ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์

Department of Corrections Hospital

Logo

การรักษาพยาบาลผู้ต้องขัง - ผู้ต้องขังเมื่อเจ็บป่วย ก็จะมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาล เท่าๆกับประชาชนทั่วไป คือ ใช้บัตรทอง 30 บาท รักษาทุกโรค ได้ โดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินแม้แต่บาทเดียว เพราะกรมราชทัณฑ์ถือว่าผู้ต้องขังทุกคน เป็นผู้มีรายได้น้อยทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ มีแพทย์สาขาต่างๆเช่น อายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ จักษุแพทย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติ-นรีเวช ด้าน หู คอ จมูก ด้านโรคผิวหนังศัลยกรรมกระดูก ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ เป็นต้นการผ่าตัดส่วนใหญ่สามารถทำได้ภายในทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ ยกเว้นในบางสาขาเช่น การผ่าตัดสมองการรักษาด้วยรังสีบำบัดที่จำเป็น ต้องส่งตัวออกไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลภายนอก

ที่อยู่/ติดต่อ
33/2 ถนนงามวงศ์วาน เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900

✅ รับบัตรทอง
✅ รับประกันสังคม [คลินิกเครือข่าย]

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์

สิทธิการรักษาพยาบาลหลังพ้นโทษ

สิทธิการรักษาพยาบาลหลังพ้นโทษ ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
สิทธิการรักษาพยาบาลหลังพ้นโทษ ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
 
ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
การรักษาพยาบาลผู้ต้องขัง
ผู้ต้องขังเมื่อเจ็บป่วย ก็จะมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาล เท่าๆกับประชาชนทั่วไป คือ ใช้บัตรทอง "30 บาท รักษาทุกโรค" ได้ โดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินแม้แต่บาทเดียว เพราะกรมราชทัณฑ์ถือว่าผู้ต้องขังทุกคน เป็นผู้มีรายได้น้อยทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ มีแพทย์สาขาต่างๆเช่น อายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ จักษุแพทย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติ-นรีเวช ด้าน หู คอ จมูก ด้านโรคผิวหนังศัลยกรรมกระดูก ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ เป็นต้นการผ่าตัดส่วนใหญ่สามารถทำได้ภายในทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ ยกเว้นในบางสาขาเช่น การผ่าตัดสมองการรักษาด้วยรังสีบำบัดที่จำเป็น ต้องส่งตัวออกไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลภายนอก
 
บัตรทอง " 30 บาทรักษาทุกโรค"
ที่ทัณฑสถานออกให้กับผู้ต้องขัง
จักษุแพทย์ของทัณฑสถานฯ
ใช้กล้องจุลทัศน์ในการผ่าตัดตา
ผู้ต้องขังจากเรือนจำต่างๆถูกส่งมารับการรักษาวันละหลายร้อยคน
เอกซ์เรย์ระบบดิจิตอลที่ใช้อยู่ใน
ทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ
บัตรทองช่วยให้ผู้ต้องขังทำฟันฟรีรวมทั้งการทำฟันปลอมฐานพลาสติก แต่...ฟันปลอมราคาแพงบางชนิด ผู้ต้องขังต้องขังต้องจ่ายเงินเอง
 
 
ทัณฑสถานโรงพยาบาล
มีทันตแพทย์ 6 คน
ทำหน้าที่รักษาโรคฟันให้ผู้ต้องขัง
รถพยาบาลของทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ
 
ทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ มีทีมงานโภชนาการที่ทำหน้าที่ควบคุมการหุงหาอาหาร ซึ่งประกอบด้วยอาหารธรรมดา อาหารอ่อนและอาหารเหลวสำหรับผู้ต้องขังป่วย รวมทั้งอาหารมุสลิมสำหรับผู้ต้องขังที่นับถือศาสนาอิสลาม


เมื่อเจ็บป่วยในเรือนจำ
การให้บริการด้านทันตกรรม แก่ผู้ต้องขังที่มีปัญหาโรคฟัน
        เมื่อผู้ต้องขังเจ็บป่วยในเรือนจำ เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาลจะเป็นผู้ให้การดูแลเบื้องต้น หากอาการป่วยเกินขีดความสามารถของสถานพยาบาล เจ้าหน้าที่จะรายงานผู้บัญชาการเรือนจำเพื่อพิจารณาส่งตัวออกไปรับการรักษา ที่โรงพยาบาลภายนอก ในกรณีที่เป็นโรคเรื้อรังหรือต้องใช้เวลาในการรักษาเป็นเวลานาน ทางเรือนจำอาจพิจารณาส่งตัวผู้ป่วยมารับการรักษาที่ ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเรือนจำกลางคลองเปรม กทม.
 
การรักษาผู้ต้องขังไม่ว่าจะเป็นที่สถานพยาบาลของเรือนจำ หรือที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ จะเป็นการรักษาโดยที่ผู้ต้องขังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ยกเว้นการใส่ฟันปลอมบางประเภท
 

 

สิทธิการรักษาพยาบาล
นอกจากจะดูแลเรื่องสวัสดิการผู้ต้องขังแล้ว เรือนจำ/ทัณฑสถานทุกแห่งยังต้องจัดสวัสดิการให้เจ้าหน้าที่ด้วยตาม นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของกรมราชทัณฑ์ ทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ เป็นหน่วยงานที่มีข้อจำกัดมากในการดำเนินการ เรื่องสวัสดิการเจ้าหน้าที่ เพราะ :
  1. ทัณฑสถานโรงพยาบาลฯไม่ได้ดำเนินกิจการร้านค้าฯ (คือ ไม่ได้ขายสินค้าเครื่องอุปโภค บริโภค ให้ผู้ต้องขังและญาติ)
  2. ไม่มีการรับจ้างแรงงานผู้ต้องขัง
  3. ไม่มีการผลิตสินค้าราชทัณฑ์ออกจำหน่าย
  4. การจัดสวัสดิการเจ้าหน้าที่จึงทำได้ไม่ดีนัก ยกเว้นในด้านที่สามารถของบประมาณได้
แพทย์สาขาประจำสถานพยาบาล
ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ แบ่งงานแพทย์ออกตรวจเป็น
  • แพทย์ออกตรวจภายในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
    จุดประสงค์ เพื่อทำการตรวจรักษาผู้ต้องขังที่ส่งมาตรวจทั่วประเทศ และตรวจผู้ต้องขังป่วยที่นอนรักษาตัวภายใน
  • แพทย์ออกตรวจตามเรือนจำ/ทัณฑสถานลูกข่ายทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
    จุดประสงค์ เพื่อตรวจผู้ต้องขังที่ป่วย และถ้าอาการหนักทำการส่งต่อ ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์
  • แพทย์ออกตรวจคลินิก ณ.อาคารชวนชม
    จุดประสงค์ ให้บริการประชาชนทั่วไป และครอบครัวกรมราชทัณฑ์ และจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ ที่ออกให้ตามเรือนจำ/ทัณฑสถานลูกข่าย
 
 

โรงพยาบาลราชทัณฑ์ (สังกัดกระทรวงยุติธรรม)

พันธกิจ  : ผู้ต้องขังได้รับการดูแลแบบองค์รวมตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ
               และสอดคล้องกับนโยบายของ กรมราชทัณฑ์
 
 
วิสัยทัศน์ : ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เป็นองค์กรชั้นนำ
                ในด้านการดูแลสุขภาพผู้ต้องขัง


การรักษาพยาบาล

 
ผู้ต้องขังเมื่อเจ็บป่วย ก็จะมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาล เท่าๆกับประชาชนทั่วไป คือ ใช้บัตรทอง "30 บาท รักษาทุกโรค" ได้ โดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินแม้แต่บาทเดียว เพราะกรมราชทัณฑ์ถือว่าผู้ต้องขังทุกคน เป็นผู้มีรายได้น้อยทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ มีแพทย์สาขาต่างๆเช่น อายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ จักษุแพทย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติ-นรีเวช ด้าน หู คอ จมูก ด้านโรคผิวหนังศัลยกรรมกระดูก ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ เป็นต้นการผ่าตัดส่วนใหญ่สามารถทำได้ภายในทัณฑสถานโรงพยาบาลฯ ยกเว้นในบางสาขาเช่น การผ่าตัดสมองการรักษาด้วยรังสีบำบัดที่จำเป็น ต้องส่งตัวออกไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลภายนอก

บัตรทองช่วยให้ผู้ต้องขังทำฟันฟรีรวมทั้งการทำฟันปลอมฐานพลาสติก แต่...ฟันปลอมราคาแพงบางชนิด ผู้ต้องขังต้องขังต้องจ่ายเงินเอง


ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์

ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เป็นเรือนจำที่ทำหน้าที่พิเศษคือ คุมขังและให้การรักษาผู้ต้องขังที่เจ็บป่วย ที่ถูกส่งมาจากเรือนจำต่างๆ เมื่อรักษาจนอาการดีขึ้นแล้ว ก็จะส่งตัวกลับไปคุมขังที่เรือนจำเดิมต่อไป
 
 
สถานที่ตั้ง
ทัณฑสถานตั้งอยู่ในบริเวณ "กลุ่มเรือนจำลาดยาว" บน ถนนงามวงศ์วาน กทม.ซึ่งประกอบด้วยเรือนจำขนาดใหญ่หลายแห่ง เช่น เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง และทัณฑสถานหญิงกลาง
 
ด่านแรก
เป็นอาคารอำนวยการ 2 ชั้น ตั้งอยู่นอกกำแพงเรือนจำ ประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ เช่น ฝ่ายรักษาการณ์ ฝ่ายสวัสดิการ ฝ่ายทัณฑปฏิบัติ ซึ่งญาติที่มาขอเข้าเยี่ยมผู้ต้องขังจะต้องมาติดต่อกับเจ้าหน้าที่ ที่อาคารนี้ ก่อนที่จะผ่าน เข้าสู่ภายในเรือนจำ ทัณสถานฯจะจัดตู้ ล็อคเกอร์ไว้ให้ญาติผู้ต้องขังเก็บสิ่งของ เช่น กระเป๋าเงิน โทรศัพท์มือถือ เนื่องจากเป็นสิ่งของที่ห้ามนำเข้าไปในเรือนจำ ประตูผ่านเข้า-ออกเรือนจำจะถูกควบคุมการ ปิด-เปิดด้วยกลอนแม่เหล็กไฟฟ้า และมีการตรวจสอบการผ่านเข้าออกด้วยทีวีวงจรปิด
 
การใช้บัตรลงเวลาผ่านเข้า-ออกของเจ้าหน้าที่
การ์ดแม่เหล็กระบบไร้สัมผัส
 
ภายในเรือนจำ
เมื่อผ่านเข้ามาในเรือนจำ จะเห็นอาคารหลายหลัง อาคารหลังใหญ่ที่สุดทาง ด้านซ้ายมือเป็นอาคาร 9 ชั้น ก่อสร้างขึ้นด้วยงบประมาณ 410 ล้านบาทเพื่อให้สามารถรับผู้ต้องขังป่วยได้ 500 คน เริ่มเปิดใช้เมื่อเดือนกันยายน 2547 ที่บริเวณพื้นชั้นล่าง รอบๆตัวอาคารจะเห็นระบบบำบัดน้ำเสียของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ซึ่งต้องลงทุนสูงถึง 10ล้านบาท เพื่อบำบัดน้ำเสียที่เกิดจากผู้ต้องขัง 500 คน น้ำเสียที่เกิดขึ้นจะถูกส่งผ่าน แผงหลอดอุลตราไวโอเล็ต ที่ฝังอยู่ใต้ดินรอบๆตัวอาคาร เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
 
 
ระบบบำบัดน้ำเสียที่ควบคุมการทำ งานอัตโนมัติด้วยไมโครโปรเซสเซอร์
แผงหลอดอุลตราไวโอเล็ต ที่ถูกฝังไว้รอบๆตัวอาคาร

 

คลินิกเครือข่ายประกันสังคม ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์

ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ไม่มีเครือข่ายคลินิกประกันสังคม