ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลบางแพ

Bang Phae Hospital

Logo Thumb preview

ที่อยู่/ติดต่อ
124 หมู่ 8 ต.วังเย็น อ.บางแพ จ.ราชบุรี 70160
โทรสาร 0-3238-1020

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

ข้อมูล/ประกาศ/บริการ โรงพยาบาลบางแพ

 

Facebook โรงพยาบาลบางแพ

 

ประวัติโรงพยาบาลบางแพ

ปี พ.ศ. 2524 สาธารณสุขอำเภอบางแพ ได้แจ้งให้ชาวบ้านทราบว่าทางราชการได้จัดสรรเงินงบประมาณให้สร้างโรงพยาบาลชุมชนขนาด 10 เตียง ที่อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เป็นเงิน 4,752,500 บาท (สี่ล้านเจ็ดแสนห้าหมื่นสองพันห้าร้อยบาท) เป็นค่าก่อสร้างตึกอำนวยการ บ้านพักแพทย์ บ้านพักพยาบาล โรงซักฟอก แต่ไม่มีงบประมาณ เป็นค่าที่ดินอันเป็นสถานที่ก่อสร้างโรงพยาบาล โดยให้ประชาชนเป็นผู้จัดหาที่ดินให้ทางราชการ ดังนั้นประชาชนชาวบางแพ จึงได้ร่วมประชุมกันเพื่อดำเนินการจัดหาที่ดิน ก่อสร้างโรงพยาบาลซึ่งประกอบด้วย
 
1. พระครูโสภณธรรมภานี เจ้าคณะอำเภอบางแพ
2. นายผิน ตัณฑะเตมีย์
3. นายอุดม กิจเจริญ
4. นายเล็ก อัตตาหกุล
5. นายบุญรอด ศรีวรกุล
6. นายถนอม กลิ่นหอม
 
โดยมีพระเทพโมลี (ประจวบ กนตาจาโร สมศักดิ์ขณะนั้น) เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม และนายแพทย์อมร นนทสุต อธิบดีกรมอนามัย เป็นที่ปรึกษา พระครูโสภณธรรมภานี ได้ร่วมกันบอกบุญแด่ผู้มีจิตศรัทธา ในเขตอำเภอบางแพ อำเภอโพธาราม อำเภอบ้านโป่ง และพื้นที่ใกล้เคียง ได้รวบรวมเงินเพื่อซื้อที่ดิน สร้างโรงพยาบาล โดยการทอดผ้าป่าสามัคคีได้รับเงินทั้งสิ้น 2,270,899.38 บาท และนำไปซื้อที่ดิน 20 ไร่ และปรับที่ดินเพื่อทำการก่อสร้าง เป็นเงิน 1,270,797 บาท
 
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2526 ได้มีการวางศิลาฤกษ์อาคารอำนวยการ โดยสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฒโน ป.ธ. 9) สร้างตึกแล้วเสร็จ และเปิดบริการคนไข้ครั้งแรก ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 โดยมี นายแพทย์เกียรติศักดิ์ จิรโสติกุล เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่านแรก ต่อมามีคนไข้มารับบริการเพิ่มมากขึ้น มีเตียงพักคนไข้ไม่เพียงพอ คณะกรรมการเห็นความจำเป็น จึงได้ประชุมร่วมกัน และร่วมกันหาเงินบริจาคสร้างตึก คนไข้ขนาด 20 เตียง (ตึกประสาท-สิริพร เต็มเจริญ) โดยนายประสาท และ นางสิริพร เต็มเจริญ บริจาคสมทบทุน เป็นเงิน 400,000 บาท โดยใช้เงินในการก่อสร้าง ซื้อครุภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์ ทั้งหมดเป็นเงิน 1,600,000 บาท เงินบริจาคที่เหลือคณะกรรมการได้จัดตั้งเป็นมูลนิธิบางแพ เพื่อเก็บดอกผลไว้ใช้ในการดำเนินกิจการ ของโรงพยาบาลบางแพ ในวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2528 เป็นวันที่คณะกรรมการและชาวบางแพได้ร่วมกับทางราชการ มีท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางแพ นายอำเภอบางแพ และข้าราชการทุกฝ่ายของอำเภอบางแพ ร่วมกันจัดงานเปิดและฉลองโรงพยาบาลอย่างเป็นทางการโดยมี ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายมารุต บุนนาค) มาเป็นประธานพิธีเปิดตึก และต่อมาโรงพยาบาลบางแพจึงได้รับการยกฐานะ จากโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง เป็น 30 เตียง ด้วยตนเองเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2533
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 คณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลบางแพ เห็นว่าจำนวนคนไข้ไม่เพียงพอ และสถานที่คับแคบ และประกอบกับในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี อันเป็นโอกาสอันดีที่ประชาชนชาวอำเภอบางแพ โดยการนำของพระครูโสภณอาจารคุณ เจ้าคณะอำเภอบางแพในความอุปถัมภ์ของ พระธรรมปัญญาจารย์เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม ร่วมกันบริจาคเงินก่อสร้าง “อาคารเฉลิมพระเกียรติ” เป็นอาคารคนไข้ขนาด 60 เตียง 2 ชั้น พร้อมครุภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์เพื่อถวายเป็นเงินพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นเงินทั้งสิ้น 8,500,000 บาท เมื่อสร้างแล้วเสร็จ ได้เปิดรับผู้ป่วย เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และได้รับอนุมัติจากสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธาณสุข ให้ยกฐานะโรงพยาบาลจากขนาด 30 เดียง เป็นโรงยาบาลขนาด 60 เตียง เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2539 และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด “อาคารเฉลิมพระเกียรติ” เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2542
 
ลำดับเหตุการณ์
ปี 2524 ได้งบประมาณก่อสร้างโรงพยาบาล 10 เตียง เป็นเงิน 4,752,500.- บาท
ปี 2526 วางศิลาฤกษ์ตึกอำนวยการ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2526 โดยสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฒโน ปธ.9)
ปี 2527 เปิดบริการคนไข้ครั้งแรก วันที่ 1 พฤษภาคม 2527
ปี 2528 เปิดโรงพยาบาลอย่างเป็นทางการ วันที่ 13 มีนาคม 2528
ปี 2533 11 มิถุนายน 2533 ยกฐานะโรงพยาบาลจาก 10 เตียง เป็น 30 เตียง
ปี 2538 สร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 เตียง
ปี 2539 9 มิถุนายน 2539 อาคารเฉลิมพระเกียรติเปิดให้บริการผู้ป่วย
1 สิงหาคม 2539 ยกฐานะ 30 เตียง เป็น 60 เตียง
ปี 2542 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯได้เสด็จทรงเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2542