ประวัติโรงพยาบาลวิหารแดง
การก่อตั้ง
โรงพยาบาลวิหารแดง เดิมเป็นโรงพยาบาล 10 เตียง มีเนื้อที่ 25 ไร่ ได้รับการบริจาคจาก นางอำคา พงษ์พานิช และประชาชนชาวอำเภอส่วนหนึ่งได้ร่วมบริจาค อยู่ห่างถนนสุวรรณศร 300 เมตร ถนนทางเข้าได้รับการบริจาคโดย นายจันทร์ คำภีระ ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 158 เมตร เพื่อเชื่อมติดกับถนนสุวรรณศร เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อ 3 มกราคม 2526
การขยายตัว
โรง พยาบาลได้เปิดให้บริการมาอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้รับบริการมีมากขึ้น ประกอบกับมีความต้องการห้องพิเศษในกลุ่มผู้รับบริการ นายแพทย์ทวีศักดิ์ แตงไทย ผู้อำนวยการขณะนั้น ได้ของงบบริจาคจาก สส.สมชาย สุนทรวัฒน์ เป็นจำนวนเงิน 1 ล้านบาท สร้างตึกพิเศษ ?สุนทรวัฒน์? ซึ่งมีแต่ห้องพิเศษ 10 ห้อง แต่ขาดอุปกรณ์ภายในห้อง คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลได้ทำการขอบริจาค จากผู้มีจิตศรัทธาอีกจำนวนหนึ่ง ได้อุปกรณ์ภายในห้อง และเครื่องมือทางการแพทย์จำเป็นจำนวนหนึ่ง เปิดให้บริการเมื่อตุลาคม 2532 ต่อมาในปี 2539 ได้รับงบประมาณก่อสร้างและยกฐานะเป็นโรงพยาบาล 30 เตียง
ในเดือนมิถุนายน 2543 ผู้อำนวยการได้ลาศึกษาต่อโรงพยาบาลได้ประสบปัญหาต้องเปลี่ยนผู้อำนวยการทุก 6 เดือน ถึง 1 ปี และไม่มีผู้อำนวยการประจำ ทำให้นโยบายและการพัฒนาไม่ต่อเนื่องประกอบกับปัญหาภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ นโยบาย 30 บาท ที่ทางโรงพยาบาลต้องรับภาระมีผู้รับบริการจำนวนมากขึ้น และเนื่องจากมีประชาชนจากต่างพื้นที่เข้ามารับจ้างที่บริษัทก่อสร้าง ราย ใหญ่เป็นจำนวนมากทำให้ต้องรับภาวะค่าใช้จ่ายสูงขึ้น การส่งต่อผู้ป่วยจำนวนมากต้องถูกเรียกเก็บเงินสูงขึ้นและยังขาดแพทย์ประจำ ทำให้ภาระค่าใช้จ่ายในการตอบแทนแพทย์ที่มาปฏิบัติงานสูงขึ้นด้วย เป็นผลให้โรงพยาบาลประสบภาวะวิกฤตอย่างหนัก รวมทั้งเป็นช่วงที่โรงพยาบาลต้องเข้าร่วมโรงพยาบาลคุณภาพ
แม้ จะไม่มีผู้อำนวยการประจำ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลก็ได้ร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาคุณภาพมาได้ระดับหนึ่ง และต้องปรับเปลี่ยนการประเมินเข้าสู่การพัฒนาคุณภาพแบบใหม่ 1 กรกฎาคม 2546 โรง พยาบาลได้ผู้อำนวยการประจำอีกครั้ง ทำให้เจ้าหน้าที่เริ่มหันมาพัฒนาคุณภาพบริการอย่างจริงจังมากขึ้นและเชื่อม โยงโรงพยาบาลกับโรงพยาบาลส่งเสริมคุณภาพเข้าด้วยกัน แต่โรงพยาบาลต้องประสบปัญหาอีกครั้ง เมื่อผู้อำนวยการต้องย้ายไปโรงพยาบาลสระบุรี และรักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลวิหารแดงไปด้วย และไม่มีแพทย์ประจำ ต้องมีแพทย์ใช้ทุนปี 1 และ 2 หมุนเวียนกันมาทุก 1 และ 3 เดือน ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาคุณภาพอีกครั้ง จนกระทั่งเดือนพฤษภาคม 2549 ได้เริ่มมีแพทย์ประจำ 3 คน จึงปรับปรุงศูนย์พัฒนาคุณภาพขึ้นใหม่เพื่อดำเนินงาน กระตุ้นทีมต่างๆ และติดตามงาน นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2549 โดยเป็นทีมใหม่ทั้งหมดจากเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงาน HA ย้าย ออกไป ซึ่งเป็นการปรับตัวครั้งใหม่ของงานคุณภาพโรงพยาบาลวิหารแดงให้ดำเนิน งานอย่างต่อเนื่อง โดยมีแพทย์ 3 รายเป็นแกนหลัก ปี 2550 เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทุกรายได้ร่วมกันทำสัญญาใจ เพื่อรวมใจเป็นหนึ่งที่จะทำงานคุณภาพให้บรรลุเป้าหมาย มีการจัดส่งเจ้าหน้าที่ทุกระดับเข้ารับการอบรมความรู้เกี่ยวกับงานคุณภาพทุก หลักสูตรที่ศูนย์คุณภาพจังหวัดสระบุรี จัดให้พร้อมกับมีการดำเนินงานคุณภาพต่อเนื่อง ปี 2551 รักษาการผู้อำนวยการโรงพยาบาลวิหารแดงได้ย้ายกลับมาเป็นผู้อำนวยการโรง พยาบาลวิหารแดง และรับย้ายหัวหน้าพยาบาลคนใหม่มาเป็นแกนนำในการดำเนินงานคุณภาพร่วมกัน แต่ก็ต้องสูญเสียอัตรากำลังและกำลังสำคัญในการผลักดันงานคุณภาพ ซึ่งแบ่งเป็นหัวหน้าทีมสำคัญ ๆ คือ แพทย์ประจำ 3 ราย ได้ไปศึกษาต่อแพทย์เฉพาะทางพร้อมกัน แต่ผู้บริหารโรงพยาบาลได้เล็งเห็นว่าเจ้าหน้าที่ทุกรายมีความมุ่งมั่นที่จะ สานต่องานคุณภาพให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเพื่อคุณภาพของการบริการ และความปลอดภัยของผู้ป่วย จึงประกาศเป็นนโยบายอย่างชัดเจน และแน่วแน่ว่าโรงพยาบาลวิหารแดงจะต้องผ่าน HA ภายในปี 2551 และเป็นผู้นำทีมเจ้าหน้าที่เข้ารับการอบรมหลักสูตรการเตรียมความพร้อมการพัฒนาคุณภาพ HA + HPH โรงพยาบาลจากขั้น 2 สู่การรับรองขั้น 3 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2551 ? 2 พฤษภาคม 2551 นอกจากนี้โรงพยาบาลวิหารแดงยังได้รับย้ายแพทย์อีก 2 รายมาเป็นแพทย์ประจำ ซึ่งแพทย์ทั้ง 2 มีประสบการณ์ในการดำเนินงานคุณภาพโรงพยาบาลจนผ่านการประเมินขั้น 2 มาแล้ว จึงเป็นมิตรหมายอันดีว่าโรงพยาบาลวิหารแดงจะดำเนินงานคุณภาพไปได้อย่างต่อ เนื่อง และผ่านการรับรองคุณภาพจากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ซึ่งประโยชน์สูงสุดที่จะได้รับ คือ ประชาชนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย
ที่ตั้ง
อำเภอ วิหารแดงตั้งอยู่ทางใต้ของจังหวัดสระบุรีริมถนนสายสุวรรณศร ห่างจากสี่แยกหินกองเป็นระยะทาง 14 กิโลเมตร จากหินกองตามแนวถนนพหลโยธินถึงจังหวัดสระบุรี เป็นระยะทาง 14 กิโลเมตร รวมระยะทางจากอำเภอวิหารแดงถึง จังหวัดสระบุรี 28 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 216,177 ตารางกิโลเมตร
ภูมิประเทศ
เป็น ที่ราบลุ่ม ลาดจากด้านเหนือลงสู่ ด้านใต้ ผ่านทางหลวงสายสุวรรณศร ประกอบด้วย ถนนประจำตำบลและคลองส่งน้ำวิหารแดง คลองเรือ คลองชุมเห็ดคลองลาดปลาเค้า และคลองหกสายบน
การปกครอง
อำเภอวิหารแดง แบ่งการปกครองออกเป็น
ตำบล 6 ตำบล
หมู่บ้าน 54 หมู่บ้าน
เทศบาล 2 แห่ง
องค์การบริหารส่วนตำบล 6 แห่ง
จำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 7,386 หลังคาเรือน
อาชีพ
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำเห็ด เลี้ยงไก่ โคนม สุกร และเป็ดอาชีพรองลงมา คือลูกจ้างโรงงานอุตสาหกรรม ประเภทเซรามิค
ขอบเขตการให้บริการ
ให้บริการด้านสุขภาพในระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ และส่งต่อ ในระดับตติยภูมิแก่ประชาชนในอำเภอวิหารแดง และพื้นที่ใกล้เคียง
ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ
- ประชาชนในความรับผิดชอบ PCU โรงพยาบาล = 6,310 คน
- ประชากรที่รับผิดชอบในอำเภอวิหารแดง = 36,633 คน
- ประชากรที่ขึ้นทะเบียน UC = 13,522 คน