ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลตำรวจ

Police General Hospital

Logo Thumb preview

ที่อยู่/ติดต่อ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 492/1 ถนนพระราม 1 ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

ข้อมูล/ประกาศ/บริการ โรงพยาบาลตำรวจ



ตารางแพทย์ OPD โรงพยาบาลตำรวจ
  • กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม
  • กลุ่มงานตา
  • กลุ่มงานทันตกรรม
  • กลุ่มงาน หู คอ จมูก
  • กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์
  • กลุ่มงานจิตเวช และยาเสพติด
  • กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว
  • คลินิกนอกเวลา
  • กลุ่มงานกุมารเวชกรรม
  • กลุ่มงานอายุรกรรม
  • กลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • กลุ่มงานศัลยกรรม
  • คลินิกรุ่งอรุณ

Facebook โรงพยาบาลตำรวจ


โรงพยาบาลตำรวจ
ก่อตั้ง : 13 ตุลาคม พ.ศ. 2495 (ได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาล)
ผู้ก่อตั้ง: พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์
ที่ตั้ง: ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร


พ.ศ. 2441
กิจการแพทย์ตำรวจได้เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2441 รัฐบาลได้เปลี่ยนโรงพยาบาล สำหรับรักษาหญิงโสเภณีที่หลังวัด พลับพลาไชย ซึ่งสร้างปี พ.ศ.2440 มาเป็นโรงพยาบาลตำรวจสำหรับพลตระเวน เพื่อรักษาตำรวจที่เจ็บป่วยพิสูจน์ บาดแผลและชันสูตรพลิกศพ เพื่อประกอบการพิจารณาคดีต่างๆ โดยมีชนชาติอังกฤษ ม.อีริก เชนต์เจ สองสัน มาเป็นเจ้ากรมกองตระเวนได้ชวนแพทย์ชาวต่างชาติมาช่วยทำการรักษา ประชาชนทั่วไปจึงนิยมมากและเรียกกันว่า "โรงพยาบาลวัดโคก" ต่อมาจึงได้มีแพทย์จากโรงพยาบาลศิริราชมาร่วมคือ ร.ต.อ.ชุนแพทย์ พลตระเวน (ต่อมาเลื่อนเป็นหลวงบริบาลเวชกิจ) ร.ต.ท.ขุนเจน พยาบาล (เจน บุษปวณิช) ต่อมาได้เป็นหัวหน้าแผนกแพทย์ และเลื่อนยศเป็น พ.ต.ท.หลวงเจน พยาบาล
 
พ.ศ. 2458
- พ.ศ.2458 กรมกองตระเวนและกรมตำรวจภูธรรวมกันเป็น "กรมตำรวจ" โรงพยาบาลวัดโคกถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลกลาง" และถูกโอนไปสังกัดกองสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กรมตำรวจได้จัดตั้งสถานพยาบาลใหม่เรียกว่า "กองแพทย์กลางกรมตำรวจ" ตั้งอยู่ที่สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง โดยมี พ.ต.ท.หลวงเจน พยาบาล เป็นหัวหน้ากองทำหน้าที่เช่นเดิม เมื่อต้องการรับรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล ก็ส่งต่อผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลกลาง
 
พ.ศ. 2477-2483
- พ.ศ.2477 กองแพทย์กลาง กรมตำรวจ ถูกลดฐานะเป็น "แผนกแพทย์กองกลาง กรมตำรวจ" เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและงบประมาณขณะนั้น - พ.ศ.2482 แผนกแพทย์กลาง ย้ายไปทำการอยู่ที่ตึกหลังใหม่ ภายในกรมตำรวจ ปัจจุบันนับเป็นที่ทำการของกองกำกับการ 2 กองบังคับการตำรวจสันติบาล - พ.ศ.2483 แผนกแพทย์กลางได้ถูกเปลี่ยนชื่อ แผนก 6 (แพทย์) กองปกครอง
 
พ.ศ. 2490-2491
- พ.ศ.2490 แผนก 6 (แพทย์) ได้ถูกเปลี่ยนชื่อ แผนก 5 (แพทย์) กองปกครอง - พ.ศ. 2491 แผนก 5 (แพทย์) ถูกยกฐานะเป็น "กองแพทย์กรมตำรวจ" ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการจเรตำรวจ มี พ.ต.ท.ขุนทวี เวชกิจ (แม้น ทวีเวชกิจ) เป็นหัวหน้า ในระยะนี้เริ่มเป็นปึกแผ่นมากขึ้น แบ่งแผนกเป็นแผนกพยาบาล แผนกเวชภัณฑ์
 
พ.ศ. 2495
- พ.ศ. 2495 แผนกพยาบาล ได้รับการยกฐานะเป็น โรงพยาบาลตำรวจ (รพ.พต.) ขึ้นต่อ "กองแพทย์" เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2495 โดยมีตึกชาติตระการโกศล และตึกโอวปุ้นโฮ้ว รับผู้ป่วยได้ 50 เตียง โดยมี พ.ต.อ.ก้าว ณ ระนอง เป็นนายแพทย์ผู้อำนายการ และพ.ต.ท.แสวง วัจนสวัสดิ์ เป็นหัวหน้ากองแพทย์ ได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นอย่างมาก มีอาคารทำการ 2 หลัง คือตึก "ชาติตระการโกศล" 2 ชั้น (ปัจจุบันได้ถูกรื้อและสร้างแทนด้วย "ตึกเฉลิมพระเกียรติ ร.9" มี 15 ชั้น) และ"ตึกพิบูลสงคราม" มี 3 ชั้น (ปัจจุบันได้ถูกรื้อและสร้างแทนด้วย "ตึกมงคลกาญจนาภิเษก" มี 19 ชั้น) มีจำนวนเตียง ทั้งหมด 150 เตียง
 
พ.ศ. 2496-2497
- พ.ศ. 2496 จึงได้เปิดตึก "พิบูลสงคราม" เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2496 รับผู้ป่วยได้ 150 เตียง
- พ.ศ. 2497 จึงได้เปิดตึก "ละเอียดพิบูลสงคราม" เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2497 เป็นตึกผ่าตัดและที่ทำการกองแพทย์
 
พ.ศ. 2503
- พ.ศ. 2503 กิจการกองแพทย์ตำรวจเจริญรุดหน้ามาโดยลำดับ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 กรมตำรวจได้มีคำสั่ง ตั้ง พ.ต.อ.อุทัย ศรีอรุณ เป็นนายแพทย์ผู้อำนวยการ พ.ต.อ.บรรจง สถิรแพทย์ เป็นรองผู้อำนวยการ และ พ.ต.ต. แสวง วัจนสวัสดิ์ เป็นหัวหน้ากองแพทย์ และให้กองแพทย์ตำรวจ ไปขึ้นตรงต่อกรมตำรวจ
 
พ.ศ. 2506
- ตึกชาติตระการโกศล นับเป็นอาคารหลังแรกของโรงพยาบาลตำรวจ ภาพถ่ายพร้อมโปสเตอร์ภาพยนตร์การกุศลให้กับ โรงพยาบาลตำรวจ 6 ตุลา 2506
 
พ.ศ. 2507
- วันที่ 19 สิงหาคม 2507 เปิดตึกคนไข้พิเศษทางศัลยกรรม ขนาด 34 เตียง ชื่อตึก "ตวงสิทธิ์อนุสรณ์" และในปีเดียวกันโรงพยาบาลได้รับอนุมัติให้มีการวางแผนขยายเตียง เพื่อให้รับ ผู้ป่วยได้ถึง 1,500 เตียง ในระยะเวลา 15 ปี
 
 
 
พ.ศ 2510-2511
- วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2510 โรงพยาบาลตำรวจ เปิด "ตึกรุจิรวงศ์" เพื่อรับคนไข้พิเศษทางอายุรกรรม และ "ตึกศรีวิกรณ์ 1-3 " สร้างโดยเงินบริจาคเพื่อให้เป็นหอผู้ป่วยพิเศษ สำหรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หรือบุคคลสำคัญ พ.ศ. - วันที่ 10 มกราคม 2511 โรงพยาบาลตำรวจ เปิด "ตึกบุญพินิจ" และ วันที่ 23 สิงหาคม 2511 เปิด "ตึกทองหล่อทรงสะอาด" เป็นตึกทำการของงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู
 
 
พ.ศ. 2512
- วันที่ 26 ธันวาคม 2512 โรงพยาบาลตำรวจ เปิด "ตึกอำนวยการและอุบัติเหตุ" เป็นอาคาร 5 ชั้น สร้างด้วยเงินบริจาค จากสำนักงานสลากกินแบ่ง และเงินทุนรุจิรวงศ์ เวลาต่อมา โรงพยาบาลตำรวจ ต้องขยายเตียงจาก 150 เตียง เป็นตึกอำนวยการ 200 เตียง ในปี พ.ศ. 2510
- 260 เตียง ในปี พ.ศ. 2521
- 300 เตียง ในปี พ.ศ. 2523
- 400 เตียง ในปี พ.ศ. 2524
- 500 เตียง ในปี พ.ศ. 2525
- 680 เตียง ในปี พ.ศ. 2529
- 800 เตียง ในปี พ.ศ. 2532
- 850 เตียง ในปี พ.ศ. 2542
 
พ.ศ 2522
- พ.ศ. 2522 กองแพทย์ได้รับการยกฐานะเป็น "สำนักงานแพทย์ใหญ่ (พต.)" ตั้งแต่ 26 เมษายน 2522 มีการแบ่งส่วนราชการภายในเป็น 4 กองบังคับการ และ 1 งาน คือ
- กองบังคับการอำนวยการ (บก.อก.)
- โรงพยาบาลตำรวจ (รพ.)
- วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ (วพ.)
- สถาบันนิติเวชวิทยา (นต.)
- งานโรงพยาบาลดารารัศมี (ดร.)
 
พ.ศ 2535
- พ.ศ. 2535 เปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ ร.9 308 เตียง เป็นห้อง ไอ.ซี.ยู. หอผู้ป่วยพิเศษและสามัญ ดาดฟ้าเป็นลาดจอดเฮลิคอปเตอร์ดำเนินการก่อสร้าง โดยมูลนิธิ รพ.ตำรวจ เป็นผู้จัดหาเงินบริจาค ค่าก่อสร้าง ธนาคารทหารไทย จัดสร้างให้ 7 ชั้น วงเงิน 36 ล้านบาท ต่อมา ขยายเป็น 15 ชั้น ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น และอุปกรณ์ต่างๆประมาณ 200 ล้านบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเปิดอาคาร 16 ม.ค. 2535 ได้เปิดดำเนินการเป็นบางส่วนแล้ว ถึงชั้น 12 จะทยอยเปิด ตามอัตรากำลังพล
 
พ.ศ 2536
- พ.ศ. 2536 พต. ทำการรื้อตึกพิบูลสงคราม และตึกละเอียดพิบูลสงคราม เพื่อทำการก่อสร้างอาคารบำบัดน้ำเสีย รวมทั้งชั้นบนเป็นที่จอดรถ เริ่มสร้างวันที่ 3 กันยายน 2536 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2538 ด้วยงบประมาณ 172 ล้านบาท
 
พ.ศ 2537
- พ.ศ. 2534 พต. ทำการรื้อถอนตึกรังสีและทันตกรรม ตึกโอวบุ้นโฮว้ ตึกไกลมานนท์ เพื่อทำการก่อสร้างตึกเฉลิมพระเกียรติราชินี เริ่มสร้างวันที่ 1 มีนาคม 2537 แล้วเสร็จวันที่ 16 ตุลาคม 2539 ด้วยเงินงบประมาณ 175 ล้านบาท
 
พ.ศ 2538
- พ.ศ. 2538 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2538 พต. ทำการก่อสร้างอาคารมงคลกาญจนภิเษก ตรงบริเวณด้านหลังตึกเฉลิมพระเกียรติ ด้วยเงินงบประมาณ 293 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นตึกผู้ป่วยศัลยกรรม และออร์โธปิดิกส์ ดังนี้ ชั้นที่ 2-3-4 เป็นห้องผ่าตัด ชั้นที่ 5-6-7 เป็นสำนักงานแพทย์ วิสัญญี ศัลยแพทย์ ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ชั้น 8-9-10 เป็นตึกผู้ป่วยสามัญ ชั้นที่ 11-12-13 เป็นตึกผู้ป่วยพิเศษ
 
- และในวันเดียวกัน (วันที่ 1 พฤศจิกายน 2538) ได้ทำการก่อสร้างอาคารที่พักพยาบาลในบริเวณด้านหลังของโรง พยาบาลตำรวจตรงตำแหน่งหอพักเก่า เป็นอาคารสูง 14 ชั้น สามารถใช้เป็นที่พักพยาบาลได้จำนวน 704 คน ใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 137 ล้านบาท