ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อพบผู้ป่วยโรคฮีทสโตรก

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อพบผู้ป่วยโรคฮีทสโตรก Thumb HealthServ.net
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อพบผู้ป่วยโรคฮีทสโตรก ThumbMobile HealthServ.net

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อพบผู้ป่วยโรคฮีทสโตรก คือ นำตัวผู้ป่วยเข้ามาในที่ร่ม จัดให้นอนราบยกเท้าสูงทั้งสองข้าง คลายเสื้อผ้าให้หลวม ลดอุณหภูมิร่างกายให้ต่ำลงโดยเร็วที่สุด เช่น ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งเช็ดตามตัว ซอกคอ รักแร้ และศีรษะ ร่วมกับใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน ทั้งนี้ ไม่ควรใช้ผ้าเปียกคลุมตัว เพราะจะขัดขวางการระบายความร้อนออกจากร่างกาย หากรู้สึกตัวให้ดื่มน้ำมากๆ แต่หากไม่รู้สึกตัวให้โทรแจ้งสายด่วน 1669 เพื่อรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล

ปี 2567 ประเทศไทยมีสภาพอากาศร้อนมากขึ้น มากเป็นพิเศษกว่าปีที่ผ่านๆ มา กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกคำเตือนและคำแนะนำการดูแลสุขภาพ ในภาวะอากาศร้อนจัด โดยเฉพาะใกล้ช่วงสงกรานต์ จัดกิจกรรมการแสดง-ขบวนแห่กลางแจ้ง อาจเกิดโรคลมแดดหรือฮีทสโตรก แนะสวมเสื้อผ้าสีอ่อน ดื่มน้ำมากๆ พักเข้าร่มเป็นระยะ หากมีอาการตัวแดง ร้อนจัด ไม่มีเหงื่อ เบลอ มึนงง สับสน ให้รีบเช็ดตัวลดความร้อน
 
       กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า พื้นที่ของไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด อุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ทำให้มีความเสี่ยงเกิดภาวะโรคลมแดดหรือฮีทสโตรกได้มากขึ้น ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับอุณหภูมิภายในร่างกายได้ทำให้ความร้อนในร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ จนการทำงานของอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว และเสียชีวิต
 
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อพบผู้ป่วยโรคฮีทสโตรก HealthServ
 
        อาการเตือนที่บ่งบอกว่าเกิดภาวะฮีทสโตรก คือ ผิวหนังแดง ตัวร้อนจัด ชีพจรเต้นเร็วและแรง ไม่มีเหงื่อ ปวดศีรษะ มึนงง สับสน คลื่นไส้อาเจียน ความรู้สึกตัวลดลง จนถึงหมดสติ


       กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือ กลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน เป็นต้น และกลุ่มวัยทำงาน ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง ออกกำลังกายหรือใช้กำลังมากเป็นเวลานาน


         ซึ่งช่วงนี้ใกล้เทศกาลสงกรานต์ หลายพื้นที่มีการจัดกิจกรรมการแสดง จัดขบวนแห่กลางแจ้ง จึงขอให้ระมัดระวัง และป้องกันตนเอง โดยสวมเสื้อผ้าที่มีสีอ่อน เนื้อบางเบา และระบายความร้อนได้ดี ควรพักเข้าในที่ร่มเป็นระยะๆดื่มน้ำให้บ่อยขึ้นและมากขึ้นโดยไม่ต้องรอให้กระหายน้ำ หากมีการออกกำลังกายหรือทำงานใช้แรงควรดื่มน้ำ 2-4 แก้ว ทุกชั่วโมง หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ หรือมีปริมาณน้ำตาลสูง เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ง่าย

         ส่วนกลุ่มเปราะบาง แนะนำหลีกเลี่ยงการออกแดดจัด และอยู่ในห้องที่ระบายอากาศได้ดี
 
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อพบผู้ป่วยโรคฮีทสโตรก HealthServ
 
      สำหรับวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อพบผู้ป่วยโรคฮีทสโตรก คือ นำตัวผู้ป่วยเข้ามาในที่ร่ม จัดให้นอนราบยกเท้าสูงทั้งสองข้าง คลายเสื้อผ้าให้หลวม ลดอุณหภูมิร่างกายให้ต่ำลงโดยเร็วที่สุด เช่น ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งเช็ดตามตัว ซอกคอ รักแร้ และศีรษะ ร่วมกับใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน ทั้งนี้ ไม่ควรใช้ผ้าเปียกคลุมตัว เพราะจะขัดขวางการระบายความร้อนออกจากร่างกาย หากรู้สึกตัวให้ดื่มน้ำมากๆ แต่หากไม่รู้สึกตัวให้โทรแจ้งสายด่วน 1669 เพื่อรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อพบผู้ป่วยโรคฮีทสโตรก HealthServ
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อพบผู้ป่วยโรคฮีทสโตรก HealthServ

คาดการณ์ดัชนีความร้อนในกรุงเทพมหานคร ช่วงสงกรานต์​2567 LINK

คาดการณ์ดัชนีความร้อนในกรุงเทพมหานคร ช่วงสงกรานต์​2567  วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อพบผู้ป่วยโรคฮีทสโตรก
คาดการณ์ดัชนีความร้อนในกรุงเทพมหานคร ช่วงสงกรานต์​2567  วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อพบผู้ป่วยโรคฮีทสโตรก
 คาดการณ์ดัชนีความร้อนในกรุงเทพมหานคร ช่วงสงกรานต์​2567พบว่ามีความร้อนระดับอันตราย และ อันตรายมาก คือ มีอุณหภูมิระดับ 42-51 องศาเซลเซียส ในวันที่ 9, 10, 13-15 เมษายน  ขณะที่วันที่ 11-12 เมษายน จะร้อนจัดระดับอันตราย ที่สูงกว่า 52 องศาเซลเซียส 

พยากรณ์ค่าดัชนีความร้อน (Heat Index) ในกรุงเทพมหานคร LINK

พยากรณ์ค่าดัชนีความร้อน (Heat Index) ในกรุงเทพมหานคร วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อพบผู้ป่วยโรคฮีทสโตรก
พยากรณ์ค่าดัชนีความร้อน (Heat Index) ในกรุงเทพมหานคร วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อพบผู้ป่วยโรคฮีทสโตรก
 ดัชนีความร้อน (Heat Index) หมายถึงอุณหภูมิที่ร่างกายรู้สึกได้ ณ ขณะนั้น (Feel like) ขึ้นกับอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ เหมาะสำหรับบ่งชี้ความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับผลกระทบจากความร้อนมากกว่าการใช้ค่าอุณหภูมิสูงสุด 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด