ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลระยอง

Rayong Hospital

Logo Thumb preview

ที่อยู่/ติดต่อ
138 ถ. สุขุมวิท ตำบล ท่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง ระยอง 21000

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

ข้อมูล/ประกาศ/บริการ โรงพยาบาลระยอง

Facebook โรงพยาบาลระยอง

 โรงพยาบาลระยอง
โรงพยาบาลระยองเป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาด 555 เตียง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข

สถานที่ตั้ง
สร้างอยู่บนที่ดินของวัดป่าประดู่ (เป็นที่ธรณีสงฆ์) เลขที่ 138 ถนนสุขุมวิท ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง (มีเนื้อที่ประมาณ 26 ไร่) ที่ดินนี้เดิมเป็นที่ตั้งของวัดจันทอุดม ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "วัดเก๋ง" ต่อมาวัดร้างจึงไปอยู่ในความรับผิดชอบของวัดป่าประดู่ ท่านเจ้าคณะจังหวัดระยองสมัยนั้นได้มอบที่ดินแปลงนี้ให้โรงพยาบาลระยอง ปกครอง และใช้ประโยชน์ในการดำเนินการเพื่อการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา พยาบาลในโรงพยาบาล เมื่อสร้างโรงพยาบาลครั้งแรก ปรากฏว่ายังมีโบสถ์ วิหาร และเจดีย์อยู่ แต่ต่อมาสิ่งเหล่านี้ได้ชำรุดทรุดโทรม หักพัง และถูกรื้อถอนไปเกือบหมดยังคงเหลืออยู่ เฉพาะพระเจดีย์เท่านั้นที่ยังได้พบเห็นในปัจจุบัน
 
 ประวัติความเป็นมา
 
ในปี พ.ศ. 2489 ข้าราชการ พ่อค้า ทนายความ คหบดี และประชาชนจังหวัดระยองได้มีความคิดร่วมกันว่า จังหวัดระยองควรมีโรงพยาบาลประจำจังหวัดขึ้น เพื่อบำบัดทุกข์อันเนื่องจากโรคภัย และอุบัติเหตุต่าง ๆ เพราะขณะนั้นการคมนาคมทางบกติดต่อกับอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และกรุงเทพฯ เป็นไปด้วยความลำบาก ดังนั้นจึงมีการปรึกษาหารือเพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ และโดยเหตุที่สมัยนั้นการคมนาคมระหว่างประชาชนผู้อยู่อาศัยทางฝั่งเหนือกับ ฝั่งใต้มีสะพานแคบสะพานเดียวใช้ข้ามไปมาหากัน บรรดาผู้ที่อยู่ฝั่งใต้ก็ใคร่ที่จะเห็นโรงพยาบาลตั้งอยู่ในฝั่งของตน เพื่อความสะดวกในการติดต่อ
ส่วนผู้ที่อาศัยทางฝั่งเหนือ เห็นควรตั้งอยู่ที่วัดจันทอุดม (วัดเก๋ง) คือที่อยู่ในขณะนี้ สรุปแล้วเห็นว่าเหมาะสมหลายประการคือ เป็นที่ดอนน้ำไม่ท่วม ไม่ไกลจากชุมชนจนเกินไป เป็นศูนย์กลางของการติดต่อระหว่างอำเภอทั้งสามขณะนั้นคือ อำเภอบ้านค่าย อำเภอแกลง และอำเภอเมือง ตลอดจนทางรถยนต์สายกรุงเทพฯ ต้องวิ่งผ่านจังหวัดระยองไปจันทบุรี
ดังนั้นในปี พ.ศ. 2490 คณะกรรมการจังหวัดระยอง ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คือนายวิจิตร ลุสิตานนท์ กับผู้แทนราษฎรจังหวัดระยอง คือนายเศวต เปี่ยมพงศ์ศานต์ เป็นกรรมการปรึกษา ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองคือ ขุนวรคุตคณารักษ์เป็นประธาน ประกอบด้วยกรรมการจังหวัด ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี และทนายความเป็นกรรมการจัดหาเงินโดยวิธีบอกบุญตามแต่ศรัทธาบริจาค ในครั้งนี้ได้รับเงินสุทธิทั้งสิ้น 3,974.58 บาท ได้รับงบประมาณรัฐบาลสบทบด้วย 120,000 บาท ถึง พ.ศ. 2492 ได้รับเงินงบประมาณจากรัฐบาลอีก 162,744 บาท
ครั้งแรกจึงได้ดำเนินการสร้างตึกอำนวยการ ในระยะเริ่มแรกระหว่างนี้ ท่านขุนศรี สาคร ได้นำเงินมรดกของ นางสาวแก้ว แซ่ตัน จำนวนเงินทั้งหมด 23,681.17 บาท สมทบ รวมทั้งมีผู้อื่นบริจาคสบทบอีก ทางโรงพยาบาลระยองจึงได้เริ่มลงมือทำการก่อสร้างอาคารขึ้นในสมัยพันโทหลวง นิตย์ เวชวิเศษฎ์ เป็นอธิบดีกรมการแพทย์ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2492 จนสำเร็จเรียบร้อย เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2493 ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ.2494 และได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลศูนย์ เมื่อปี พ.ศ. 2540