ประวัติโรงพยาบาลหนองหาน
โรงพยาบาลหนองหานเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง ตั้งอยู่ในเขตสุขาภิบาลอำเภอหนองหาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุดรธานีไปทางทิศตะวันออก ระยะทาง 35 กิโลเมตรมีเนื้อที่ 22 ไร่ 1 งาน 49 ตารางวา บริเวณโรงพยาบาลแต่เดิมเป็นที่ตั้งของวัดสว่างนครศรี ซึ่งสร้างมาตั้งแต่สมัยพระยาขอมครองราชย์ ตามประวัติได้เล่าต่อกันมาว่า เจ้าชายเชียงงามได้รับโทษถึงประหารชีวิตและเพชรฆาตได้ตัดริมฝีปากมาฝังไว้ที่วัดแห่งนี้ ซึ่งต่อมาวัดนี้จึงเป็นที่เรียกกันติดปากว่า “วัดสบ” ตั้งแต่นั้นมาวัดนี้จึงเป็นวัดร้างและกลายเป็นที่ดินธรณีสงฆ์เหลือแต่ซากอิฐ หินลาน เจดีย์ที่สลักหักพังอยู่จนทุกวันนี้
เมื่อทางราชการได้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอและสถานีตำรวจ ทางด้านทิศตะวันออกของลานเจดีย์ ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นที่ราชพัสดุ ส่วนทางทิศตะวันตกเมื่อปี พ.ศ. 2482 ได้มีการสร้างตลาดสดชื่อ “ตลาดโพธิ์” ต่อมาตลาดได้ย้ายออกไปในปี พ.ศ. 2487 ได้มีการสร้างสุขศาลาขึ้นแทนที่ (สุขศาลานี้ได้ทำการรื้อถอนออกไปเพื่อสร้างเป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2524) ต่อมาได้สร้างสถานีอนามัยชั้น 1 และเปลี่ยนเป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย (ที่ทำการโรงพยาบาลหนองหานปัจจุบัน) และเมื่อสร้างเสร็จก็เป็นที่ทำการสาธารณสุขอำเภอหนองหานแทน
เดิมตั้งเป็นสุขศาลา เมื่อ พ.ศ. 2487
พ.ศ. 2505 สถานีอนามัยชั้น 1 นพ.สุพจน์ ตู้จินดา
พ.ศ. 2507 ศูนย์การแพทย์และอนามัย นพ.พิชัยโย วรรณศิริ
พ.ศ. 2513 ศูนย์การแพทย์และอนามัย นพ.มนัส คณาวงษ์
พ.ศ. 2517 ศูนย์การแพทย์และอนามัย นพ.สิทธิชัย รุ่งอินทร์
พ.ศ. 2518 ศูนย์การแพทย์และอนามัย นพ.ชูชาติ พรนิมิตร
พ.ศ. 2519 ศูนย์การแพทย์และอนามัย นพ.สิริชัย โมคมรรคกุล
พ.ศ. 2521 รพ.ชุมชนขนาด 10 เตียง พญ.ปาริฉัตร รัตนศิริ
พ.ศ. 2525 รพ.ชุมชนขนาด 30 เตียง นพ.สัญชัย ปิยะพงษ์กุล
พ.ศ. 2536 รพ.ชุมชนขนาด 60 เตียง นพ.วีรชัย ทีหลวง
พ.ศ. 2560 รพ.ชุมชนขนาด 90 เตียง นพ.ธงภักดิ์ มีเพียร
ยุคใหม่ เมืองหนองหานเคยเป็นเมืองขึ้นของสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ข่อมาได้เป็นเมืองขึ้นของลาวในสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มและในสมัยกรุงศรีอยุธยาเมืองหนองหานก็ยังเป็นเมืองขึ้นของลาวอยู่ จนถึงสมัยกรุงธนบุรีเมื่อไทยไปตีเมืองเวียงจันทร์ได้ เมืองหนองหานและหัวเมืองลาวทั้งหลายจึงกลับมาเป็นเมืองขึ้นของไทย แต่การตีเวียงจันทร์ครั้งนั้นทำให้หัวเมืองลาวแตกตื่นทิ้งบ้านทิ้งเมืองจนปล่อยเป็นเมือร้าง ในครั้งนั้นเข้าใจว่าเมืองหนองหานคงจะต้องร้างไปด้วย ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 โปรดให้เกลี้ยกล่อมชักชวนชาวเมืองที่เข้าป่าออกมาสร้างเมืองใหม่ ใครสามารถคุมสมัครพรรคพวกมาตั้งเป็นเมืองได้ก็ตั้งให้เป็นเจ้าเมือง ในครั้งนั้นก็ได้ทั้ง “เมืองหนองหานด้วย” ด้วย และโปรดให้พระพิทักษ์เขื่อนขันธ์เป็นเจ้าเมืองหนองหาน ในปี พ.ศ. 2330