ประวัติโรงพยาบาลบ้านด่าน
ท้องที่อำเภอบ้านด่านเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองบุรีรัมย์ ทางราชการได้แบ่งพื้นที่ จำนวน 4 ตำบล ได้แก่ บ้านด่าน, ปราสาท, วังเหนือ และโนนขวาง ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอบ้านด่าน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2539
และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอบ้านด่าน โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8กันยายน 2550 เป็นต้นไป
พ.ศ. ๒๕๕๒ สปสช.เขต ๙ ได้เสนอโครงการโรงพยาบาลไร้ความแออัด สสอ.บ้านด่านจึงได้แยกออกมาเป็นเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิบ้านด่าน (Cup split) มีโรงพยาบาลบุรีรัมย์เป็นแม่ข่าย
ต่อมามีมติคณะรัฐมนตรีให้สร้างโรงพยาบาลบ้านด่าน ขนาด ๓๐ เตียง (F3) มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๙ ไร่ โดยมีตึกผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุฉุกเฉิน และเปิดดำเนินการ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ และเริ่มให้บริการ ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๗
เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลเปิดใหม่ที่มีประชากรน้อย โดยประชากรส่วนใหญ่ยังขึ้นทะเบียนกับเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิบ้านด่าน (Cup split) สสจ.บุรีรัมย์จึงได้ทำ MOU กับโรงพยาบาลบุรีรัมย์ให้มาช่วยการบริหารและสนับสนุนด้านการบริการ รวมทั้งด้านการเงิน
ขอบเขตการให้บริการ
- โรงพยาบาลบ้านด่าน เป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 10 เตียง (ตามกรอบที่ขอจัดตั้ง)
- ให้บริการ ตรวจ วินิจฉัย ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค บำบัดรักษา และฟื้นฟูสภาพแบบองค์รวมทั้งในและนอกโรงพยาบาลตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ จนถึงตติยภูมิ แก่ประชาชนในอำเภอบ้านด่านและทั่วไป
- ร่วมมือกับโรงพยาบาลบุรีรัมย์และหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขในจังหวัดและอำเภอใกล้เคียงในการดูแลรักษาผู้ป่วย กรณีที่เกินขีดความสามารถเช่น การผ่าตัด รังสีรักษา การตรวจวินิจฉัยพิเศษ เป็นต้น
- ให้การศึกษาดูงาน และฝึกอบรมแก่บุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขา และนักศึกษาสาขาอื่นที่มาฝึกงานของภาครัฐและเอกชน
- ศึกษาวิจัยและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นพี่เลี้ยงและให้คำปรึกษาในการพัฒนาคุณภาพและงานวิจัยแก่รพ.สต.หรือหน่วยงานต่างๆ
- ให้การสนับสนุนหน่วยงานอื่น ตามที่ได้รับการประสานงาน หรือขอความร่วมมือ ทั้งในและนอกสถานที่
- ปฏิบัติงานตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่ได้รับมอบหมาย