ประวัติความเป็นมาของโรงพยาบาลปะคำ
ปะคำ เป็นชื่อหมู่บ้านป่าชาวบ้านอพยพมาจากเมืองโคราชภายใต้การนำของหลวงพ่ออุดมเวช โดยมาตั้งบ้านเรือนพร้อมเจ้าเมืองนางรองสมัยโบราณ มีอาชีพในการจับช้างเพราะบริเวณนี้ช้างชุกชุม และใช้ภาษาโคราชตามต้นตระกูล ต่อมาชาวบ้านได้ขุดพบพระพุทธรูป 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปหิน อีกเรียกว่า วัดปะพระทองคำ และกลายเป็นชื่อหมู่บ้านด้วย บ้านปะพระทองคำนี้ ต่อมาเรียกสั่นๆตามลักษณะนิสัยของคนไทยว่า บ้านปะคำ จนมีชื่อบ้านปะคำมาจนทุกวันนี้ ปัจจุบันพระพุทธรูปทองคำประดิษฐานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และวัดปะพระทองคำได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดโพธิ์ย้อย เนื่องจากภายในวัดมีต้นโพธิ์อยู่ 3 ต้น เมื่อมีชาวบ้านอพยพมาอยู่กันมากขึ้น จึงได้ยกฐานะเป็นตำบล ขึ้นต่ออำเภอนางรองและแยกขึ้นต่อกิ่งต่อกิ่งอำเภอละหานทรายตามลำดับ ต่อมาทางราชการจึงยกฐานะตำบลปะคำเป็นกิ่งอำเภอปะคำเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2521 และประกาศยกฐานะเป็นอำเภอปะคำ
โรงพยาบาลปะคำ เดิมเป็นสถานีอนามัยประจำตำบล ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลปะคำ เปิดให้บริการผู้ป่วย เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2509 มีเจ้าหน้าที่ผดุงครรภ์อนามัยประจำ 1 คน และพนักงานอนามัย 1 คน ต่อมา ประจำ ตำบลปะคำยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอปะคำเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2521 สถานีอนามัยแห่งนี้จึงเป็นสถานีอนามัยประจำกิ่งอำเภอ และเป็นที่ทำการของสำนักงานสาธารณสุขกิ่งอำเภอด้วย ทำให้สถานีคับแคบไม่สะดวกในการให้บริการประชาชนที่คงมีการเพิ่มขึ้นมากทุกปี
ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 กิ่งอำเภอปะคำได้ยกฐานะเป็นอำเภอปะคำ และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2529 อำเภอปะคำได้งบประมาณให้สร้างโรงพยาบาลปะคำ สาขาโรงพระยาบาลนางรอง โดยย้ายมาดำเนินการบ้านโคกงิ้ว หมู่ 3 ตำบลปะคำ อำเภอปะคำ และได้เปิดบริการเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2530 โดยมีคณะแพทย์และเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลนางรองมาเป็นพี่เลี้ยง และสนับสนุนทางด้านเวชภัณฑ์ ครุภัณฑ์ วัสดุทางการแพทย์ต่างๆ โดยโรงพยาบาลนางรองได้จัดสรรแพทย์มาตรวจคนไข้ในวันอังคารของทุกสัปดาห์
ต่อมาเดือน กันยายน พ.ศ. 2530 โรงพยาบาลปะคำ สาขาโรงพยาบาลนางรอง ได้รับงบประมาณขยายโรงพยาบาลขนาด10 เตียง ได้สร้างตึกผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 1 หลัง ตึกผู้ป่วยใน 1 หลัง โรงพัสดุและซักฟอก 1 หลัง โรงไฟฟ้า 1 หลัง บ้านพักระดับ 5-6 1 หลัง ระดับ 3-4 1 หลัง และระดับ 1-2 แบบแฟลต 2 หลัง ในช่วงที่เป็นโรงพยาบาลสาขานั้น มีนายแพทย์ประวัติ ทรงทันรักษ์ รักษาการโรงพยาบาลปะคำ สาขาโรงพยาบาลนางรอง
ต่อมาในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2532 โรงพยาบาลปะคำ สาขาโรงพยาบาลนางรองได้ยกฐานะขึ้นเป็น โรงพยาบาลปะคำขึ้นตรงต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ และได้มีการปรับปรุงพัฒนาในโรงพยาบาล เช่น มีตึกคนไข้สำหรับนอนพักรักษา มีห้องเอ็กซ์เรย์ ห้องชันสูตร ห้องผ่าตัด และมีเจ้าหน้าที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของโรงพยาบาล
ต่อมาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2536 โรงพยาบาลปะคำได้รับงบประมาณขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง ได้สร้างตึกผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้น 1 หลัง ตึกผู้ป่วยใน 1 หลัง โรงรถและพัสดุ 1 หลัง โรงครัวและซักฟอก 1 หลัง บ้านพักระดับ 7–8 1 หลัง บ้านพักระดับ 5-6 1 หลัง ระดับ 3-4 4 หลัง และระดับ 1-2 5 หลัง และได้เปิดบริการผู้ป่วยนอกใหม่ในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยมีนายแพทย์ชาตรี ขาวสกุล รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลปะคำ ได้มีการปรับปรุง พัฒนาโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น เช่น ปรับปรุงตกแต่งบริเวณรอบอาคาร สวนหย่อม ซ่อมแซมและสร้างถนนเพิ่มขึ้น และห้องพิเศษในตึกผู้ป่วยในสำหรับคนไข้นอนพักรักษา
ปัจจุบันโรงพยาบาลปะคำได้มีการปรับปรุงพัฒนาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และได้รับป้ายทอง 5 ส จาก ดร.ศิริกานดา ศรีวิลัย ในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2545
ต่อมาโรงพยาบาลปะคำได้เริ่มโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้การบริการผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น และได้ปรับปรุงการพัฒนาโรงพยาบาลในด้านต่างๆ ซึ่งเริ่มจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเอง โดยให้ยึดหลักปฏิบัติตามดังนี้
วิสัยทัศน์
มุ่งมั่นคุณธรรม ป้องปรามการทุจริต เป็นองค์การใสสะอาด มีธรรมาภิบาล
งานบริหารสาธารณสุข
โรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง 1 แห่ง
สำนักงานสาธารณสุข 1 แห่ง
สถานีอนามัย 7 แห่ง
รายชื่อผู้อำนวยการโรงพยาบาลปะคำ
1.นายแพทย์ประวัติ ทรงทันตรักษ์ พ.ศ. 2531 ถึง เมษายน พ.ศ. 2532
2.นายแพทย์ไพรัช ช่างประหยัด เมษายน พ.ศ. 2532 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2535
3.นายแพทย์ยิ่งยง สุขเสถียร พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536
4.นายแพทย์ชัยวัฒน์ พิสุทธิไพศาล มีนาคม พ.ศ. 2536 ถึง เมษายน พ.ศ. 2537
5.นายแพทย์ชาตรี ขาวสกุล เมษายน พ.ศ. 2537 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2538
6.นายแพทย์บำรุง ศรีงาน พฤษภาคม พ.ศ.2538 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2541
7.นายแพทย์อนุพงศ์ ชาวคอนไทย พฤษภาคม พ.ศ.2541 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2542
8.นายแพทย์กิตติ ชีวะอิสระกุล พฤษภาคม พ.ศ.2542 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2543
9.นายแพทย์ฉัตรชัย ขติฌานัง พฤษภาคม พ.ศ.2543 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2547
10.นายแพทย์ธีรภัทร์ บุญเที่ยง พฤษภาคม พ.ศ.2547 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2548
11.นายแพทย์หญิงภัทรี เลาติเจริญ พฤษภาคม พ.ศ.2548 ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2548
12.นายแพทย์ปริญญา ราชกิจ กรกฎาคม พ.ศ.2548 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2549
13.นายแพทย์อัครวัฒน์ เพียวพงภควัต พฤษภาคม พ.ศ.2549 ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2560
14. นายแพทย์สสิพงษ์ วีระเจริญ 10 ตุลาคม พ.ศ.2560 ถึง ปัจจุบัน