ประวัติของโรงพยาบาลร้องกวาง
อำเภอร้องกวางอยู่ห่างจากตัวอำเภอเมื่อแพร่ 25 กิโลเมตร ซึ่งแต่ก่อนมีเพียงสถานีอนามัยประจำตำบลที่ให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ทางราชการได้อนุมัติให้ก่อสร้างโรงพยาบาลซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง
ที่บ้านปากทาง หมู่ 6 ตำบลร้องเข็ม อยู่ห่างจากตัวอำเภอ 5 กิโลเมตร อยู่ติดกับถนนยันตรกิจโกศลและทางแยกไปจังหวัดน่านและจังหวัดเชียงราย โดยสร้างบนพื้นที่สาธารณประโยชน์ มีพื้นที่ทั้งหมด 16 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวา เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2527 และเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2529
ได้โอนงานสถานีอนามัยร้องเข็มเข้าร่วมกับ ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพของ โรงพยาบาล ปี พ.ศ. 2534
คุณเชษฐวัฒน์ พงษ์พิสุทธินันท์ ได้บริจาคเงินสร้างตึกพิเศษ พงษ์พิสุทธินันท์ พร้อมคุรุภัณฑ์การแพทย์โดยใช้งบประมาณ 655,800 บาท ทำพิธีมอบในวันที่ 21 พฤษภาคม 2534 โดยรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์วิทูร แสงสิงห์แก้ว ปี พ.ศ. 2538 ได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง
รายชื่อผู้อำนวยการโรงพยาบาลร้องกวาง
1. นายแพทย์ไพบูลย์ เจริญชัยนนท์ 2527 - 2529
2. นายแพทย์ทวี อนันตกุลนที 2529 - 2530
3. นายแพทย์สง่า ถวัลย์วิวัฒนกุล 2530 - 2532
4. นายแพทย์ทศเทพ บุญทอง 2532 - 2534
5. แพทย์หญิงบุษกร บรรจงมณี 2534 - 2534
6. นายแพทย์เกรียงศักดิ์ ธนอัศวนนท์ 2534 - 2536
7. นายแพทย์ทศเทพ บุญทอง 2536 - 2549
8. นายแพทย์สมศักดิ์ โสฬสลิขิต 2549 - 2550
9. นายแพทย์เอกชัย คำลือ 2550 - 2559
10. นายแพทย์รุ่งกิจ ปินใจ 2560 - ปัจจุบัน
พันธกิจ
1. ส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมายที่ครอบคลุมทั่วถึง อย่างมีคุณภาพ
2. ผลักดันให้เจ้าหน้าที่พัฒนาคุณภาพงานจนเกิดเป็นวัฒนธรรมคุณภาพ
3. พัฒนาระบบสร้างเสริมสุขภาพให้ครอบคลุมทั้งผู้ปฏิบัติและทุกกลุ่มเป้าหมายให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
4. พัฒนาระบบบริการจัดการให้มีประสิทธิภาพ
5. ส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารในการปฏิบัติงานและสร้างนวัตกรรม
6. ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลให้เอื้อต่อการบริการสุขภาพ
วิสัยทัศน์
โรงพยาบาลคุณภาพ
ร่วมกับภาคีเครือข่าย
ภายใต้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
ปรัชญา
ยิ้มแย้มต้อนรับ บริการประทับใจ ห่วงใยสุขภาพ
นโยบายโรงพยาบาลร้องกวาง
1. เตรียมพร้อมสู่การเป็นโรงพยาบาลรับรองคุณภาพ (HA) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
2. ใช้กลวิธี 5 ส. เป็นหลักในการพัฒนาโรงพยาบาล
3. ส่งเสริมการประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรอื่น เพื่อพัฒนางานสาธารณสุขแบบองค์รวม
4. พัฒนาบุคลากรทุกประเภทให้มีจิตสำนึกที่ดีในการให้บริการประชาชน