ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลมุกดาหาร

Mukdahan Hospital

Logo Thumb preview

ที่อยู่/ติดต่อ
24 พิทักษ์พนมเขต ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร 49000
โทรศัพท์ 042-615244-7, 042-611208

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

ข้อมูล/ประกาศ/บริการ โรงพยาบาลมุกดาหาร

บริการของรพ.มุกดาหาร

การบริการห้องพิเศษ โรงพยาบาลมุกดาหาร

จำนวนห้องพิเศษ  
โรงพยาบาลมุกดาหารมีห้องพิเศษไว้บริการทั้งหมด 76 ห้อง  แยกเป็น
1. ห้องพิเศษอาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา(อาคาร 5 ชั้น)  จำนวน 60 ห้อง
     1.1  ห้องพิเศษชั้นที่ 1 จำนวน 12 ห้อง  รับผู้ป่วยสาขาอายุรกรรม
     1.2  ห้องพิเศษชั้นที่ 2 จำนวน 12 ห้อง  รับผู้ป่วยสาขาศัลยกรรม
     1.3  ห้องพิเศษชั้นที่ 3 จำนวน 12 ห้อง  รับผู้ป่วยสาขากุมารเวชกรรม
     1.4  ห้องพิเศษชั้นที่ 4 จำนวน 12 ห้อง  รับผู้ป่วยสาขาสูติ-นรีเวชกรรม
     1.5  ห้องพิเศษชั้นที่ 5 จำนวน 12 ห้อง  รับผู้ป่วยทุกสาขา
2. ห้องพิเศษ อาคาร ๕๘ พรรษาเฉลิมราชกุมารี (อาคาร 10 ชั้น) จำนวน  16 ห้อง ประกอบด้วย
     2.1  ห้องพิเศษ VIP  จำนวน  14  ห้อง
     2.2  ห้องพิเศษ Supper VIP จำนวน 2 ห้อง
 

ห้องพิเศษ Supper VIP

การจองห้องพิเศษ
  • แจ้งความจำนงได้ที่พยาบาลในตึกที่ท่านนอนพักรักษา
  • พยาบาลจะดำเนินการจองและแจ้งผลการจองให้ท่านทราบ

การเข้ารับบริการห้องพิเศษ
  • กรณีมีห้อง     จะได้รับริการทันทีเมื่อหอผู้ป่วยพิเศษพร้อมรับ
  • กรณีไม่มีห้อง โรงพยาบาลจะขึ้นคิวไว้ และหอผู้ป่วยพิเศษจะเรียกเมื่อพร้อมรับ ช่วงเวลา 10.00 น. และ ช่วงเวลา 13.30 น
จะขึ้นห้องพิเศษได้ เมื่อ
  • มีห้องว่าง
  • ได้รับอนุญาตจากแพทย์เจ้าของไข้
  • มีญาติเฝ้า
การเข้า - ออก หน่วยงานใช้ระบบเข้า – ออก แบบอัตโนมัติ 
  • ช่วงเวลา 06.00 – 20.00 น. เข้า – ออก ได้ตามปกติ
  • ช่วงเวลา 20.00 – 06.00 น. โดยใช้ Key card, แสกนลายนิ้วมือ,กดกริ่ง

ระเบียบการเยี่ยม
  • เยี่ยมผู้ป่วยได้เวลา  06.00 - 20.00 น.
  • ประตูด้านหน้าจะปิดเวลา  20.00 - 06.00 น.
  • เพื่อป้องกันการติดเชื้อและอาจส่งเสียงดังรบกวนผู้ป่วย ไม่ควรนำเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มาโรงพยาบาล
  • ถ้ามีอาการเจ็บป่วย เช่น เป็นหวัด  ควรสวมหน้ากากอนามัยก่อนเข้าเยี่ยม
  • ทารกเกิดใหม่ ก่อน – หลัง จับต้องทารก ควรล้างมือ หรือใช้แอลกอฮอล์ล้างมือก่อนทุกครั้ง
  • ไม่ควรส่งเสียงดัง ทะเลาะเบาะแว้ง เล่นการพนัน สูบบุหรี่หรือเสพสารเสพติด
  • ไม่มอบทารกแก่  คนอื่น หรือแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ นำออกนอกห้อง หากมีความจำเป็น  ต้องมีบิดา มารดา หรือญาติที่ใกล้ชิดตามไปด้วยทุกครั้ง
การชำระเงินค่ารักษาพยาบาล
           พยาบาล/เจ้าหน้าที่การเงิน  จะสรุปค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาลให้แก่ผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วย ทุก 3 วัน หรือตามความเหมาะสม  เพื่อให้ท่านชำระค่ารักษาพยาบาลในบางส่วน โดยชำระเป็นเงินสดเท่านั้น  การชำระเงินจะไปชำระด้วยตนเองหรือมอบให้เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยพิเศษไปชำระให้ก็ได้ โดยจะนำใบเสร็จมามอบให้ทุกครั้ง
บริการการแพทย์ แผนกต่างๆ
  • สูติ - นรีเวช
  • ศัลยฯทั่วไป
  • ศัลยฯกระดูก
  • อายุรกรรม
  • กุมารเวชกรรม
  • จักษุ
  • หู คอ จมูก
  • ศัลยกรรม ประสาท
  • อายุรกรรม ประสาท
  • อายุรกรรม หัวใจ
  • ศัลยกรรม ทางเดินปัสสาวะ
  • จิตเวช
  • วางแผนครอบครัว จันทร์-ศุกร์ 08.00-12.00 (สูตินรีแพทย์)
  • ประกันสังคม จันทร์-ศุกร์ 08.00-12.00 แพทย์เวียนกันออก
  • ตรวจจอประสาทตา จันทร์-ศุกร์ 08.00-12.00
  • วัณโรคจันทร์ 08.00-12.00
  • สานใจรักษ์(ผู้ใหญ่) อังคาร 08.00-12.00
  • ไตฟอก (อังคารที่ 3 ของเดือน) อังคาร 08.00-12.00
  • รักษ์หลอดลมเด็ก อังคาร 08.00-12.00
  • สานใจรักษ์เด็ก (อังคารที่ 1 ของเดือน)อังคาร08.00-12.00
  • ปอดอุดกั้น/หอบหืด พุธ 08.00-12.00
  • โรคจากการทำงาน พุธ 08.00-12.00
  • นอนกรน พุธ 13.00-16.00
  • หัวใจ (วาฟารีน) พฤหัสบดี 08.00-12.00
  • วัคซีนเด็ก(แพทย์แผนไทย) พฤหัสบดี 08.00-16.00 กุมารแพทย์
  • เข่าเสื่อม (พฤหัสที่ 1,3 ของเดือน) พฤหัสบดี 08.00-12.00
  • ไตเรื้อรั้ง (พฤหัสที่ 2,4 ของเดือน) พฤหัสบดี 08.00-12.00
  • กระดูกพรุน (พฤหัสที่ 2,4 ของเดือน) พฤหัสบดี 08.00-12.00
  • ฝึกพูด speech therapy (2 เดือน/ครั้ง) พฤหัสบดี 08.00-16.00
  • เบาหวาน ศุกร์ 08.00-12.00
  • วัยทอง ศุกร์ 13.00-16.00 (สูตินรีแพทย์)
หมายเหตุ ข้อมูลต่างๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขจากที่แสดงทั้งหมดนี้ 

ประวัติโรงพยาบาลมุกดาหาร

โรงพยาบาลมุกดาหาร เดิมเป็นสถานีอนามัยชั้นหนึ่งอำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม สังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๐๒ ได้โอนไปสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยยกฐานะจากสถานีอนามัยชั้นหนึ่งเป็นโรงพยาบาลทั่วไประดับอำเภอ มีจำนวนเตียงสำหรับบริการผู้ป่วย จำนวน ๓๐ เตียง และเมื่อทางราชการยกฐานะอำเภอมุกดาหารเป็นจังหวัดมุกดาหาร เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๒๕ จึงได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลทั่วไประดับจังหวัด สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข มีจำนวนเตียงสำหรับบริการผู้ป่วยใน จำนวน ๒๕๐ เตียง ปัจจุบันโรงพยาบาลมุกดาหาร เป็นสถานพยาบาลระดับทุติยภูมิ ระดับ ๒.๓ มีจำนวนเตียงให้บริการ ๓๐๑ เตียง 
 
     
 
            โรงพยาบาลมุกดาหารตั้งอยู่ที่เลขที่ ๒๔ ถนนพิทักษ์พนมเขต อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
มีพื้นที่ใช้สอยรวมทั้งสิ้น ๒๕ ไร่ ๓ งาน ๗๓ ตารางวา โดยแบ่งเป็นพื้นที่ที่ตั้งของอาคารปฏิบัติการและบริการผู้ป่วย จำนวน ๑๓ ไร่เศษ อีก ๑๒ ไร่เศษ เป็นพื้นที่อาคารสนับสนุนและที่พักอาศัยของเจ้าหน้าที่
 
ขอบเขตบริการ (Scope of Service)
โรงพยาบาลมุกดาหาร เป็นโรงพยาบาลทุติยภูมิระดับสูง (ระดับ ๒.๓) ให้บริการสาธารณสุขด้านการรักษาโรค การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพแบบผสมผสานแบบเป็นองค์รวม โดยมีขอบเขตการให้บริการ ดังนี้
 
๑. ให้บริการทางการแพทย์ระดับปฐมภูมิในเขตอำเภอเมือง รับผิดชอบประชากร ๑๔๐,๙๐๐ คน ดังนี้
      ๑.๑ ชุมชนรับผิดชอบในเขตเทศบาล ๓๓ ชุมชน ประชากร ๓๘,๘๐๗ คน
      ๑.๒ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)นอกเขตเทศบาล ๑๖ แห่ง ประชากร ๑๐๒,๐๙๓ คน
 
๒. ให้บริการทุติยภูมิ ระดับ ๒.๓ (ระดับสูง) มีแพทย์เฉพาะทางหลักทุกสาขา เช่น อายุรกรรม , ศัลยกรรมทั่วไป , กุมารเวชกรรม , สูตินรีเวชกรรม , ศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ , จักษุวิทยา, โสต ศอ นาสิก โดย
     ๒.๑ ให้บริการในเขตอำเภอเมือง จำนวนประชากร ๑๔๐,๙๐๐ คน
     ๒.๒ รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดมุกดาหาร ๖ แห่ง จำนวนประชากร ๒๒๒,๑๐๓ คน
             ๑. รพ.นิคมคำสร้อย จำนวนประชากร ๔๖,๓๖๗ คน
             ๒. รพ.ดอนตาล จำนวนประชากร ๔๔,๘๕๙ คน
             ๓. รพ.ดงหลวง จำนวนประชากร ๓๙,๑๖๐ คน
             ๔. รพ.หนองสูง จำนวนประชากร ๒๑,๙๓๙ คน
             ๕. รพ.คำชะอี จำนวนประชากร ๔๙,๗๘๘ คน
             ๖. รพ.หว้านใหญ่ จำนวนประชากร ๑๙,๙๙๐ คน
    ๒.๓ รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดข้างเคียง เช่น
            รพ.สมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จังหวัดนครพนม จำนวนประชากร ๘๓,๒๕๗ คน
            รพ.นาแก จังหวัดนครพนม จำนวนประชากร ๗๕,๙๗๑ คน
            รพ.เต่างอย จังหวัดสกลนคร จำนวนประชากร ๒๓,๕๙๗ คน
            รพ.เลิงนกทา จังหวัดยโสธร จำนวนประชากร ๙๔,๖๗๒ คน
            รพ.กุดชุม จังหวัดยโสธร จำนวนประชากร ๖๖,๒๙๕ คน
            รพ.ชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวนประชากร ๓๙,๐๙๒ คน
            รพ.โพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวนประชากร ๑๐๗,๘๓๘ คน
            รพ.หนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวนประชากร ๖๕,๔๓๖ คน
            รพ.เขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวนประชากร ๓๕,๑๑๐ คน
            รพ.สมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวนประชากร ๑๐๑,๔๙๓ คน
            รพ.สะหวันนะเขต สปป.ลาว จำนวนประชากร ๗๓๙,๒๕๓ คน
 
๓. เป็นโรงพยาบาลหลักในโครงการประกันสังคม มี รพช.ในจังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดใกล้เคียง เป็นเครือข่ายเช่น รพ.สมเด็จพระยุพราชธาตุพนม จ. นครพนม , รพ.นาแก จ.นครพนม , รพ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ , รพ.สมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ มีผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนจำนวน ๑๒,๑๗๕ คน (ข้อมูล ณ วันที่ ๑มกราคม ๒๕๕๑)