ข้อมูลทั่วไปของอำเภอเจาะไอร้อง
อำเภอเจาะไอร้อง อยู่ห่างจาก อ.เมือนราธิวาส ๓๐ กม. แยกออกจาก อ. ระแงะ จ. นราธิวาส๑๘ พฤษภาคม ๒๕๓๖ มีฐานะเป็น กิ่งอำเภอ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๙ ยกฐานะ เป็นอำเภอฯ
สภาพทางภูมิศาตร์
•ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองนราธิวาส
•ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอตากใบและอำเภอสุไหงปาดี
•ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสุไหงปาดี
•ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอระแงะ
ลักษณะภูมิประเทศ
มีลักษณะเป็นพื้นที่ภูเขาสูงและพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่งเป็นสันแนวจากเทือกเขาสันกาลาคีรีลักษณะพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเกษตรกรรม
ประชาชนประกอบอาชีพสำคัญ คือ การทำสวนยาง สวนผลไม้ ประมงน้ำจืด
ลักษณะภูมิอากาศ
เป็นแบบร้อนชื้น หรือมรสุมเขตร้อน มีฝนตกชุกเกือบตลอดทั้งปี
วัฒนธรรม ประเพณี เฉพาะถิ่น
๑. การเข้าสุหนัต
๒. พิธีถือศีลอด
๓. การแต่งกาย
๔. วันฮารีรายอ
๕. ขนบธรรมเนียมการเคารพ
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอเจาะไอร้องประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๓ แห่ง ได้แก่
องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจวบทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบูกิตทั้งตำบล
องค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบออก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะรือโบออกทั้งตำบล
การปกครองและประชากร
อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส มีประชากรจากทะเบียนราษฎร์ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๔ จำนวน ๓๗,๔๑๗ คน จำนวน ๘,๑๘๖ หลังคาเรือน ตำบลที่มีประชากรมากที่สุด คือ ตำบลบูกิต ๑๗,๒๗๕ คน, จำนวน ๓,๐๑๖ หลังคาเรือน รองลงมา ตำบลจวบ ประชากร ๑๑,๐๖๒ คน ,จำนวนหลังคาเรือน ๒,๒๓๘ หลังคาเรือน และตำบลมะรือโบออก ประชากร ๙,๐๘๐ คน ,จำนวน ๒,๐๔๕ หลังคาเรือน ตามลำดับ
สภาพทางสังคมและวัฒนธรรม
คำขวัญอำเภอเจาะไอร้อง
เจาะไอร้อง ถิ่นเรียนทอง
คลองเคล้าหมอก ชื่นดอกลองกอง
ท่องแดนส้มแขก แมกไม้สูงเสียดฟ้าตะเว เสน่ห์ไอปาแย
- นับถือศาสนา อิสลาม ๙๐ %
- นับถือศาสนาพุทธ ๑๐ %
- วัด / สำนักสงฆ์ จำนวน ๒ / ๑ แห่ง
- มัสยิด จำนวน ๓๓ แห่ง
- ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ๘๐ %
โรงพยาบาลเจาะไอร้อง รับผิดชอบ 8 หมู่บ้าน ได้แก่ 1. บ้านเจาะไอร้อง หมู่ที่ 1 ต.จวบ (ที่ตั้ง รพ.) 2.บ้านยานิง หมู่ที่ 2 ต.จวบ 3. บ้านกรือรง หม 2 ต.จวบ 3. บ้านกือรง หมู่ที่ 3 ต.จวบ 4.บ้านศาลา หมูที่ 4 ต.จวบ 5.บ้านโคก หมู่ที่ 5 ต.จวบ 6.บ้านบาโงดุดุง หมู่ที่ 6 ต.จวบ 7. บ้านลูโบ๊ะเย๊าะ หมู่ที่ 7 ต.จวบ 8.บ้านไอร์มาแย หมู่ที่ 8 ต.จวบ