ประวัติโรงพยาบาลโคกสำโรง
โคกสำโรงเป็นอำเภอที่่มีพื้นที่มากมากที่สุดในจังหวัดลพบุรี มีอาณาเขต คือ
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอตากฟ้า อำเภอไพรสารี จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมือง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับกิ่งอำเภอสระโบสถ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
ลักษณะภูมิประเทศ
ใหญ่เป็นที่ราบสูง มีภูเขาและป่าทึบเป็นบางแห่ง ประชาชนประกอบอาชีพกสิกรเป็นส่วนใหญ่ค้าขาย และรับจ้าง สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนยากจน บางส่วนของประชาชนอพยพมาจากภาคอีสานที่มาตั้งรกรากทำไร่ ทำนา ตามหุบเขา ห่างจากตัวอำเภอ การคมนาคมเมื่อก่อนลำบาก เจ็บไข้ก็ใส่กระสอบสอดไม้ไผ่หามกันขึ้นเกวียนมารักษาในหมู่บ้านหรือในเมือง แต่ประชาชนมีไม่น้อยที่ต้องเดินและขี่ม้าเข้าเมืองไปรักษาตัว บางคนก็รอดตาย บางคนก็ตายกลางทาง ปัญหาโรคร้ายก้อมีมากรวมถึงความยากลำบากในการคมนาคม ปัญหาโจรผู้ร้ายชุกชุม ภัยจากโรคร้าย เช่น ไข้มาลาเรีย คุดทะลาด ฝีในท้อง โรคอุบัติเหตุต่างๆ เช่น ถูกยิง แทง เนื่องจากแย่งการทำมาหากิน เป็นต้น
ปี พ.ศ. 2489 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เล็งเห็นความลำบากและภัยอันตรายต่างๆของอำเภอโคกสำโรง ได้จัดสรรงบประมาณก่อสร้างสุขสารา ขึ้นอยู่ใกล้กับที่ว่าการอำเภอ ถึงแม้ว่าอำเภอสมัยนั้นหลังคาสังกะสี เรือนไม้เล็กๆรอบๆ ก็มีป่าระเมาะ ประปรายอยู่ มีหนองน้ำรอบตัวอำเภอและสุขสาลาสมัยนี้นมีคุณพิพัฒน์ ศิริโพธิ์ (ลุงศรี) เป็นหัวหน้าสุขศาลา แต่ชาวบ้านจะเรียกสั้นๆว่าหมอศรี ต่อมาได้ผดุงครรภ์จบมาประจำสุขศาลา คือ คุณอำพันธ์ สิงหเสถียร (พวงทอง) ปัจจุบันคือป้าใหญ่ของเรา เวลามีคนไข้คลอดหรือมีการเจ็บป่วยในหมู่บ้าน ก็จะมีคนมาตามไปทำคลอดและให้การรักษา ซึ่งต้องเดินไปไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน
ปี พ.ศ.2500 กรมอนามัย ได้เปลี่ยนชื่อจาก สุขศาลา มาเป็น สถานีอนามัย พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ที่มาใหม่ คือ คุณอุดม เกิดผล เป็นหัวหน้าสถานีอนามัยต่อมาเป็นสาธารณสุขอำเภอโคกสำโรง ซึ่งเกษียณราชการแล้ว
ปี พ.ศ.2514 ประชาชนส่วนใหญ่ขยับขยายพื้นที่ทำมาหากิน มีตึกรวมบ้านช่องถาวรและแน่นหนาเศรษฐกิจทางการเกษตรกรรม พืชไร่ได้ผล จึงมีสถานีตำรวจ ส่วนราชการต่างๆเพิ่มขึ้น มีธนาคารหลายแห่ง กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดสรรงบประมาณก่อสร้างโรงพยาบาลโคกสำโรง 10 เตียงขึ้น โดยมีผู้บริจาคที่ดินจำนวน 5 ไร่ คือ คุณพิทักษ์ บุญยรัตน์ ซึ่งมีกำนันชาญ สุขพานิช เป็นผู้จัดการที่ดินของบริษัท บุญยรัตน์ ให้ก่อสร้างโรงพยาบาล 10 เตียงตามโครงการ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2516 และได้เปิดรักษาพยาบาลโดยมีนายแพทย์นิยม วรรณราช เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลโคกสำโรง
ปี พ.ศ.2520 ทางกระทรวงสาธารณสุขเล็งเห็นว่า ควรจะขยับขยายเป็นโรงพยาบาล 30 เตียง ได้ให้งบประมาณก่อสร้างโดยมีผู้มีจิตศัรัทธา ได้บริการที่ดินให้จำนวน 25 ไร่ ดังรายการดังผู้บริจาคที่ดินดังนี้ คือ
1.นายนิกร บุญมี บริจาคจำนวน 10 ไร่
2.นายสังวาล หินเกิด บริจาคจำนวน 6 ไร่
3.นายยา หินเกิด บริจาคจำนวน 4 ไร่
4.นายเจ๊ก นางสงบ ม่วงมา บริจาคจำนวน 1 ไร่
5.นางชื้น สีแก้ว บริจาคจำนวน 1 ไร่
6.นายสุขสันต์ นางบังอร อิ้งสุวรรณพานิช มอบเงินบริจาคซื้อเพิ่มอีก 3 ไร่
สร้างเมื่อปี พ.ศ.2522 มีนายแพทย์มารุต วันแต่ง เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลและได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่อื่น
ปี พ.ศ.2524 นายแพทย์สมชาติ โตรักษา ได้มาปฎิบัติราชการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลโคกสำโรง อยู่เป็นเวลา 1 ปี ดำเนินการขยายขอบเขตงานและบริการงานด้านอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ จนได้ไปดำรงตำแหน่งที่อาจารย์แพทย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปี พ.ศ.2525 นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ ผู้ซึ่งมีความสามารถในด้านงานบริหารโรงพยาบาลชุมชน ได้รับแต่งตั้งจากทางการให้มาช่วยปฎิบัติราชการโรงพยาบาลโคกสำโรงเจริญรุ่งเรืองขึ้น
ปี พ.ศ.2526 นายแพทย์ฉัตร เสกสรรวิริยะ มารับตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโคกสำโรงได้ขยายงานด้านบริหาร และปรับปรุงบริหารต่างๆ รวมถึงสิ่งก่อสร้างภายในโรงพยาบาลโคกสำโรงทุกๆอย่างพร้อมที่จะให้บริการผู้ป่วยได้ทันท่วงที ประสานงานกับหน่วยราชการอื่นๆ ทำให้โรงพยาบาลมีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่จะให้ความสะดวกกับผู้มาติดต่องานในทุกด้าน
ปี พ.ศ.2530 นายแพทย์สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ได้มารับตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโคกโรง ได้ขยายงานด้านบริหารและปรับปรุงงานบริการต่างๆ รวมถึงสร้างตึกอำนวยการหลังใหม่ห้องผ่าตัดและห้องคลอดใหม่ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ภายในโรงพยาบาลโคกสำโรง ประสานงานกับหน่วยราชการอื่นๆในทุกระดับ ทำให้โรงพยาบาลมีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่เพิ่มมากขึ้นและขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด 120 เตียง
ปี พ.ศ. 2546 นายแพทย์ชาติชัย มหาเจริญสิริ ได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลโคกสำโรง จนถึงปัจจุบัน