ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลราชวิถี

Rajavithi Hospital

Logo Thumb preview

ที่อยู่/ติดต่อ
2 ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

ข้อมูล/ประกาศ/บริการ โรงพยาบาลราชวิถี

บริการของรพ.ราชวิถี

บริการผู้ป่วยนอก

โทร. 02 206 2900

เวลาเปิดบริการ
คลินิกปกติ  จันทร์ – ศุกร์ เวลา 06.00 – 16.00 น. 
คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ จันทร์ – ศุกร์ เวลา 16.00 – 20.00 น.  วันเสาร์ เวลา 08.00 – 12.00 น

Facebook โรงพยาบาลราชวิถี

 
ประวัติโรงพยาบาลราชวิถี
 
โรงพยาบาลราชวิถีถือกำเนิดครั้งแรกมาจากโรงพยาบาลที่มีชื่อว่า “โรงพยาบาลหญิง” เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2494 ตามมติคณะรัฐมนตรี ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เพื่อให้เป็น โรงพยาบาลเฉพาะสตรีและเด็ก เป็นแห่งแรกของประเทศไทย มีนายแพทย์ประพนธ์ เสรีรัตน์ ดำรงตำแหน่ง รักษาการผู้อำนวยการ และอีกเดือนต่อมา นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ท่านได้พัฒนา โรงพยาบาลหญิง จนได้รับความนิยม และไว้วางใจจากประชาชน เข้ารับการรักษาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการผ่าตัดแฝดสยาม วันดี ศรีวัน แยกออกจากกันสำเร็จ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย สร้างชื่อเสียงให้กับ โรงพยาบาลหญิงเป็นอย่างมาก
 
 
พ.ศ.2519 (22 ปี หลังจากเริ่มเปิดทำการ) คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้โรงพยาบาลหญิง เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาล ที่รักษาโรคทั่วไป ไม่จำกัดเฉพาะ เพศและอายุอีกต่อไป ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรง กรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม พระราชทานนามใหม่ว่า” โรงพยาบาลราชวิถี” ปี พ.ศ.2525 ก่อสร้างอาคารพิเคราะห์โรคและบำบัดผู้ป่วยเป็นอาคารขนาดใหญ่สูง 12 ชั้น ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานนามอาคารว่า “ตึกสิรินธร” อาคารหลังนี้ มีความสำคัญ ต่อโรงพยาบาลมาก เพราะสามารถ อำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ปี พ.ศ.2519 (22 ปี หลังจากเริ่มเปิดทำการ) คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้โรงพยาบาลหญิง เปลี่ยนเป็น โรงพยาบาล ที่รักษาโรคทั่วไป ไม่จำกัดเฉพาะ เพศและอายุอีกต่อไป ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรง พระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม พระราชทานนามใหม่ว่า “โรงพยาบาลราชวิถี”
 
 
ปี พ.ศ.2525 ก่อสร้างอาคารพิเคราะห์โรค และบำบัดผู้ป่วยเป็นอาคารขนาดใหญ่สูง 12 ชั้น ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานนามอาคารว่า “ตึกสิรินธร” อาคารหลังนี้ มีความสำคัญ ต่อโรงพยาบาลมาก เพราะสามารถ อำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ปี พ.ศ.2531 จัดตั้งศูนย์โรคหัวใจ เพื่อสร้างมาตรฐานการรักษา และป้องกันโรคหัวใจโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นโรคที่มีอุบัติการสูงสุด เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ ศูนย์โรคหัวใจนี้ ทำชื่อเสียงให้กับโรงพยาบาลเป็นอย่างมาก เพราะสามารถผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ และปอดพร้อมกันที่เรียกว่า Domino Heart Transplantation ได้สำเร็จ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย และทวีปเอเชีย ต่อมาได้พัฒนาเป็นสถาบันโรคหัวใจ กรมการแพทย์ เพื่อรองรับนโยบายสาธารณสุขพ.ศ.2532 จัดตั้งศูนย์โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะ ซึ่งสามารถ ให้การตรวจรักษาผู้ป่วยโรคนิ่ว และระบบทางเดินปัสสาวะ ได้ในทุกระดับความรุนแรงของโรค ปี พ.ศ.2537 เปิดตึกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ก่อสร้างอาคารบำบัดน้ำเสีย และวางโครงการก่อสร้างอาคารที่จอดรถ ขนาดใหญ่ 12 ชั้น ภายในประกอบด้วย หอประชุมใหญ่ ลานจอดรถ โรงอาหาร สำนักงาน และศูนย์กีฬา เพื่อเป็นสวัสดิการของเจ้าหน้าที่ 40 กว่าปี ของโรงพยาบาลราชวิถี พร้อมด้วยประสบการณ์ที่สั่งสามต่อเนื่องกันมา โดยมีผู้อำนวยการนำบุคลากรทั้งหมด สละทั้งกำลังกายกำลังใจ เพื่อร่วมกันพัฒนาโรงพยาบาล ปัจจุบันโรงพยาบาลราชวิถี นับเป็นโรงพยาบาลศูนย์วิชาการที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ภายใต้การนำของผู้อำนวยการ นายแพทย์มานัส  โพธาภรณ์
 
โรงพยาบาลราชวิถีกับด้านการบริการ
 
ปัจจุบันโรงพยาบาลราชวิถี มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่ทันสมัย และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ ในการให้บริการผู้ป่วย
ทั้งด้าน การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ทุกสาขาโรค เช่น
 
• เครื่องทดสอบสมรรถภาพหัวใจ โดยการออกกำลังกาย
• เครื่องตรวจเส้นเลือดหัวใจโดยวิธีฉีดสี
• การตรวจและรักษาโดยใช้กล้องส่อง
• เครื่องตรวจสรีระการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ
• เครื่องตรวจการได้ยินด้วยระบบคอมพิวเตอร์
• คลินิคฝึกพูดสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านการพูด
• เครื่องวินิจฉัยโรคโดยใช้สารเภสัชรังสีแกรมม่าคาเมรา
• เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์
• เครื่องวินิจฉัยโรคด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า MRI
• เครื่องจุลศัลยกรรม
• เครื่องสลายนิ่ว
• การผ่าตัดด้วยเครื่องเลเซอร์
• ให้บริการตรวจทางโลหิตวิทยา Polymerase Chain Reaction (PCR)
• การตรวจแยกเชื้อสำหรับโรคติดต่อด้วยวิธี MIC
• ให้บริการตรวจทางน้ำเหลือง เช่น ไวรัส ตับอักเสบ เอดส์ด้วยวิธี ELISA
• เครื่องอัตโนมัติตรวจหาสารเคมีในเลือด
• การวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
• การทำ GIFT
• เครื่องผ่าตัดสลายต้อกระจก
• เครื่องผ่าตัดน้ำวุ้นตา
• เครื่องเร่งอนุภาพชนิดให้พลังงานโฟตอน และอิเลคตรอนในการรักษาโรคมะเร็ง
• เครื่องคอมพิวเตอร์เครือข่าย ระบบ LAN อำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยในการทำบัตรค้นหาเวชระเบียน ผลการตรวจวินิจฉัยโรคและการจ่ายยา
 
ให้บริการเชิงรุกในการรักษาพยาบาล
• เรามีระบบเวชศาสตร์ฉุกเฉิน Emergency Medical Service (EMS) ซึ่งมีความสามารถ ให้การรักษาพยาบาล แก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน และผู้บาดเจ็บ ที่มีความพร้อมสูง อันประกอบด้วย ระบบการรักษาพยาบาลก่อนถึงโรงพยาบาล และระบบห้องฉุกเฉิน การให้การรักษาพยาบาลก่อนถึงโรงพยาบาล (Pre-Hospital Care) ซึ่งประกอบด้วย ศูนย์บัญชาการกู้ชีพนเรนทร ซึ่งเป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาลและหน่วยกู้ชีพ ออกไปให้บริการ ณ.จุดเกิดเหตุ เพื่อให้ผู้ประสบเหตุ ได้รับการรักษาพยาบาล อย่างถูกวิธี และทันเวลา พร้อมทั้งมี ระบบนำส่งสถานพยาบาล อย่างรวดเร็วเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
 
• การให้บริการด่านแรก (Front Liner) โดยจัดให้มีพนักงานทำหน้าที่คอยอำนวยความสะดวก แนะนำ ช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยและญาติ
 
• จัดให้มีการอำนวยความสะดวก แก่ผู้ป่วยบางประเภทโดยเฉพาะ ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ประกันตน ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม ตรวจแรงงานไปต่างประเทศ

 
โรงพยาบาลราชวิถีกับด้านวิชาการ
 
โรงพยาบาลราชวิถีให้การฝึกอบรม แพทย์ฝึกหัด แพทย์ประจำบ้าน ในเกือบทุกสาขาวิชา ที่แพทย์สภากำหนด เพื่อเป็นแพทย์เฉพาะทาง การอบรมระยะสั้นและระยะยาว มีโรงเรียนผลิตบุคลากร ทางการแพทย์หลายสาขา เช่น วิสัญญีพยาบาล เจ้าพนักงานเภสัชกร ผู้ช่วยทันตแพทย์ พนักงานวิทยาศาสตร์สาขาโลหิตวิทยา ตลอดจน การออกนิเทศงานทางวิชาการ ให้แก่โรงพยาบาลส่วนภูมิภาค และโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ทั่วประเทศเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์ มหาวิทยารังสิต ที่จัดตั้งขึ้น จากความร่วมมือ ในการผลิตบัณฑิตแพทย์ ระหว่างภาครัฐบาลและเอกชน ปัจจุบัน รับผิดชอบเกี่ยวกับการเรียนการสอน ของนักศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ปี 4,5,6