ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลระโนด

Logo

ที่อยู่/ติดต่อ
5/1 หมู่ 5 ถ.ระโนด-หัวเขาแดง ต.ระโนด อ.ระโนด สงขลา 90140

✅ รับบัตรทอง

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลระโนด

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

  • ยังไม่มีข่าวสาร ข้อมูลจากที่นี่
[ทั้งหมด]
 
 

 ย้อนรำลึก...โรงพยาบาลระโนด

รากเหง้า...พวกเราสาธารณสุขระโนด
 คำอธิบายภาพ : 3  คำอธิบายภาพ : - ในระหว่าง พ.ศ.2477-2498 (จากการเล่าของนายสนั่น หิรัญวรชาติ*) บอกว่า ระโนดมีสถานพยาบาลอยู่แล้ว ชื่อว่า”สุขศาลาอำเภอระโนด” มีลักษณะเป็นเรือนไม้ชั้นเดียว โดยประชาชนชาวระโนดช่วยกันหาเงินสร้างขึ้น ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของที่ว่าการอำเภอระโนด(ปัจจุบันถูกเปลี่ยนเป็นที่ตั้งของเทศบาลตำบลระโนด)  คือสถานที่อันเป็นที่ตั้งของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเดี๋ยวนี้ ที่สุขศาลามีผู้ช่วยแพทย์อยู่ประจำติดต่อกันมา งานส่วนใหญ่เป็นงานป้องกันโรคภัยไข้เจ็บในฐานะที่เป็นหน่วยงานของกรมอนามัย และการรักษาพยาบาลเบื้องต้นในโรคที่ไม่ร้ายแรง  ถ้าเกินขีดความสามารถของผู้ช่วยแพทย์ที่ระโนด คนป่วยจะได้รับคำแนะนำให้ไปรักษาตัวโรงพยาบาลกลางจังหวัดพัทลุง ซึ่งถ้าไปโดยเรือยนต์เร็ว ก็ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง ส่วนเรือยนต์ธรรมดาก็ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง  เมื่อเรือยนต์แล่นมาถึงบ้านลำปำก็ต้องถ่ายคนป่วยขึ้นเรือยนต์ไปอีกทีหนึ่ง ส่วนคนที่ไม่มีญาติพี่น้องทางพัทลุง ก็ต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลสงขลา(ในอดีตตั้งอยู่ที่ตรงข้ามป่าไม้จังหวัดสงขลา ปัจจุบันกลายเป็นที่ตั้งของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลสงขลาเขตเทศบาลนครสงขลา) สมัยนั้นยังไม่มีถนนรถยนต์ไปสงขลา จึงต้องนำคนป่วยไปทางเรือยนต์ด่วนในเวลากลางคืน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8-9 ชั่วโมง คนที่ป่วยเป็นโรคร้ายแรง หรือได้รับบาดเจ็บมีอาการหนัก มักจะเสียชีวิตลงกลางทางเสมอ จนมีคนในกลางจังหวัดล้อเลียนกันว่า “คนระโนดหนามแทงก็ตาย” เป็นบาดทะยัก ไม่มีวัคซีนฉีดนั่นเอง
 
หมายเหตุ *นายสนั่น หิรัญวรชาติ อดีตผู้จัดการธนาคารกรุงเทพสาขาระโนด และคณะกรรมการที่ปรึกษาโรงพยาบาลระโนด
 
ครั้นถึง พ.ศ.2499 ได้เริ่มสร้างสถานีอนามัยชั้น 1 ขึ้น ณ ที่ดินที่มีผู้อุทิศให้ใกล้กับคลองโภคา ด้วยเงินของทางราชการและเงินสมทบของประชาชน จึงเริ่มมีนายแพทย์ปริญญามาประจำคราวละ 1 คน ถึงกระนั้น ถ้ามีคนป่วยที่มีอาการหนักหรือจำเป็นต้องผ่าตัด ก็ต้องส่งไปยังโรงพยาบาลกลางจังหวัด เพราะที่ระโนดมีนายแพทย์เพียงคนเดียวเครื่องใช้ไม้สอยก็ไม่ครบครันอย่างในกลางจังหวัด จนกระทั่งถึงปี 2518 ถนนสายระโนด-เขาแดง สร้างเสร็จเรียบร้อย การนำคนป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลสงขลาหรือหาดใหญ่ก็ไปทางรถยนต์ แต่ก็หาสะดวกไม่ได้มากนัก เพราะติดการข้ามแพขนานยนต์ต้องเสียเวลา บางคราวก็ไปไม่ทันเวลาที่แพขนานยนต์เปิดทำการ ต้องเดินทางกลับหามคนป่วยลงเรือหางยาวข้ามทะเลไปขึ้นอีกฟากหนึ่ง คนป่วยที่มีอาการหนักต้องเสียชีวิตไปบ่อยๆ ซึ่งไม่น่าจะตายถ้าสามารถนำส่งโรงพยาบาลได้ทันท่วงที

สมเด็จย่าทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ
สมเด็จพระศรีนครินทร์ทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า)ได้พระราชทานพระราชดำริสมควรให้สร้างโรงพยาบาลที่อำเภอระโนด เมื่อคราวเสด็จทรงเยี่ยมราษฏรที่อำเภอระโนด เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2507 ทั้งนี้ได้มีรับสั่งแก่ นายแพทย์บุลศักดิ์ วัฒน ผาสุก อดีตอธิบดีกรมการแพทย์ และนายแพทย์เล็ก มโนมัยอุดม อดีตนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา เมื่อคราวได้ร่วมโต๊ะเสวยในเรือพระที่นั่งจันทร ในคืนวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.2507

ความต้องการโรงพยาบาลของชาวระโนด
ความต้องการโรงพยาบาลของชาวระโนดจึงมีมากด้วยเหตุผลดังกล่าวมาแล้วด้วยเหตุนี้  ในต้นปี พ.ศ.2519 จึงมีบุคคลหลายคณะรวมตัวกัน เพื่อผลักดันให้มีโรงพยาบาลขึ้นในระโนดให้จนได้ ไม่วิธีใดก็วิธีหนึ่ง  ซึ่งทราบกันคร่าวๆว่า ในชั้นแรกต้องหาที่ดินให้ได้ก่อน จึงเสนอเรื่องราวขึ้นไป คณะบุคคลที่ควรจารึกไว้เป็นอนุสรณืสำหรับชาวระโนด ก็คือ คณะของอาจารย์ผจงสุข พูนบำเพ็ญ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลสงขลา(วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสงขลา) และคณะอันประกอบด้วย คุณอุทัย กิติคุณ และคุณศักดิ์ณรงค์ วิริยะกุล ได้จัดหาที่ดินทางด้านทิศเหนือของลำคลองระโนดตรงข้ามกับที่ทำการอำเภอระโนดสมัยนั้น(ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของเทศบาลตำบลระโนด)ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อทางเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของกระทรวงสาธารณสุขมาตรวจดูสถานที่ ได้ให้ความเห็นว่า โรงพยาบาลระโนดควรอยู่ติดถนนใหญ่ สายระโนด-สงขลา  เพราะสะดวกแก่การติดต่อของทางราชการ สะดวกกับคนป่วยที่มารักษาพยาบาล และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ  โรงพยาบาลระโนดเมื่อเจริญขึ้น จะเป็นศูนย์กลางของโรงพยาบาลแถบนี้ จะมีประชาชนจากอำเภอระโนด อำเภอหัวไทร อำเภอสทิงพระ และจากกิ่งอำเภอกระแสสินธุ์ รวม 4 อำเภอมาทำการรักษาพยาบาลด้วย สถานที่ตั้งโรงพยาบาลจึงต้องหาที่ใหม่ และได้ที่ตั้ง คือ บริเวณข้างถนนจากแยกรับแพรกเข้าสู่ตลาดสดระโนดระยะทาง 2 กิโลเมตร หรือ เลขที่ 5/1 หมู่ 5 ตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา จวบจนทุกวันนี้
 
 
รู้จักโรงพยาบาลระโนด
โรงพยาบาลระโนดเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอเมืองจังหวัดสงขลาระยะทาง  92 กิโลเมตร จัดเป็นโรงพยาบาลทุติยภูมิระดับ 2.1 ของภาครัฐ ตลอดจนการเป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายให้กับโรงพยาบาลกระแสสินธุ์เพื่อทำหน้าที่ให้บริการทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน บทบาทหน้าที่ครอบคลุมด้านการตรวจรักษา ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสภาพ ให้บริการแพทย์ทางเลือกและกายภาพบำบัด รวมถึงการรับผิดชอบงานด้านการดูแลสุขภาพของประชาชน จำนวน 69,311 คน หรือ 16,641 หลังคาเรือน ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยทำงาน อายุระหว่าง 30-34 ปี หากคาดการณ์แนวโน้มของโครงสร้างประชากรในพื้นที่ระโนด พบว่า กำลังขยับสู่สังคมของผู้สูงอายุ เฉกเช่นเดียวกับแนวโน้มของประเทศ
 
โรงพยาบาลมีเครือข่ายการให้บริการระดับปฐมภูมิ คือมีศูนย์สุขภาพชุมชนในเขตที่ตั้งของโรงพยาบาลจำนวน 1 แห่ง มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 12 แห่ง กรณีผู้ป่วยเกินศักยภาพในการดูแลรักษาจะส่งต่อไปรับบริการในหน่วยงานตติยภูมิระดับสูง คือโรงพยาบาลสงขลา โรงพยาบาลหาดใหญ่ และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์

โลโก้โรงพยาบาลระโนด
เป็นความคิดริ่เริ่มของนายแพทย์วรพจน์ เจียมอมรรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนปัจจุบัน จัดให้มีการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ของโรงพยาบาลแบบใหม่ เป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรโรงพยาบาลร่วมในการออกแบบนำมาสู่การยึดมั่นต่อภาพลักษณ์ขององค์กร
ความหมายของตราสัญลักษณ์
หากอ่านโดยรวมตราสัญลักษณ์จะอ่านว่า I love Ranod Hospital หมายถึง บุคลากรและประชาชนผู้มารับบริการจะเกิดความประทับใจและรักต่อโรงพยาบาลระโนด
 
i คือ intelligent    หมายถึง      การปรับตัวของโรงพยาบาลเข้าสู่ยุคดิจิตอล
 
Heart คือ รูปหัวใจ     หมายถึง      ความรักและศรัทธาต่อโรงพยาบาลของบุคลากร ตลอดจนประชาชนผู้มารับบริการ
 
R คือ Ranod Hospital  หมายถึง     โรงพยาบาลระโนด อันเป็น โรงพยาบาลที่มีเกียรติประวัติศาสตร์อันยาวนาน
 
ลำดับพัฒนาการของโรงพยาบาลระโนด
พ.ศ. 2477 เป็นสุขศาลาอำเภอระโนดมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันด้านโรคติดต่อ
พ.ศ. 2499 ได้ก่อสร้างเป็นศูนย์การแพทย์และอนามัยที่บริเวณหมู่ 3 ตำบลระโนด
พ.ศ. 2519 ชาวอำเภอระโนด ได้รวบรวมเงินเพื่อซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลในปัจจุบัน บริเวณหมู่ 5 ตำบลระโนด และได้รับเงินงบระมาณก่อสร้าง                                     โรงพยาบาลขนาด 30 เตียง
พ.ศ. 2523 ได้เปิดให้บริการโดยมี นพ.อภิชัย  ศิริวิวัฒน์ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่านแรก
พ.ศ. 2530 ได้รับเงินบริจาคจากประชาชนอำเภอระโนด และอำเภอใกล้เคียง เป็นเงินประมาณ 3 ล้านบาท สร้างตึกผู้ป่วยในอีก1 หลังในขณะที่ นพ.เกรียงศักดิ์
                หลิวจันทร์พัฒนา เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลระโนด
พ.ศ. 2536 ได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาล 60 เตียง เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2536 โดยมี นพ.ธีรวัฒน์ กรศิลป เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลระโนด
พ.ศ. 2554  ได้รับเงินงบประมาณ เป็นเงิน 75 ล้านบาท สร้างตึกผู้ป่วยอุบัติฉุกเฉิน 4 ชั้น โดยมีนพ.วรพจน์ เจียมอมรรัตน์ เป็นผู้อำนวยการจนถึงปัจจุบัน