ประวัติโรงพยาบาลหนองเสือ
ในปี พ.ศ.๒๕๑๕
นายกนก ธำรงพล สาธารณสุข อำเภอหนองเสือในขณะนั้นได้ติดต่อขอรับบริจาคที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงพยาบาลประจำอำเภอหนองเสือ จากนายบัว-นางเผื่อน จันทร์ไพศรี คหบดีท่านหนึ่งของอำเภอหนองเสือ และได้รับที่ดินจำนวน ๘ ไร่ ๓ งาน อยู่ฝั่งตะวันออกของคลองชลประทานที่ ๑๐ ห่างจากที่ทำการอำเภอ ๔๐๐ เมตร แต่ยังไม่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์
ในปี พ.ศ.๒๕๒๓
จังหวัดปทุมธานีได้เร่งรัดให้ นายอุดม ทับทิมเทศ รักษาราชการสาธารณสุขอำเภอขณะนั้น ดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์และขอที่ดินเพิ่มเติมเป็น ๑๐ ไร่ ตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ในการสร้างโรงพยาบาลชุมชน ขนาด ๑๐ เตียงซึ่งนายอุดมร่วมกับนายกนก ซึ่งขณะนั้นช่วยราชการที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี ได้ติดต่อกับนายบัวและนางเผื่อน ซึ่งได้รับความยินยอมจากผู้บริจาคด้วยดีทำให้ หน้ากว้างขึ้นเป็น ๒๐ วา
ในปี พ.ศ.๒๕๒๔
กระทรวงฯได้ส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจสถานที่ที่จะก่อสร้างโรงพยาบาลและมีความเห็นว่าหน้ากว้างน้อยไป ควรเพิ่มเป็น ๒๕ วา ซึ่งนายอุดมร่วมกับร้อยเอกประจักร มาสุวัตร นายอำเภอหนองเสือ และพระครูเมตตาวิหารคุณ เจ้าคณะอำเภอติดต่อผู้บริจาคเพื่อขอเพิ่มหน้ากว้างเป็น ๒๕ วา แต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากได้ขายที่ดินส่วนที่เหลือไปแล้ว ทางกระทรวงจึงได้ระงับการจัดสรร งบประมาณก่อสร้างไว้ก่อน
ในปีงบประมาณ ๒๕๒๙
กระทรวงสาธารณสุขได้จัดสรรบประมาณเพื่อก่อสร้าง โรงพยาบาลหนองเสือ จำนวน ๕,๓๐๗,๑๕๐ บาท และจัดสรรเพิ่มเติมในปี ๒๕๓๐ จำนวน ๒,๕๖๖,๓๖๗ บาท จนการก่อสร้างแล้วเสร็จ จังหวัดปทุมธานีส่งให้นายแพทย์สมชาย ลาภเจริญ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการและปฏิบัติหน้าที่ โรงพยาบาลหนองเสือได้เริ่มให้บริการแก่ประชาชนครั้งแรกในวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๓๑
ในปี พ.ศ.๒๕๓๔
วัดปทุมธานี โดยนายแพทย์วีระชัย ปิตะวรรณ เห็นว่าโรงพยาบาลหนองเสือยังไม่ได้ทำพิธีเปิดเป็นทางการ การทำพิธีเปิดโรงพยาบาลให้ถูกต้องเป็นทางการ จะทำให้โรงพยาบาลหนองเสือเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป และหน่วยงานราชการอื่น ๆ ยิ่งขึ้น ปัจจุบันโรงพยาบาลหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด ๓๐ เตียง โดยมีนายแพทย์วิโรจน์ ตั้งเจริญดี เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองเสือคนปัจจุบัน
วิสัยทัศน์
เราจะเป็นองค์กรที่ให้บริการตามมาตรฐาน ชุมชนมีศักยภาพดูแลสุขภาพตนเองได้
มุ่งเน้นการบริการสุขภาพเชิงรุก
ค่านิยม
เปิดรับสิ่งใหม่ ใส่ใจบริการ จัดการดีถูกต้องเชื่อมโยงเป็นหนึ่ง
พันธกิจ
1. พัฒนาคุณภาพการบริการตามมาตรฐาน
2. พัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพดูแลสุขภาพตนเองได้
3. พัฒนาระบบบริการสุขภาพเชิงรุก
4. พัฒนาบุคลากรให้มีความสุขในการทำงาน