ประวัติของโรงพยาบาลเทพารักษ์
โรงพยาบาลเทพารักษ์ เป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก 30 เตียง สังกัดกรมสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งอยู่เลขที่ 222 หมู่ 14 ตำบลสำนักตะคร้อ อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา เริ่มเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2556
ความเป็นมาของโรงพยาบาลเทพารักษ์
อำเภอเทพารักษ์ เดิมชื่อกิ่งอำเภอสำนักตะคร้อ เริ่มก่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอตั้งแต่ปี 2538 การบริการประชาชนทางด้านสาธารณสุขในเขตกิ่งอำเภอมีเพียงสถานีอนามัยให้บริการในเขตตำบลต่างๆเท่านั้น ยังไม่มีโรงพยาบาลประจำอำเภอ เมื่อมีความจำเป็นในด้านการรักษาพยาบาลต้องเดินทางไปใช้บริการโรงพยาบาลที่อำเภออื่นๆ อาทิ เช่น โรงพยาบาลด่านขุนทดจังหวัดนครราชสีมา โรงพยาบาลเทพสถิต โรงพยาบาลบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ โรงพยาบาลลำสนธิ จังหวัดลพบุรี
ในเวลาต่อมา ชาวอำเภอเทพารักษ์ต้องการให้มีโรงพยาบาลประจำอำเภอ
- ปี 2546 โดยการนำของท่านหลวงพ่อแช่มเจ้าอาวาสวัดสำนักตะคร้อหลวงพ่องาม และ หลวงพ่อช้อยได้บริจาคเงินรูปละ 100,000 บาท เพื่อเป็นกองทุนเริ่มต้นสำหรับการสร้างโรงพยาบาล
- ปี 2547 ทางบริษัทโอสถสภา(M- 150) สนับสนุนวงดนตรีเสียงอีสานมาเปิดการแสดงสามครั้งมอบเงินรายได้โดยไม่หักค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 200,000 กว่าบาท
- ปี 2548 สำหรับชาวอำเภอเทพารักษ์ได้จัดให้มีการทอดผ้าป่าสามัคคีโดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนายพงศ์โพยม วาศภูติ มาเป็นประธานได้เงินประมาณ 700,000 กว่าบาท
- ปี 2555 กระทรวงสาธารณสุขได้เห็นความสำคัญจึงได้อนุมัติงบประมาณก่อสร้างโรงพยาบาลขนาด 30 เตียงงบประมาณ 9,684,000 บาทโดยใช้พื้นที่บริเวณที่ว่าการอำเภอเทพารักษ์มีขนาดพื้นที่ 27 ไร่ 3 งาน 62 ตารางวาและได้เปิดให้บริการครั้งแรกในในวันที่ 1 เมษายน 2556 โดยมี พญ. ต้องตา ชนยุทธ (ผู้อำนวยการโรงพยาบาลด่านขุนทดในขณะนั้น) เป็นผู้อำนวยการท่านแรก
ทำเนียบผู้อำนวยการ
1. พญ.ต้องตา ชนยุทธ 1 เมษายน 2556 - 1 พฤษภาคม 2557
2. นพ.ศุภชัย ครบตระกูลชัย 2 พฤษภาคม 2557 - 1 ธันวาคม 2557
3. พญ.ต้องตา ชนยุทธ 2 ธันวาคม 2557 - 31 กรกฎาคม 2559
4. นพ.นพพงษ์ พงศ์เลิศโกศล 1 สิงหาคม 2559 - ปัจจุบัน