สถิติจำนวนเตียง
หอผู้ป่วย จำนวนเตียง
อายุรกรรม สามัญ 129 พิเศษ 22
กุมารเวชกรรม สามัญ 35 พิเศษ 22
สูติ-นรีเวชกรรม สามัญ 50 พิเศษ 12
ศัลยกรรม สามัญ 72 พิเศษ 12
ออร์โธปิดิกส์ สามัญ 36 พิเศษ 12
ตา หู คอ จมูก สามัญ 24 พิเศษ 12
รวมทั้งหมด 428 เตียง สามัญ 346 พิเศษ 82
ขอบเขตของการให้บริการ
โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราชให้บริการรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ แก่ประชานในเขตจังหวัดลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียง โดยให้บริการทั้ง 3 ระดับ ได้แก่บริการระดับปฐมภูมิ บริการระดับทุติยภูมิ และบริการระดับตติยภูมิดังนี้
1.1 ระดับการให้บริการ
1.1.1 ให้บริการระดับปฐมภูมิในเขตอำเภอเมืองจังหวัดลพบุรี (Primary Medical Care) ได้แก่
1) การให้บริการรักษาพยาบาลโรคพื้นฐาน โรคที่พบบ่อยในท้องถิ่น โรคเรื้อรังที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน โดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและพยาบาลเวชปฏิบัติสถานที่ให้บริการ คือ ที่ CMU , รพสต. และ PCU
2) ให้บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคทั้ง 3 ระดับ ในกลุ่มประชาชนทั่วไปรวมทั้งข้าราชการ, กลุ่มผู้ป่วยและญาติ, กลุ่มเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลดังนี้
- บริการ Primary prevention เช่นสำรวจพฤติกรรมเสี่ยง จัดตั้งชมรมออกกำลังกาย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มปกติ เพื่อส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรงและลดปัจจัยเสี่ยงได้แก่ ประชาชนตามกลุ่มอายุ (เด็กในศูนย์เด็กเล็ก , เด็กในโรงเรียน ,กลุ่มวัยทำงาน,กลุ่มวัยทอง,กลุ่มวัยสูงอายุ) ,และข้าราชการในเขตอำเภอเมืองที่มาตรวจสุขภาพกับโรงพยาบาลปีละประมาณ 3,204 คน
- บริการsecondary prevention ในกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยง(pre-DM, pre-HT,ไขมันสูง,อ้วน) โดยจัดให้มีการคัดกรอง DM ,HT,CA cervix ,CA breast, Acute Coronary Syndrome เพื่อลดภาวะเสี่ยงป้องกันการเกิดโรคและ early diagnosis อัตราการคัดกรองครอบคลุม 60% ของกลุ่มเป้าหมายและพบอัตราป่วย DM= 3.41% , HT = 6.51%
- บริการ tertiary prevention ในกลุ่มป่วยเช่นกลุ่มผู้ป่วยโรคที่สำคัญของ PCT ทั้งในรพ.และในชุมชน
3) ให้บริการฟื้นฟูสภาพทั้งร่างกายและจิตใจแก่ประชาน ผู้ป่วยและญาติ
1.1.2 ให้บริการระดับทุติยภูมิระดับสูง ( Secondary Medical Care)
ให้บริการระดับทุติยภูมิ ในเขตพื้นที่จังหวัดลพบุรี จำนวน 11 อำเภอ (ประชากร 768,516 คน) และจังหวัดใกล้เคียงใน เขต 2 (4 จังหวัด ) ได้แก่ ลพบุรี , อ่างทอง , สิงห์บุรี , ชัยนาท ทั้งผู้ป่วยมาเองและรับส่งต่อโดยให้บริการใน 4 สาขาหลัก(อายุรกรรม, ศัลยกรรม, สูตินรีเวช กรรม, กุมารเวชกรรม) และ 8 สาขารอง (ศัลยกรรมกระดูก, จักษุ, โสต ศอ นาสิก, โรคผิวหนัง, ศัลยกรรมประสาท, ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ,วิสัญญี, รังสีวินิจฉัย )
1.1.3 ให้บริการระดับตติยภูมิ (Tertiary Medical Care)
ให้บริการระดับตติยภูมิในเขตพื้นที่ 4 จังหวัดของเขต 2 โดยให้บริการใน 10 สาขาหลัก (อายุรกรรม, ศัลยกรรมทั่วไป, สูตินรีเวชกรรม, กุมารเวชกรรม, ศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์), 8 สาขารอง (ศัลยกรรมทางปัสสาวะ, จักษุวิทยา, โสต ศอ นาสิก, ศัลยกรรมประสาท, โรคผิวหนัง, เวชศาสตร์ฉุกเฉิน, รังสีวินิจฉัย, เวชศาสตร์ครอบครัว, จิตเวช, วิสัญญี และ 2 สาขา ต่อยอด คือ โรคไต (Nephrologists 1 คน) , ศัลยกรรมตกแต่ง (Plastic surgeon1 คน) เพื่อเป็นที่สุดท้ายในการส่งต่อในกลุ่มโรคที่ซับซ้อน
1.1.4 ให้บริการดูแลโรคมะเร็งโดยเป็น Co- Center กับศูนย์มะเร็งลพบุรี โดยให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม การตรวจวินิจฉัยมะเร็งทุกชนิด การผ่าตัดรักษา (ในบางราย) และส่งต่อเพื่อรักษาต่อที่ศูนย์มะเร็ง รวมทั้งดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย
ความเชี่ยวชาญพิเศษขององค์กร
โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราชเป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการทุติยภูมิระดับสูง (ระดับ 2.3) ดังนั้นความเชี่ยวชาญพิเศษ คือ การให้บริการผู้ป่วยในโรคที่ยุ่งยากซับซ้อน หรือต้องหา Intensive care เช่น โรคที่มีภาวะแทรกซ้อน หรือมี Underlying (ร้อยละผู้ป่วยที่ซับซ้อน = 11 ของผู้ป่วยทั้งหมดในปี 2552) ซึ่งค่าเฉลี่ยของประเทศ และจากจำนวนแพทย์เฉพาะทาง รวมทั้งศักยภาพบริการในสาขาหลัก สาขารองและสาขาต่อยอดที่มี พบว่าโรงพยาบาลมีความพร้อมในการพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้ในอนาคต เช่น ด้านศัลยกรรมกระดูก (การผ่าข้อเข่าและข้อสะโพก) โรคไต โรคระบบทางเดินปัสสาวะ โรคทางศัลยกรรมตกแต่ง ซึ่งโรงพยาบาลได้มีแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาบริการเด่นเฉพาะด้านเพื่อพัฒนาศักยภาพสู่ความเชี่ยวชาญยิ่งขึ้น
1.3 บริการ / กลุ่มผู้ป่วยสำคัญที่ต้องส่งต่อหรือจัดบริการโดยประสานความร่วมมือ
1.3.1. กลุ่มผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท รพ.ได้ประสานความร่วมมือกับรพ.อานันทมหิดล ให้อนุญาตแพทย์ศัลยกรรมประสาท จำนวน 2 คน เพื่อมาดูแลผู้ป่วยและผ่าตัด ที่รพ.พระนารายณ์มหาราช โดยจัดเป็นตารางเวรประจำเดือนและมีคลินิกศัลยกรรมประสาททุกบ่ายวันเสาร์
1.3.2. กลุ่มผู้ป่วยมะเร็ง ที่ต้องประสานบริการในการส่งต่อไปรับการรักษาที่ศูนย์มะเร็งลพบุรีและประสานทรัพยากรในการให้บริการเช่นขอใช้สถานที่การเตรียมยาเคมีบำบัดที่ศูนย์มะเร็ง
1.3.3. กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องประสานบริการในการรับส่งต่อ รพท.ในเขต 2 ได้แก่
1) กลุ่มโรคทางด้านศัลยกรรมระบบประสาทที่ต้องทำการผ่าตัด (ICH, SAH)
2) กลุ่มโรคทางด้านศัลยกรรมตกแต่ง (Fx. Mandible, Maxillary)
3) กลุ่มโรคทางด้านศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
4) กลุ่มโรคด้านอายุรกรรมที่ต้องการพบแพทย์เฉพาะทางโรคไต
1.3.4. กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องประสานบริการในการรับส่งต่อกับรพช.และได้จัดให้มีแนวทางการส่งต่อระหว่างรพ.พระนารายณ์มหาราชและ รพช. ได้แก่ Head injury, Appendicitis, MI , UGIB , Septic Shock และ Pneumonia เป็นต้น
1.3.5. กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องประสานบริการในการรับส่งต่อกับรพ.สต.และPCU ได้แก่ ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, อุบัติเหตุ/สัตว์กัด เป็นต้น
1.3.6. การประสานความร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่น (อบต.และเทศบาล) เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ (P&P community) ในการควบคุมป้องกันโรคที่พบบ่อย และโรคติดต่อในท้องถิ่นได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอุบัติเหตุ โรคไข้เลือดออก โรคไข้หวัดนก/ไข้หวัดใหญ่
1.3.7. กลุ่มอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน (EMS) ได้ประสานกับ รพช.ในจังหวัด มูลนิธิร่วมกตัญญูและมูลนิธิอื่น ๆในพื้นที่เพื่อพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยในกรณี โดยเป็นศูนย์สั่งการกรณีเกิดอุบัติเหตุหมู่โรงพยาบาลได้จัดรถ EMS ตลอด 24 ชั่วโมง
2. ประชากรในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ
2.1 พื้นที่รับผิดชอบให้บริการระดับปฐมภูมิ คือ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ซึ่งมีประชากรประมาณ255,872 คน ซึ่งวิถีชีวิตเป็นแบบกึ่งเมืองมีปัญหาสุขภาพในพื้นที่ได้แก่ โรคเรื้อรัง( DM,HT,CVA,CA ), โรคติดต่อ(DHF, TB, HIV, Influenza),โรคฉุกเฉิน (Ac.MI, Truama, COPD), พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ เหมาะสม
จากการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงในประชาชนอายุ > 35 ปีในเขตอำเภอเมือง จำนวน 60,121 คน พบว่ากินอาหารไม่เหมาะสม
= 33.18 %, ออกกำลังกายไม่เหมาะสม = 40.29%, พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมอง =7.29% , Pre-DM = 16.29%, Pre-HT = 15.47%, น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน=7.96%, ไม่ใส่หมวกนิรภัย = 1.68%, ดื่มเหล้า = 51.99, สูบบุหรี่= 7.69%
2.2 พื้นที่รับผิดชอบให้บริการระดับทุติยภูมิระดับสูง ดูแลประชาชนในจังหวัดลพบุรี จำนวน 11 อำเภอ ประชากรทั้งสิ้นจำนวน 768,516 คน เป็นชาย 388,784 คน และ เป็นหญิง 379,732 คน และรวมถึงประชากรในจังหวัดใกล้เคียง โรคที่ส่งต่อจาก รพช.บ่อย ได้แก่ Head injury , Appendicitis , MI , Septic Shock ,UGIB เป็นต้น
2.3 พื้นที่รับผิดชอบให้บริการระดับตติยภูมิ ดูแลประชากรในจังหวัดใกล้เคียง ในเขต 2 ได้แก่ ลพบุรี, สิงห์บุรี,อ่างทอง,ชัยนาท ประชากรประมาณ ..1,590,135...คน โรคที่ส่งต่อจากรพ.ใกล้เคียงบ่อยได้แก่
2.3.1 กลุ่มโรคทางด้านศัลยกรรมระบบประสาทที่ต้องทำการผ่าตัด (ICH, SAH)
2.3.2 กลุ่มโรคทางด้านศัลยกรรมตกแต่ง (Fx. Mandible , Maxillary)
2.3.3 กลุ่มโรคทางด้านศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
2.3.4 กลุ่มโรคด้านอายุรกรรมที่ต้องการพบแพทย์เฉพาะทางโรคไต
2.4 ชุมชนที่รับผิดชอบของรพ.คือ ม,1,2,3,4 ต.ท่าศาลา ประชากร ประมาณ....7,413...คน
2.5 ชุมชนหรือกลุ่มผู้รับบริการที่เป็นเป้าหมาย (Targeted Customers)
จากการวิเคราะห์องค์กร แนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โรงพยาบาลได้เรียนรู้ว่ากลุ่มประชากรที่เป็นเป้าหมายต่อความสำเร็จ มีดังนี้
2.5.1 กลุ่มที่มีความสำคัญและได้นำมากำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเพื่อตอบสนอง
ความต้องการในเชิงนโยบาย และการบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กรได้แก่
1) กลุ่มข้าราชการ เนื่องจากรายรับส่วนใหญ่ของรพ.มาจากการเบิกจ่ายตรงและเบิกต้นสังกัด
2) กลุ่มประกันสังคมเนื่องจากกลุ่มนี้ให้เลือกรพ.หลักและเครือข่ายได้ตามสมัครใจ
กลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม ข้างบนเป็นตัวชี้วัดในเรื่องความเชื่อถือ ศรัทธาและภาพลักษณ์ของ รพ.
2.5.2 กลุ่มที่มีความสำคัญในการพัฒนาระบบบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการ และป้องกันความเสี่ยง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และกลุ่มโรคเสี่ยงสูง
2.5.3 กลุ่มที่มีความสำคัญในการพัฒนาระบบบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดีขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อน ลดภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวและรพ.ได้แก่ 1) กลุ่มโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ/สมอง และโรคมะเร็ง 2)โรคที่มีภาวะเสี่ยง เช่น กลุ่ม pre-DM, pre-HT, BMI เกิน 3) กลุ่มปกติที่มีพฤติกรรมเสี่ยง
3. ลักษณะโดยรวมของบุคลากร จำนวนบุคลากรทั้งหมด จำแนกตามระดับการบริหาร และลักษณะงาน
3.1 จำแนกตามระดับการบริหาร
3.1.1 ทีมผู้บริหารระดับสูง ประกอบด้วยผู้อำนวยการ 1 คน และรองผู้อำนวยการด้านต่าง ๆ อีก 10 คนได้แก่ 1. นายแพทย์กรณาธิป สุพพัตเวช ตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์
2. นายแพทย์สมชาย โอวัฒนาพานิช ตำแหน่งรองผู้อำนวยการด้านบริการปฐมภูมิและเครือข่าย
3. นายแพทย์อภิชาติ ล้อไพบูลย์ทรัพย์ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการด้านพัฒนาระบบ
4. นายแพทย์พงษ์ เจริญจิตไพศาล ตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมพิเศษฯ
5. แพทย์หญิงณัฐภร ประกอบ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการด้านพัฒนาระบบคุณภาพ
6. นายแพทย์จุมพล ตันวิไล ตำแหน่งรองผู้อำนวยการด้านบริหารจัดการทรัพยากรการแพทย์
7. นายมงคล เฟื่องมงคลวิทยา ตำแหน่งรองผู้อำนวยการด้านบริหารงานทั่วไป
8. นายแพทย์สุชาติ เอื้อพันธุ์พงศ์ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการด้านสารสนเทศและสันทนาการ
9. แพทย์หญิงหทัยรัตน์ อัจจิมานนท์ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการด้านพัฒนาบุคลากร
10. นางวลีรัตน์ สุธนนันท์ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการด้านการพยาบาล
3.1.2. ทีมผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ หัวหน้ากลุ่มงานและหัวหน้าฝ่าย จำนวน 25 คน
3.1.3 ทีมผู้บริหารระดับต้น หัวหน้างาน/หัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 70 คน
3.2 จำนวนบุคลากรจำแนกตามสาขาวิชาชีพที่สำคัญ
ปฏิบัติงานจริง/ลาศึกษาต่อ ร้อยละตาม GIS
แพทย์ 48 85.71
ทันตแพทย์ 8 24.24
เภสัชกร 17 51.51
พยาบาลวิชาชีพ 372 83.59
พยาบาลเทคนิค / เจ้าหน้าที่พยาบาล 30 -
เจ้าหน้าที่อื่น ๆ 96 -
ลูกจ้างประจำ 174 -
ลูกจ้างชั่วคราว 384 -
รวม 1,076 100
2.4. อาคารสถานที่ เทคโนโลยี และอุปกรณ์
1 สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญ
โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราชมีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ (ซึ่งมีประมาณ 37 ไร่) แต่อย่างไรก็ตามทางโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ได้พยายามจัดสถานที่เพื่ออำนวยความสะดวกดังนี้
1.1 สถานที่ให้บริการ
1) ห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอก
- โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช มีห้องตรวจโรคทั่วไป2 ห้อง, ห้องตรวจผู้ป่วยประกันสังคม 1 ห้อง เพื่อให้บริการผู้ป่วย Walk in ที่ไม่มีบัตรนัด, ข้าราชการของโรงพยาบาล และผู้มีพระคุณของโรงพยาบาล รวมทั้ง VIP อื่น
- ห้องตรวจโรคเฉพาะทาง 16 ห้อง เพื่อให้บริการผู้ป่วยเฉพาะสาขาตามระบบนัด และรับปรึกษาจากห้องตรวจอื่น ๆ รวมทั้งผู้ป่วยส่งต่อ
- ห้องฉีดยาผู้ป่วยนอก 1 ห้อง, ห้องตรวจภายใน 2 ห้อง
2) ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินมีเตียงปฐมพยาบาล 10 เตียงและเตียงสังเกตอาการ 8 เตียง
3) ห้องผ่าตัดมี 6 ห้อง
4) หอผู้ป่วย 37 หอ
5) ห้องแยกโรคติดเชื้อ 2 ห้อง (negative pressure)
6) ยูนิตทำฟันของแผนกทันตกรรมจำนวน 10 ยูนิต
1.2 สถานที่อำนวยความสะดวก
1) ร้านอาหารและร้านค้าฟ้าประดับ
2) ลานออกกำลังกาย พร้อมอุปกรณ์ สำหรับเจ้าหน้าที่และประชาชนทั่วไป (หน้าตึกคลอด)
3) ห้องน้ำผู้พิการ, ห้องน้ำผู้ป่วย/ญาติ, ศาลาพักญาติ
4) จัดรถรับส่งผู้ป่วยระหว่างรพ.สาขาและโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช
5) ลานจอดรถ (ซื้อที่ดินเพิ่มเติมด้านหลังโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช)
2 เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่สำคัญ
2.1 ใช้เทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาระบบบริการเพื่อลด error ที่เป็น Human Factor โดยใช้โปรแกรมHos.xp บันทึกข้อมูลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน, ใช้โปรแกรม LIH , NAP ของ สปสช., ART ของสำนักงานประกันสังคม และ NAPHA Extension ของ สคร.(ห้องชันสูตร คลินิก TB HIV )
2.2 อุปกรณ์เพื่อพัฒนาการดูแลผู้ป่วยและลดความเสี่ยงจากการให้บริการได้แก่
1) การจัดหาเครื่อง CT มาใช้ในโรงพยาบาลซึ่งลงทุนโดยเอกชน
2) เครื่องสลายนิ่วเคลื่อนที่ จากรพ.เอกชน
3) เครื่อง Gastro scope end scope พร้อมเครื่องล้าง
4) เครื่อง Echocardiogram ใช้วินิจฉัยอวัยวะภายในหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ สถิติการใช้เฉลี่ยประมาณ 7 รายต่อเดือน บำรุงรักษาโดยช่างจากบริษัทตามระยะ
5) เครื่อง Hemodialysis จำนวน 8 เครื่อง ที่หน่วยไตเทียมมีการบำรุงรักษาเชิงป้องกันโดยบริษัทผู้จำหน่าย การใช้งานโดยเจ้าหน้าที่แผนกไตเทียมที่ผ่านการอบรมเรื่องการใช้เครื่อง การบำรุงรักษาเบื้องต้น
6) เครื่องหา Viral load (Real time PCR)
7) เครื่องตรวจวิเคราะห์ทางเคมีคลินิก และอิมมาโนวิทยา ซึ่งตรวจ จำนวนผู้ป่วย ได้มากขึ้น เร็วขึ้นโดยไม่ต้องเจาะเลือดผู้ป่วย 2 ครั้ง
8) เครื่องมือตรวจวัดความโค้งกระจกตา และตรวจวัดสายตา
9) เครื่อง Reverse Osmosis 1 เครื่อง เป็นเครื่องกรองน้ำบริสุทธิ์ใช้กับเครื่องฟอกไต มีการบำรุงรักษาโดยบริษัทผู้ชำนาญด้านนี้โดยเฉพาะ โดยควบคุมมาตรฐานของน้ำที่ผ่านกระบวนการให้อยู่ในมาตรฐาน
10) เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 58 เครื่อง (Bird 38, แบบควบคุมปริมาณ 20) โดยเป็นเครื่องที่อยู่ประจำหอผู้ป่วยหนักจำนวน 40 เครื่อง ที่เหลือเป็นเครื่องช่วยหายใจสำหรับใช้กับหอผู้ป่วยจำนวน 18 เครื่อง โดยมีศูนย์เครื่องมือแพทย์ ดูแลด้านการบำรุงรักษาให้มีความเพียงพอ พร้อมใช้ กรณีมีไม่เพียงพอ ศูนย์เครื่องมือแพทย์ จะประสานงานเพื่อบริหารจัดการให้ใช้ได้อย่างเพียงพอภายในโรงพยาบาล รวมถึงจัดทีมดูแลเครื่องช่วยหายใจ(Respiratory care team) เพื่อลดปัญหาแทรกซ้อนจากการใช้เครื่อง โดยเฉพาะปัญหาการติดเชื้อปอดอักเสบในผู้ป่วย นอกจากนี้ศูนย์เครื่องมือแพทย์ยัง Infusion pump อีก 73 เครื่อง
11) เครื่อง Ultrasound ที่ห้องคลอดและที่กลุ่มงานรังสี อย่างละ 1 เครื่อง ใช้เพื่อตรวจหาความผิดปกติในช่องท้อง เช่น การวินิจฉัยภาวะตกเลือดในผู้ป่วยบาดเจ็บช่องท้อง แพทย์ผู้ใช้งานต้องผ่านการฝึกใช้เครื่องและอ่านผลเอง หรือสามารถพิมพ์ผลออกเพื่อขอคำปรึกษาจากแพทย์อาวุโส
เครื่องมือที่โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ต้องร่วมบริหารจัดการกับเอกชน คือ เครื่อง CT Scan โดยรังสีแพทย์ได้เข้าไปร่วมในการบริหารจัดการ เช่น ต้องมีแพทย์ฉีดสารทึบแสงเอง การเตรียมความพร้อมเรื่องดูแลผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน ระบบการรายงานผลให้กับ Word และ รพช. เป็นต้น