้าง และได้ทำสัญญาก่อสร้างเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2519 ได้ทำการวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้าง ที่ตึกอำนวยการและคนไข้นอกเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2519 โดยมีพลตรีวิทย์ นิ่มนวล ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีเป็นประธานในพิธี นายแพทย์ประกอบ บุญมงคล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลพบุรีในขณะนั้นในปีงบประมาณ 2520 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้ในการก่อสร้างแล้วเสร็จในตอนกลางปี พ.ศ. 2521 และเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2522 โดยมี ศ.นพ.ประพนธ์ ปิยะรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานในพิธีเปิดโรงพยาบาลชัยบาดาล
โรงพยาบาลชัยบาดาลได้ย้ายอุปกรณ์มาจากสถานีอนามัยชั้นหนึ่ง หรือโรงพยาบาลเดิมและมาเปิดดำเนินการวันแรก เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2522 เป็นโรงพยาบาล ขนาด 30 เตียง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 เนื่องด้วยปริมาณผู้ป่วยเพิ่มจำนวนขึ้น โรงพยาบาลมีพื้นที่รับผิดชอบถึง 21 ตำบล และมีนโยบายยกระดับโรงพยาบาลชัยบาดาลให้เป็น 60 เตียง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 จากยอดผู้รับบริการที่มากขึ้น และศักยภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงพยาบาลได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลขนาด 90 เตียง
ในปี พ.ศ. 2554 โรงพยาบาลชัยบาดาลได้ถูกกำหนดให้เป็นโรงพยาบาลทุติยภูมิระดับสูง (M2) เป็นโรงพยาบาลขนาด 120 เตียง มีศักยภาพทางการรักษาสูงขึ้นมีแพทย์เฉพาะทาง ศัลยแพทย์,สูติ-นรีแพทย์,กุมารแพทย์,วิสัญญีแพทย์,ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์,อายุรแพทย์,จักษุแพทย์,แพทย์เวชศาสตร์รอบครัว,แพทย์ทั่วไป
เกียรติประวัติของ รพ.ชัยบาดาล
–
–
2548
เกียรติบัตร โรงพยาบาลลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย
13
พฤศจิกายน
2550
HA ขั้น 2
7
มกราคม
2551
HNQA
–
มีนาคม
2551
โรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัวระดับทองแดง
16
มิถุนายน
2553
HA ขั้น 1
–
กรกฎาคม
2553
โรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัวระดับทอง ครั้งที่ 1
30
พฤศจิกายน
2554
งานชันสูตรได้ผ่านการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐานงานเทคนิค การแพทย์ 2551 โดยสภาเทคนิคการแพทย์
–
–
2554 และ 2555
งานรังสีได้ผ่านการรับรอง การประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการรังสีวินิจฉัยระดับเงิน
9
เมษายน
2556
ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน บริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน
8
เมษายน
2557
ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน บริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน
21
ตุลาคม
2556
งานรังสีผ่านการประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการรังสีวินิจฉัย ระดับดี
17
กรกฎาคม
2557
ผ่านการประเมินรับรอง ศูนย์การเรียนรู้องค์กรต้นแบบไร้พุง
28
กรกฎาคม
2557
โรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัวระดับทอง ครั้งที่ 2