ขั้นตอนการรับบริการผู้ป่วยนอก
การติดต่อยื่นบัตร เป็นการติดต่อเพื่อขอคิวตรวจ ดังนี้
ผู้ป่วยใหม่
- ติดต่อแผนกเวชระเบียน ช่อง 2 เพื่อจัดทำแฟ้มประวัติและบัตรประจำตัว โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ โดยยื่นบัตรประจำตัวประชาชน / ทะเบียนบ้าน
- ยื่นบัตรประจำตัวโรงพยาบาลที่คลินิกเพื่อขอคิวและเวลาตรวจ
หมายเหตุ :
- บริการการทำบัตรโรงพยาบาลทางไลน์ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.00 น. ทุกวันราชการ ID LINE : @PSU2525 สามารถส่งข้อมูลไว้ได้ ทางเจ้าหน้าที่จะตอบกลับให้เร็วที่สุด (กรณีที่ส่งข้อมูลทำบัตร มาหลังเวลา 16.00 น. เจ้าหน้าที่จะตอบกลับในวันถัดไป)
- ทางโทรศัพท์ 074-451051-2
ผู้ป่วยเก่า
- ยื่นบัตรโรงพยาบาล ( บัตรเขียว ) ที่คลินิก
- กรณีลืมบัตรประจำตัวโรงพยาบาล หรือบัตรหาย สามารถแจ้งชื่อ – นามสกุล พร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ที่ห้องบัตร เพื่อให้เจ้าหน้าที่ค้น หมายเลขบัตรประจำตัวโรงพยาบาลเดิมให้
ผู้ป่วยนัด
- ยื่นบัตรนัดที่คลินิก ก่อนเวลานัด 30 นาที
- กรณีผู้ป่วยมีการตรวจเลือด หรือ เอ็กซเรย์ก่อนพบแพทย์ ให้ปฏิบัติดังนี้
2.1 ติดต่อหน่วยการเงินผู้ป่วยนอก เพื่อชำระเงิน หรือยื่นเอกสารสิทธิ์
2.2 นำใบเสร็จไปเจาะเลือด หรือเอ็กซเรย์ ซึ่งผลอาจจะต้องใช้เวลาในการรอผลประมาณ 2 ชั่วโมง
2.3 ยื่นบัตรนัดที่คลินิก
ผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงชื่อ...นามสกุล.... และประวัติพื้นฐานให้เป็นปัจจุบัน
กรณีเปลี่ยนชื่อ....นามสกุล....หรือปรับปรุง เพิ่มเติมข้อมูล
เอกสารที่ต้องนำมาแสดง
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ
- สำเนาทะเบียนสมรส
- สำเนาทะเบียนหย่า
- บัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
การปฎิบัติ
- ติดต่อแผนกเวชระเบียนช่อง 2 เพื่อขอปรับปรุง เปลี่ยนแปลง
- ยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้อง
- ยื่นบัตรประจำตัวโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
การนัดตรวจล่วงหน้า
คลินิกในเวลา
สามารถนัดตรวจล่วงหน้าได้ตั้งแต่เวลา 14.00 – 16.00 น .
ในวันราชการ
• ติดต่อด้วยตนเองหรือทางโทรศัพท์ ได้ที่ คลินิกที่ท่านต้องการนัดตรวจ (คลิกที่นี่)
คลินิกนอกเวลา
บริการทำบัตรประจำตัวทางโทรศัพท์
- ผู้ป่วยใหม่สามารถโทรศัพท์แจ้งข้อมูลบนบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อทำบัตรประจำตัวโรงพยาบาลทางโทรศัพท์ ได้ที่งานเวชระเบียน (ห้องบัตร) ที่หมายเลขโทรศัพท์ 074-451051, 074-451052 ตั้งแต่เวลา 12.00 – 16.00 น. ในวันราชการ (เสาร์- อาทิตย์ งดรับจองคิวตรวจล่วงหน้า)
- บริการการทำบัตรโรงพยาบาลทางไลน์ ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00น.ทุกวันราชการ
ID LINE : @PSU2525
ทางโทรศัพท์ 074-451051-2
e-mail : psu_2500@hotmail.com
ท่านจะได้รับหมายเลข HN(หมายเลขบัตรโรงพยาบาล) อย่างน้อย 2 วัน
ประวัติ
ในวันที่ 26 สิงหาคม 2519พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ซึ่งตั้งอยู่หลักกิโลเมตรที่ 27 ด้านตะวันออกของถนนกาญจนวนิชมีเนื้อที่ประมาณ120,000 ตารางเมตร และเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าพระราชทานนามโรงพยาบาลว่า "โรงพยาบาลสงขลานครินทร์" มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า " SONGKLANAGARIND HOSPITAL"
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ
4 ประการ คือ
- เพื่อใช้เป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาแพทย์พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์
- เพื่อให้บริการด้านรักษาพยาบาล การบำบัดโรคและการป้องกันโรคให้แก่ประชาชนในจังหวัดภาคใต
- เพื่อให้บริการตรวจพิเศษและตรวจทางห้องปฏิบัติการแก่โรงพยาบาลใกล้เคียง
- เพื่อใช้เป็นสถานที่ค้นคว้าและวิจัยอันที่จะนำไปแก้ปัญหาสาธารณสุขของภาคใต้
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 ตามนโยบายของ
รัฐบาลที่ประสงค์ให้เป็นโรงพยาบาลเพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วยระดับตติยภูมิ(โรคยากและซับซ้อน) สำหรับประชากรใน 14 จังหวัดภาคใต้
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เป็นโรงพยาบาลขนาด853 เตียง ให้บริการรักษาพยาบาลผู้ปวยนอก ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินในสาขาต่างๆ ได้แก่ เวชปฏิบัติทั่วไป สูตินรีเวช ศัลยกรรม อายุรกรรม กุมารเวชกรรม ศัลยศาสตร์ ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด ตา หูคอจมูก จิตเวช นอกจากนี้ยังให้บริการคลินิกระงับปวดและฝังเข็ม รังสีรักษาและผ่าตัด แบบผู้ป่วยนอก นอกจากนี้ยังมีศูนย์ความเป็นเลิศทางด้าน หัวใจ มะเร็ง ทางเดินอาหารและตับ
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของนักศึกษาแพทย์ แพทย์ใช้ทุน/แพทย์ประจำบ้านและนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพอื่นๆ ตลอดจนเป็นแหล่งวิจัยของบุคลากร สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพต่างๆ
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ใช้กลไกการส่งมอบบริการต่างๆให้กับผู้รับบริการทางการแพทย์ผ่านแผนก
ผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และผู้ป่วยฉุกเฉิน ในลักษณะทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่วประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล
เภสัชกร ทันตแพทย์ และวิชาชีพอื่นๆ เพื่อให้สามารถประสานบริการในการให้บริการผู้ป่วยได้
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มีอาคารที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลทั้งสิ้น 8 หลัง อาคารทุกหลังเชื่อมต่อกันเพื่อรองรับภารกิจหลักของโรงพยาบาล ด้านผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยในและฉุกเฉินมีห้องผ่าตัด หออภิบาลผู้ป่วย
ศูนย์ความเป็นเลิศ และแผนกตรวจวินิจฉัยโรค