ประวัติโรงพยาบาลอาจสามารถ
เมื่อประมาณ พ.ศ.2510 กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดตั้งสถานีอามัยชั้น 1 ประจำอำเภออาจสามารถ
มีนายถวิล จุลรังสี ตำแหน่งอำเภอตรี เป็นหัวหน้าสถานีอนามัยตั้งแต่ปี พ.ศ.2510-2512
พ.ศ.2513 – 2514 นายสำราญ นามเดช ตำแหน่งพนักงานอนามัยจัตวา เป็นหัวหน้า
2515 – 2517 นายการุณ พายุพัด ตำแหน่งพนักงานอนามัยจัตวา เป็นหัวหน้า ในปี พ.ศ.2517 ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์การแพทย์ และอนามัย” มีนายวีระพงษ์ ทวีชัย เป็นผู้อำนวยการ จนถึงปี พ.ศ.2518
2518 – 2519 นางสาวสุพิทยา สังขะพิลา ตำแหน่งพยาบาลอนามัย 2 เป็นผู้รักษาการแทน
พ.ศ.2520 ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงพยาบาลอาจสามารถ” โดยมี นางสาวสายหยุด สวัสดิพานิชย์ ตำแหน่งพยาบาล 2 รักษาการแทนผู้อำนวยการโรงพยาบาล
พ.ศ.2522 นายแพทย์วิบูลย์ ภู่สว่าง เป็นผู้อำนวยการในปีนี้ มีผู้บริจาคเงินเพื่อสร้างตึกสงฆ์ คือ นางสาวทองคำ วงศ์เพชรศรี บริจาคเงิน 130,000 บาท เพื่อให้บริการแก่พระสงฆ์ที่อาพาต และได้เปิดทำการ โดยมีนายประพันธ์ คณะวาด ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 3 รักษาการแทนผู้อำนวยการ
พ.ศ.2523-2525 นายแพทย์รังสิต หล่มระฤก เป็นผู้อำนวยการ
พ.ศ.2525(พ.ค.) นายแพทย์จตุรงค์ ธีระกนก เป็นผู้อำนวยการ
พ.ศ.2527 นายแพทย์ธนรักตน์ เสรีรัตน์ เป็นผู้อำนวยการ
พ.ศ.2528 นายแพทย์สมบัติ รัตนศฤงค์ เป็นผู้อำนวยการ
ประมาณกลางปี พ.ศ.2528 โรงพยาบาลอาจสามารถได้รับงบประมาณจากทางราชการให้ทำการก่อสร้าง และขยายตึกเนื่องจากมีผู้มารับบริการเป็นจำนวนมาก โดยใช้สถานที่สาธารณใกล้เคียงกับโรงพยาบาลเดิม ซึ่งมีถนนของ รพช.สายอาขสามารถ- ดอนงัว กั้นกลาง เป็นสถานที่ก่อสร้างและเปิดบริการประชาชน เป็น โรงพยาบาลขนาด 10 เตียง ในวันที่ 9 สิงหาคม 2529
พ.ศ.2530 – 2532 นายแพทย์ผดุงสิทธิ์ ละมัยเกศ เป็นผู้อำนวยการ
พ.ศ.2532-2533 นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช เป็นผู้อำนวยการ
พ.ศ.2533-2535 นายแพทย์วัชระ เอี่ยมรัศมีกุล เป็นผู้อำนวยการ
พ.ศ.2535-ปัจุบัน นายแพทย์ธารา รัตนอำนวยศิริ เป็นผู้อำนวยการ
ในปีงบประมาณ 2536 ได้รับงบประมาณขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2537 (มีตึกผู้ป่วยนอก และตึกผู้ป่วยใน)
ในปี 2551 ได้ดำเนินการก่อสร้าง อาคาร 2 ชั้น ด้วยงบเงินลงทุนของสถานบริการ อาคารให้คำปรึกษา 1 หลังในราคา 1.6 ล้าน
ในปี 2544 ได้รับงบประมาณ จัดสร้างแฟลตที่พักอาศัยสำหรับเจ้าหน้าที่ จำนวน 12 ยูนิต
ในราคา 763,000 บาท