ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลยะลา

Yala Hospital

Logo Thumb preview

ที่อยู่/ติดต่อ
152 ถ. สิโรรส สะเตง อำเภอเมืองยะลา ยะลา 95000

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

ข้อมูล/ประกาศ/บริการ โรงพยาบาลยะลา

content image1

ปัจจุบัน โรงพยาบาลยะลา เป็นศูนย์ศึกษาและอบรมแพทยศึกษา ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทที่ และเป็นโรงพยาบาลในเครือคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

โรงพยาบาลยะลา ยังเป็นโรงพยาบาลรับส่งต่อผู้ป่วยระดับตติยภูมิที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการบาดเจ็บจากความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ณ สามจังหวัดอย่างปัตตานี, ยะลา และนราธิวาส ที่ความขัดแย้งเข้มข้นที่สุด

โรงพยาบาลยะลาเป็นโรงพยาบาลศูนย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และสืบเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จากเหตุการณ์ความไม่สงบทำให้แพทย์ลาออกมากขึ้น จึงเกิดการแก้ไขโดยโครงการผลิตแพทย์เพื่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรับนักเรียนในพื้นที่จังหวัด ยะลา นราธิวาส และปัตตานี ที่มีความรู้และเจดคติที่ดีในการศึกษาด้านแพทยศาสตร์ โครงการผลิตแพทย์เพื่อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นความร่วมมือในการร่วมผลิตแพทย์ระหว่างคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และกระทรวงสาธารณสุข ในพุทธศักราช 2547 กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทได้จัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก จำนวน 3 แห่งในโรงพยาบาลยะลา โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ และโรงพยาบาลปัตตานี โดยรับนักศีกษาแพทย์รุ่นแรก ในปีการศึกษา 2548 จำนวน 30 คน โดยแบ่งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกละ 10 คน  [wikipedia]

Facebook โรงพยาบาลยะลา

 


ประวัติโรงพยาบาลยะลา

 
ในปี พ.ศ.2485 รัฐบาลในสมัยนั้นได้ออกพระราชบัญญัติยกฐานะกรมสาธารณสุข ซึ่งขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยแยกออกมาเป็นกระทรวงสาธารณสุข และมีนโยบายที่จะจัดตั้งให้มีโรงพยาบาลประจำจังหวัด ครบทุกจังหวัดในปลายปี พ.ศ. 2491 กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ดำเนินการที่จะยกฐานะสุขศาลาเทศบาลเมืองยะลาขณะนั้นเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดยะลา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา ขณะนั้นคือ ขุนสนองเวชกรรม จึงได้ร่วมมือกับคณะกรมจังหวัดยะลา ซึ่งมี นายประเสริฐ กาญจนดุล เป็นข้าหลวงประจำจังหวัด อยู่วางโครงการที่จะยกฐานะสุขศาลาขึ้นเป็นโรงพยาบาลต่อไป
 
แต่ในระหว่างที่กำลังจะเริ่มดำเนินการนั้น ขุนสนองเวชกรรม ก็ได้ถึงแก่กรรมลง ทางจังหวัดจึงได้มีหนังสือขอตัวนายแพทย์ชาญ บุญมงคล ซึ่งขณะนั้นกำลังรับราชการเป็นนายแพทย์โทอยู่ที่โรงพยาบาลนราธิวาส
ให้มาช่วยราชการในการยกฐานะสุขศาลาขึ้นเป็นโรงพยาบาลยะลา นายแพทย์ชาญ บุญมงคล ได้ดำเนินการจัดซื้อเครื่องมือที่จำเป็น และปรับปรุงสถานที่เดิมในที่สุดโรงพยาบาลยะลาก็ได้ยกฐานะโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2492 โดยมีนายแพทย์ชาญ บุญมงคลเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนแรก โดยเมื่อแรกก่อตั้งนั้นโรงพยาบาลมีอาคารที่มีมาแก่แต่เดิมสมัยเป็นสุขศาลา 6 หลัง ได้แก่
- เรือนคนไข้ 2 หลัง รับคนไข้ได้ 18 เตียง
- อาคารผ่าตัด มีห้องผ่าตัด 1 ห้อง
- โรงครัว, โรงเก็บศพ และบ้านพัก อย่างละ 1 หลัง
 
โรงพยาบาลยะลา ในขณะนั้นมีเนื้อที่ทั้งหมด 42 ไร่ 2 งาน สภาพของพื้นที่เป็นป่าไผ่ที่ลุ่มมีน้ำขังเป็นหลุม เป็นบ่อ ไม่มีถนน ไม่มีรั้ว อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ยังขาดแคลน นายแพทย์สสิกร ซึ่งมารับงานใหม่ได้ปรับปรุงพื้นที่ จัดทำถนน ขุนบ่อน้ำ ตั้งโรงสูบน้ำ เดินท่อประปาไปทั่วโรงพยาบาล เดินสายไฟฟ้าใหม่โดยใช้เงินบำรุงโรงพยาบาลทั้งสิ้น ไม่มีเงินงบประมาณเลย ต่อมาจึงได้รับเงินงบประมาณ และเงินที่มีผู้บริจาคสร้างอาคารต่างๆ เพิ่มเติมขึ้นมาเรื่อยๆ เป็นลำดับ ดังนี้พ.ศ.2495 - ได้งบประมาณสร้างตึกรังสี 1 ชั้น ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ทำงานของหน่วยกายอุปกรณ์
 
- ได้รับเงินบริจาคจากนางยี่เกียว พงษ์พิณิช สร้างเรือนพักคนไข้พิเศษ 1 หลัง มี 10 ห้อง ซึ่งในปัจจุบันได้รื้อ
ออกไปแล้ว และย้ายมาก่อสร้างขึ้นใหม่เป็นตึก คนไข้พิเศษ "ยี่เกี่ยวอนุสรณ์" เมื่อปี พ.ศ. 2528
 
พ.ศ. 2496
- ได้งบประมาณสร้างบ้านพักแพทย์ 1 หลัง และบ้านพักเภสัชกร 1 หลัง
 
พ.ศ. 2497
- ได้งบประมาณสร้างตึกอำนวยการและผู้ป่วยนอกหลังแรกของโรงพยาบาลตึกนี้สร้างเสร็จและได้เปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 โดย ฯพณฯจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดปัจจุบันได้รื้อออกเพื่อสร้างเป็นอาคารอุบัติเหตุและผู้ป่วยนอกหลังใหม่
 
พ.ศ. 2498
- ได้งบประมาณสร้างเรือนคนไข้ 25 เตียง 1 หลัง
 
พ.ศ. 2499
- ทำการเดินเชื่อมระหว่างตึกอำนวยการ และเรือนคนไข้พิเศษ
 
พ.ศ. 2503
- สร้างบ้านพักแพทย์ 1 หลัง และห้องแถวคนงาน 15 ห้อง
 
พ.ศ. 2504
- ทำรั้วลวดหนามล้อมรอบโรงพยาบาล และตัดถนนจากตึกอำนวยการถึงบ้านพัก
- ได้งบประมาณสร้างเรือนคนไข้ 25 เตียง 1 หลัง
 
พ.ศ. 2505
- ประชาชนชาวยะลาได้ร่วมกันบริจาคเงินสร้างตึกคนไข้พิเศษ "ยะลาอุทิศ" โดย พระยาบำราศนราดูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสมัยนั้นได้มาเป็นประธานในพิธีเปิด ปัจจุบันได้รื้อออกแล้วสร้างใหม่เป็นหอผู้ป่วยพิเศษ "ยะลาอุทิศ" 2 ชั้น 18 ห้อง เมื่อปี พ.ศ. 2534
- ได้งบประมาณสร้างบ้านพักพยาบาล 6 ห้อง 1 หลัง
 
พ.ศ. 2507
- สร้างโรงทำน้ำเกลือและออกแบบเครื่องกลั่นน้ำใหม่ เพื่อทำน้ำเกลือ ซึ่งมีกำลังผลิตได้มากที่สุดในโรงพยาบาลของภาคใต้ขณะนั้น ปัจจุบันได้รื้อออกไปแล้ว
- ได้งบประมาณสร้างบ้านพัก 2 หลัง และโรงครัวมุสลิม 1 หลัง
 
พ.ศ. 2508
- ได้งบประมาณสร้างตึกสูติกรรม 3 ชั้น 1 หลัง
 
พ.ศ. 2509
- ได้งบประมาณสร้างตึกพยาธิวิทยา 1 หลัง
- ได้งบประมาณสร้างตึกคนไข้ 2 ชั้น 50 เตียง 1 หลัง ปัจจุบันคือหอผู้ป่วยอายุรกรรม
 
พ.ศ. 2510
- ได้งบประมาณสร้างเรือนคนไข้เด็ก 1 หลัง ปัจจุบันคือหอผู้ป่วยกุมาร
- สร้างสระน้ำเพื่อเก็บน้ำที่ไหลจากคูระบายน้ำทั่วโรงพยาบาล เพื่อระบายน้ำลงคูเทศบาลอีกที่หนึ่ง
 
พ.ศ. 2511
- ได้งบประมาณสร้างตึกผ่าตัด 1 หลัง ติดกับตึกอำนวยการและผู้ป่วยนอก ปัจจุบันได้รื้อออกไปแล้ว
 
พ.ศ. 2512
- ได้งบประมาณขยายต่อเติมตึกอำนวยการ และสร้างตึกคนไข้ศัลยกรรม 2 ชั้น ปัจจุบัน คือหอผู้ป่วยเรือน 1 และหน่วยกายภาพบำบัด
 
พ.ศ. 2514
- ได้งบประมาณสร้างตึกจิตเวช 3 ชั้น และแฟลตพักแพทย์ 3 ชั้น
 
พ.ศ. 2515
- ได้งบประมาณสร้างตึกคนไข้โรคติดต่อ 2 ชั้น 1 หลัง ปัจจุบัน คือ หอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท
- ได้งบประมาณสร้างแฟลตพักพยาบาล 2 ชั้น โรงซักฟอกและโรงครัว
 
พ.ศ. 2516
- ได้งบประมาณสร้างแฟลตพักพยาบาล 2 ชั้น ในปีงบประมาณ 2516 นี้เอง จากการที่โรงพยาบาลยะลา ได้รับการพัฒนาจนเจริญทัดเทียมกับโรงพยาบาลอื่นๆ ประกอบกับอยู่ในสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม จึงได้ถูกกำหนดให้อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515-2519) ที่จะพัฒนาให้เป็นโรงพยาบาลศูนย์ ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจะมีอาคาร เครื่องมือ และอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ พร้อมจะรับคนไข้ได้ 500 เตียง

ในปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2517 นายแพทย์สสิกร จุลละกาญจนะ ได้ย้ายไปรับราชการที่โรงพยาบาลชลบุรี
กระทรวงสาธารณสุข จึงได้แต่งตั้งให้นายแพทย์ไพบูนย์ เวชสาร มาดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแทน และได้ดำเนินการพัฒนาโรงพยาบาลยะลาต่อไป โดยสร้างอาคารต่างๆ เพิ่มขึ้น ดังนี้
 
พ.ศ. 2518
- ทายาทนายพิศาล และนางจงดี จงรักษ์ ได้บริจาคก่อสร้างตึกคนไข้พิเศษ 2 ชั้น 1 หลัง ปัจจุบันคือ หอผู้ป่วยพิเศษ "จงรักษ์" - ได้งบประมาณสร้างอาคารพัสดุ 1 หลังพ.ศ. 2519 - ปรับปรุงตึกศัลยกรรมหญิงชั้นล่างเป็นหน่วยงานกายภาพบำบัด โดยได้รับ ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์จากองค์การยูนิเซฟ - สร้างทางเดินเชื่อมจากตึกสูติกรรมถึงตึกโรคติดต่อ ปัจจุบันคือ Cover way
 
พ.ศ. 2520
- ได้งบประมาณสร้างตึกผู้ป่วยหนัก และแฟลตพักพยาบาล 3 ชั้นพ.ศ. 2521 - ได้งบประมาณสร้างแฟลตพักพยาบาล 3 ชั้น 1 หลัง
 
พ.ศ. 2522
- ได้งบประมาณสร้างตึกคนไข้นอก 1 หลัง ปัจจุบันคือ ตึกอำนวยการในปี พ.ศ. 2525 นายแพทย์สุรินทร์ เสรีกุล ได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล และพัฒนาโรงพยาบาลต่อ ดังนี้พ.ศ. 2525 - ได้งบประมาณสร้างตึกผ่าตัด และเอ็กซเรย์ในปัจจุบัน
 
พ.ศ. 2527
- ทายาทนายปิติ และนางประนอม วิภากุล ได้บริจาคเงินก่อสร้างตึกคนไข้พิเศษ"ปิติ-ประนอม"
 
ในปี พ.ศ. 2530 นายแพทย์บุญสิทธิ์ เลขะกุล ได้รับตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลยะลาและในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 โรงพยาบาลยะลาก็ได้รับการยกฐานะจากกระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นโรงพยาบาลศูนย์ของเครือข่ายพบส. 9/2 นับเป็นโรงพยาบาลศูนย์อันดับที่ 15 ของประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีความขาดแคลนในเรื่องของอาคารสถานที่อยู่มาก จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมตามลำดับ ดังนี้
พ.ศ. 2530
- ได้งบประมาณก่อสร้าง หอผู้ป่วยศัลยกรรมและศัลยกรรมกระดูก 120 เตียง 4 ชั้น 1 หลัง ซึ่งก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ และได้เปิดดำเนินการเมื่อ พ.ศ. 2535
 
พ.ศ. 2532
- ได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเภสัชกรรม 1 หลัง
 
ในปี พ.ศ. 2534 ทางโรงพยาบาลได้พิจารณาเห็นว่าผู้ป่วยที่มาใช้บริการมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทั้งผู้ป่วยทั่วไป และผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ตึกผู้ป่วยนอกเดิมเริ่มแออัด คับแคบ ไม่สามารถรองรับผู้ป่วยจำนวนมากได้ นอกจากนี้จำนวนผู้ป่วยหนักก็เพิ่มมากขึ้น จนจำนวนเตียงที่มีอยู่เดิมไม่เพียงพอ ห้องคลอดเดิมก็อยู่ในสภาพที่คับแคบ และไม่ได้มาตรฐาน ด้วยเหตุนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2534 โรงพยาบาลได้ของบประมาณก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุหลังใหม่ โดยจะสร้างบนพื้นที่ที่เป็นตึกอำนวยการและผู้ป่วยหลังเก่า อาคารหลังใหม่นี้ จะมีพื้นที่ใช้สอย 6,900 ตารางเมตร ประกอบด้วย
 
ชั้นที่ 1 ประกอบด้วย
- ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ซึ่งภายในจะมีห้องผ่าตัด ห้องเอ็กซเรย์, ห้องเฝือก และห้องสังเกตุอาการ
 
ชั้นที่ 2 ประกอบด้วย
- หอผู้ป่วยหนัก 16 เตียง
- ห้องคลอดและห้องผ่าตัดทางสูติกรรม
- ห้องตรวจโรคและห้องตรวจพิเศษทางอายุรกรรม
 
ชั้นที่ 3 ประกอบด้วย
- ห้องประชุมใหญ่ ขนาด 500 คน
- ห้องประชุมเล็ก ขนาด 30 คน 3 ห้อง
- ห้องเวชระเบียนและห้องทำงานของ พคบว.
- ห้องทำงานของแพทย์กลุ่มงานต่างๆ
 
ก่อสร้างได้เสร็จสมบูรณ์ เมื่อเดือนตุลาคม 2536 และเปิดให้บริการประชาชน ตั้งแต่ วันที่ 31 ธันวาคม 2536 นับเป็นอาคารอุบัติเหตุและผู้ป่วยนอกที่ทันสมัย และได้มาตรฐานแห่งหนึ่งของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2536
 
1.) ได้รับงบประมาณสร้างโรงครัวแยกไทยพุทธ - อิสลาม เริ่มสัญญาสร้าง เมื่อ 8 มกราคม 2537 และสิ้นสุด สัญญาเมื่อ 3 มกราคม 538 ขณะนี้ได้มีการรับมอบส่งงานเรียบร้อยแล้ว
 
2.) ได้รับงบประมาณสร้างอาคาร 120 เตียง ขณะนี้ได้มีการรับมอบส่งงานเรียบร้อยแล้ว
1. ได้งบประมาณสร้างอาคารซ่อมบำรุงพัสดุ 1 อาคาร ขณะนี้ได้มีการรับมอบส่งงานเรียบร้อยแล้ว
2. ได้รับงบจากผู้แทนราษฎร์จังหวัดยะลา สร้างศาลาละหมาด 1 อาคาร เป็นเงิน 700,000 บาท เริ่มสัญญาสร้าง 25 กุมภาพันธ์ 2537 ขณะนี้ได้มีการรับมอบส่งงานเรียบร้อยแล้ว
 
โรงพยาบาลศูนย์ยะลา ก็ยังคงจะพัฒนาต่อไป เพื่อให้เป็นโรงพยาบาลศูนย์ที่ทันสมัยก้าวหน้าสมตามวัตถุประสงค์ของกระทรวงสาธารณสุข นับจากวันที่เริ่มก่อตั้งโรงพยาบาลจนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 51 ปี โรงพยาบาลได้รับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าจนอาจกล่าวได้ว่าเป็นโรงพยาบาลศูนย์ที่มีศักยภาพสูงแห่งหนึ่งของกระทรวงสาธารณสุข และในอนาคตภายใต้การบริหารงาน ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนปัจจุบัน คือ นายแพทย์วัฒนา วัฒนายากร โรงพยาบาลศูนย์ยะลา ก็ยังคงจะพัฒนาต่อไปเพื่อให้เป็นโรงพยาบาลศูนย์ที่ทันสมัย ก้าวหน้า สมตามวัตถุประสงค์ของกระทรวงสาธารณสุข